การบริหารความเปลี่ยนแปลงแก้จนเมืองนคร


ท่านผู้ว่าฯท่านได้กล่าวถึงหลักการบริหารความเปลี่ยนแปลง ว่าทำอย่างไรให้งานมันสำเร็จตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ (Blue print for change ) ว่าต้องอาศัยวิธีการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ตลอดเวลา อย่างไหนที่ทำไปแล้ว มันไม่สำเร็จแน่ๆ ก็ไม่ต้องทำ ปรับเปลี่ยนมันเสีย ถือเป็นกลยุทธ์ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องให้ความสำคัญ

การบริหารความเปลี่ยนแปลง 

วันนี้ วันศุกร์ที่11 ส.ค. 49 เป็นวันประชุมเสวนาคุณคุณอำนวยกลางและคุณอำนวยอำเภอ โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร  ณ ห้องประชุมศรีปราชญ์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมชุมเสวนา ประมาณ 70 คน มีนายวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะของเป็นประธานคุณเอื้อ เป็นประธานการประชุม

ผมผิดพลาดเรื่องเวลาเข้าประชุมอย่างแรง นึกว่าประชุม 10 โมง ที่ไหนได้ เริ่มประชุม 08.30 น. เมื่อผมไปถึงที่ประชุมก็เวลา 9 โมงแล้ว   ก็ปรากฏว่าท่านผู้ว่าฯ ท่านวิชม ทองสงค์ ท่านกำลังกล่าวนำการประชุมเสวนาอยู่ เสียดายโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งดีๆจากประโยคเริ่มต้นของท่านผู้ว่าฯ

ผมรีบหยิบกำหนดการประชุมเสวนาออกมาดู ก็ทราบว่าต่อจากท่านผู้ว่าฯกล่าวนำแล้ว ก็จะเป็นวาระพิจารณาแนวทางการประเมินโครงการ ทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดของโครงการ การแบ่งกลุ่มอำเภอออกเป็นโซนๆ จำนวน 5 โซน เพื่อเล่างานที่ทำ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น บุคคล คุณอำนวยที่เก่งๆที่พอจะหยิบยกเป็นตัวอย่างได้ จากนั้น ก็ช่วงบ่ายเป็นช่วงของการแลกเปลียนเรียนรู้ ร่วมกันกำหนดก้าวเดินกันต่อไป รายละเอียดผมจะได้เล่าในบันทึกต่อๆไปนะครับสำหรับบันทึกนี้ผมจะเล่าตอนกล่าวนำประชุมเสวนาของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ เรื่องเดียวก่อนครับ มันจะได้ไม่ยาวจนเกินไป

ท่านผู้ว่าฯท่านได้กล่าวในประเด็นที่ว่าการมีปัญหาถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติของการทำงาน ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆเข้ามาจัดการ รวมทั้งเครื่องมือ KM ด้วย ทุกสิ่งทุกอย่างทางสังคมมันเป็นพลวัต เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขสถานการณ์ ต้องเรียนรู้อย่างชาญฉลาดที่จะจัดการกับมัน ให้คิดว่าไม่ใช่มีวิธีการเดียวที่จัดการกับปัญหานั้น มีทางอื่นๆเป็นทางเลือกเสมอ ถ้าไม่ใช่วิธีนี้แล้วจะใช้วิธีใดได้ ถ้าไม่ใช่.....แล้วจะเป็นอย่างไรได้บ้าง หยุดนิ่งกับที่ไม่ใช่ KM แล้ว KM จะต้องเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดเวลาในปัญหา บริบท เงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป

จากนั้นท่านผู้ว่าฯท่านได้กล่าวถึงหลักการบริหารความเปลี่ยนแปลง ว่าทำอย่างไรให้งานมันสำเร็จตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ (Blue print for change ) ว่าต้องอาศัยวิธีการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ตลอดเวลา อย่างไหนที่ทำไปแล้ว มันไม่สำเร็จแน่ๆ ก็ไม่ต้องทำ ปรับเปลี่ยนมันเสีย ถือเป็นกลยุทธ์ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องให้ความสำคัญ ท่านให้มองมาที่โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ว่าขณะที่กระบวนการ process ที่คิดหรือออกแบบไว้ ใช้ได้ดีอยู่ไหม มีอะไรทื่จะต้องปรับแก้ เทคโนโลยี เครื่องมือ ก็เช่นกัน รวมถึงโครงสร้าง การจัดทัพ หรือการแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานระดับต่างๆ ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือไม่ หรือกรรมการท่านใดที่แต่งตั้งแล้วไม่ทำงาน ก็ให้เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถือว่าเป็นการปรับเปลียนเรียนรู้ในระหว่างที่กำลังดำเนินการอยู่

สุดท้าย..ท่านผู้ว่าฯท่านพูดถึง ตัวชี้วัดความสำเร็จ KPI  ว่าจะดูที่อะไรได้บ้าง ท่านฝากให้ที่ประชุมเสวนาคิดต่อ ทั้งในช่วงของการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง และในช่วงจัดกิจกรรมแก้จนตามแผนดังกล่าว โดยให้ระบุรายการตัวชี้วัดความสำเร็จแต่ละช่วงไว้เลย เช่น บันทึกความรู้แก้จนของคุณกิจครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ในช่วงของการจัดกิจกรรมแก้จนตามแผน เป็นต้น แยกออกเป็นปีๆได้ก็จะดี เช่น ปีที่1 ของโครงการ อยากเห็นอะไร ในตัวชี้วัดใด ปีที่ 2 จะปรับทิศทางอย่างไร ปีที่ 3 จะให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามาสืบทอดอย่างไร เป็นต้น โดยท่านได้ยกตัวอย่างในการกำหนดตัวชี้วัดเรื่องการบันทึกความรู้ ว่าประสบการณ์การพัฒนาของชุมชน ไม่ว่าจะที่ไม้เรียง หรือแม้แต่ที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ก็มีการรวบรวมเป็นชุดความรู้ไว้ทั้งนั้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้อื่น ทั้งในรูปของเอกสารต่างๆ  วีดีโอ ความชำนาญที่ฝังอยู่ในคนไม่ว่าจะสังเกตจากบรรยายนำเมื่อมีคณะไปศึกษาดูงาน ก็บรรยายได้เก่ง สมาชิกอื่นๆก็คอยเสริม คอยตอบคำถามเพิ่มเติม เป็นต้น มันเป็นตัวชี้วัดที่สามารถสัมผัสได้จริง

ผมมีความเห็นว่าคำกล่าวนำของท่านผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ เป็นการกล่าวนำเสวนาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ทำให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักว่าในท่ามกลางความเป็นไปของโครงการเราจะเรียนรู้และปรัะบเปลี่ยนเพื่อให้งานมันเกิดประสิทธิภาพสูงสุด บรรลุเป้าหมายของโครงการได้อย่างไร มีประโยชน์มากครับ

ผมมีความคิดเห็นว่าวงเรียนนี้คราวต่อไปน่าจะได้เชิญคุณเอื้อจังหวัดเข้าร่วมด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรื่องเล่าจากคุณอำนวยอำเภอที่เล่าในวงเรียนเรียนรู้นี้จะได้มีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ เป็นประโยชน์ต่อการหนุนเสริม การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน ระหว่างงาน Functiion กับงาน Area การเชื่อมต่อการพัฒนาหรือการต่อท่อ ครับ

หมายเลขบันทึก: 44543เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 Light Bulb เรียนท่านครูนง

 เห็นด้วยครับ ฟังตั้งแต่ KM ภาคราชการ ประทับใจมาถึงทุกวันนี้

 "ฝันอยากให้จังหวัด หรือ หน่วยงาน นำ KM มาเสริมแนวนี้ คือ เพื่อประชาชน และ ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ครับ"





เรียน  อ.จำนง

          ถึงแม้นไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้  แต่ก็ดักรอบันทึกของ อ.อยู่และทีมงานอยู่ครับ  และได้อ่านแล้วก็ได้รู้บรรยากาศของบันทึกที่เก็บประเด็นมาของ อ. ครับ

          คำกล่าวของท่านผู้ว่าทำให้มีกำลังใจที่จะฟันฝ่ากันต่อไป และเข้าใจคำว่า KM  มากขึ้นอีกครับ 

          เช้า 12 ส.ค.49  เจอ ท่านผอ. จรัญ ได้คุยเรื่องนี้และบอกผมว่า 17 ส.ค.49 จะประชุมทีมงานของอำเภอพระพรหม ถ้ายังไงให้ผมอยู่ร่วมให้ได้  ซึ่งผมก็เรียนท่านว่า สำนักงานเกษตรจังหวัด จัด KM เรื่องการผลิตผักปลอดภัยเหมือนกันที่ อำเภอขนอม  และผมก็เป็นบุคคลเป้าหมายด้วยคนหนึ่ง  ผมเรียนท่านต่อว่า  ผมห่างงานแก้จนเมืองนคร   หลายครั้งหลายคราจากภารกิจที่ตรงกันแบบนี้  แต่ยังไงผมไม่ลืมอ่านความเคลื่อนไหวจากทีมงานทุกคนในบันทึกครับ

        ผมมีเวลาคุยกับท่าน ผอ.จรัญ ได้ไม่มากเพราะเวลาทำพิธีใกล้เข้ามาและผมต้องเตรียมความพร้อมเพราะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พิธีกรในพิธีวันนั้นครับ 

        ขอเรียนฝากทีมงานไว้ว่า ถึงตัวไม่อยู่  แต่ใจอยู่ครับ

เรียน ท่าน อ.หมอ JJ

ทำไปเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีฯ เมืองแห่งการเรียนรู้...........เตรียมความพร้อมให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา แผน 10 ครับ

เรียน ท่านชาญวิทย์ - นครศรีฯ

ชอบมากกับพูดที่ท่านชาญวิทย์เขียนว่าถึงตัวไม่อยู่ แต่ใจอยู่ ครับ ผมขอต่อว่า ไกลก็เหมือนใกล้ ใกล้อยู่แล้ว ก็ใกล้ชิดมากขึ้นครับ โอกาสที่จะได้พบเจอยังมีอีกมากครับ วันนี้พบกันไม่สะดวกก็ B2B ไปก่อนก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท