Action Recearch กับการเป็นนักวิจัยที่ดี


นักวิจัยที่ดีต้องเป็นนักเรียนรู้ที่ดี

Action Recearch กับการเป็นนักวิจัยที่ดี

           เมื่อวันที่ 10  สิงหาคม  2549 ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมการเข้าค่ายเรียนรู้ของนักเรียนจากโรงเรียนรุ่งอรุณที่สวนป่าครูบาสุทธินันท์ ได้พบกระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา เป็นการเรียนรู้ที่ทุ่มสุดตัวทั้งกายและใจ นักเรียนมีความต้องการที่เรียน มีจุดประสงค์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าแต่ละกลุ่มจะศึกษาเกี่ยวกับอะไร แล้วทุ่มเทใจศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น

           กลุ่มศึกษาเรื่องการเลี้ยงหมูก็ต้องเริ่มตั้งแต่กวาดมูลหมู กวาดทั้งวันก็ไม่หมดก็ไม่ยอมแพ้ นั่งสังเกต นั่งเฝ้าหมูจนเห็นความสนใจของหมู  จนหมูใจอ่อนยอมเป็นเพื่อน

           กลุ่มที่สนใจศึกษาการเลี้ยงโค  ก็ไม่น้อยหน้า ขั้นแรกต้องทำความสะอาดคอก   กวาดมูลวัวจนเป็นลม  เรียนประเภทที่ว่าเอาชีวิตเข้าแลก พยายามสร้างความคุ้นเคยจนโคที่ไม่ยอมให้ใครจับต้องยอมเป็นเพื่อนกับเด็ก ๆ นักเรียน

           กลุ่มที่สนใจศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่  ก็ตั้งคำถามที่สุดแสนประทับใจที่ใครก็คาดไม่ถึงว่าจะมีคนถามเพราะมันเป็นอะไรที่เราคุ้ยเคยจนลืมตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ นั่นคือ คำถามที่ว่า  ไก่บ้าน ไก่ป่า และไก่แจ้  แตกต่างกันอย่างไร  คำตอบที่ง่ายมากคือ นักเรียนไปถ่ายรูปมาแล้วเอาเปรียบเทียบกันดู เพราะถ้าพูดแล้วอาจไม่ชัดเจน ก็กลายเป็นเรื่องสนุกหล่ะสิ   เพราะคุณ ๆ นักเรียนทั้งหลายก็วิ่งไล่ถ่ายรูปไก่ทั่วสวนป่า จนเหนื่อยไปตาม ๆ กัน แต่ก็ชื่นใจเพราะสามารถตอบและอธิบายได้อย่างดีและมีรสชาด

           กลุ่มที่สนใจศึกษาเรื่องการเลี้ยงนกกระจอกเทศ จะเสี่ยงหน่อย เพราะเจ้านกกระจอกเทศจะมีนิสัยขี้ระแวงไม่ค่อยไว้ใจคน แต่บรรดานักเรียนสามารถเอาชนะใจนกกระจอกได้ด้วยความอ่อนโยน

          ส่วนกลุ่มที่สนใจเรื่องการปลูกพืช ก็ลุยศึกษาวงจรชีวิตแตงกวา ว่าแต่ละวันแต่ละต้นออกดอกเท่าไร ขนาดของดอก ใบ และผล เติบเติบขึ้นเท่าไร อุปกรณ์ที่วัดความยาวของผลแตงกวาก็ใช้ใบหญ้ามาวงรอบผลแล้วค่อยเอาไปทาบกับไม้บรรทัด นั่นคือนักเรียนสามารถใช้ทุกอย่างที่มีในขณะนั้นมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนได้

           จากตัวอย่างที่กล่าวมา  ทำให้มองไปถึงการที่จะเป็นนักวิจัยที่ดีที่สามารถทำงานวิจัยร่วมกับชาวบ้านและนำผลการวิจัยไปช่วยชาวบ้านได้นั้น นักวิจัยจะต้องเป็นนักเรียนรู้ที่ดี ต้องไปเรียนรู้ถึงความทุกข์สุขของชาวบ้าน ไม่ใช่เอาทุกข์ไปให้ หรือวิจัยหรือเรียนรู้เพื่อหวังผลประโยชน์อะไรสักอย่าง

           นักวิจัยหรือนักเรียนเรียนรู้ที่ดี ควรมี

           ความอ่อนโยน  เพราะคนที่อ่อนโยนทั้งคำพูด การกระทำและความคิดจะสามารถชนะใจของคนทุกคนได้  นักวิจัยจะต้องไม่มีนิสัยเย่อหยิ่งดูถูกคนอื่น แข็งกระด้างไม่เป็นมิตรก็จะถูกสังคมขับไสไล่ส่งไปในที่สุด

           ความคุ้นเคย   นักวิจัยต้องทำตัวให้กลมกลืนและคุ้นเคยกับสังคมที่เราอยู่ด้วย  จนกลายเป็นความเคยชิน  เป็นความสุขประจำวัน 

           ความจริงใจ  นักวิจัยต้องมีความจริงใจกับชุมชนหรือคนที่เราศึกษาด้วย  ไม่แสแสร้งแกล้งทำเพื่อหวังผลพลอยได้

           ความสันติสุข   นักวิจัยต้องรู้จักสร้างความปรองดอง สามัคคีและสมานฉันท์กลับคนในกลุ่มในชุมชน ให้เป็นชุมชนแห่งสันติสุข ไม่ควรมีนิสัยเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นหรือชุมชน เช่น หลายครั้งพบว่านักวิจัยที่ทำงานกับชุมชนไม่สำเร็จชอบสรุปว่าเป็นความผิดของชุมชน  ซึ่งความจริงอาจมีมีความผิดพลาดที่ผู้วิจัยเองก็เป็นได้

          ถ้านักวิจัยสามารถทำได้อย่างที่กล่าวมา จะเกิดสันติสุขขึ้นในจิตใจของนักวิจัยและในชุมชนและสังคมที่เราไปศึกษาเรียนรู้  เกิดเป็นสังคมที่สงบสุขและน่าอยู่อาศัย และพัฒนาไปสู่สันติภาพของผู้คนในชาติได้

         ดังนั้นสิ่งที่นักวิจัยควรทำให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและสังคมก็คือ

            สร้างความอ่อนโยน

            ความอ่อนโยน   สร้างความคุ้นเคย

            ความคุ้นเคย  สร้างความจริงใจ

            ความจริง   สร้างความสันติสุข

            สันติสุข  สร้างสันติภาพ

           ขอบคุณค่ะ  พันดา  เลิศปัญญา

 

หมายเลขบันทึก: 44491เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2006 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เมื่อรู้หลักแล้วก็ลองทำดูซิว่าได้ผลว่าอย่างไร เพราะการจัดการความรู้ต้องอยู่ในตัวเรานะ ไม่ใช่แค่คำพูด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท