โรงเรียนเอกชนกับการบริหารงานวิชาการ ZSWOT)


            ภารกิจหลักของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาคือ ให้วิชาความรู้แก่ผู้เรียน โดยวิธีการจัดการศึกษานั้น สถานศึกษาจะจัดโครงสร้างที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นและบริบทของสถานศึกษา อย่างไรก็ตามโครงสร้างของสถานศึกษาทุกแห่ง ล้วนแล้วจะต้องมีฝ่ายวิชาการทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นภารกิจหลักตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญเพื่อให้งานวิชาการประสบความสำเร็จสูงสุดนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารงานวิชาการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยเฉพาะ

งานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการถ่ายทอดความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เรียน การจัดสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา การวัดผลและประเมินผล การประกันคุณภาพรวมถึงการจัดบรรยากาศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ เป็นต้น

การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบังคับบัญชา กำกับ ดูแล การปฏิบัติ การดำเนินงานที่เกี่ยวกับงานด้านการนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา งานด้านการศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ วิจัยทางการศึกษา งานด้านพัฒนานิเทศและส่งเสริมการนิเทศภายในงานด้านการบริหารทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา งานบริหารและปฏิบัติงาน/โครงการ งานนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา งานด้านการประสานงานและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ งานวิชาการอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 พื้นเพของสถานศึกษา

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในปัจจุบันอันเป็นผลมาจากการพัฒนา ปอเนาะ กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงปอเนาะตั้งแต่ปี 2504 ตามแผนพัฒนาการศึกษาชาติ พ.ศ 2503

กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงปอเนาะตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา วิธีการช่วยเหลือปอเนาะนั้น กระทรวงศึกษาธิการใช้วิธีส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนทั้งศาสนาอิสลาม วิชาสามัญหรือวิชาชีพควบคู่กันไป การพัฒนาปอเนาะได้รับความร่วมมือจากโต๊ะครูผู้สอนศาสนาและผู้บริหารอย่างเต็มที่มาตลอด

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีความสำคัญต่อการพัฒนาการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการปรับปรุงส่งเสริมทั้งด้านการบริหารแบะวิชาการตลอดจนการให้ความช่วยเหลือและอุดหนุนด้านต่างๆ การดำเนินการปรับปรุงแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

1.      ระยะปรับปรุงโรงเรียนปอเนาะ และเริ่มจดทะเบียน ตั้งแต่ปี 2504-2508

2.   ระยะแปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฤร์ ตั้งแต่ปี 2508-2514 ซึ่งอนุมัติให้กระทรวง ศึกษาธิการ ส่งเสริมปอเนาะที่จดทะเบียน ให้แปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฏร์ทั้งหมด

3.   ระยะปรับปรุงโรงเรียนราษฏร์ให้เป็นโรงเรียนชั้นดี ซึ่งได้มีคณะกรรการปรับปรุงโรงเรียนราษฏร์สอนศาสนาอิสลามภาคใต้ เป็นผู้กำกับดูและ

เมื่อรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทั้งทางด้านวิชาการ งบประมาณ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ ทำให้ระบบการบริหารงานโรงเรียนสามารถดำเนินการให้คล่องขึ้นและสามารถเทียบเท่ากับโรงเรียนอื่นๆ ได้

  วิเคราะห์ SWOT การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม1.      จุดเด่นหรือจุดแข็ง (Strength) 

การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีนโยบายและขอบเขตการเรียนรู้ที่ชัดเจน เนื่องจากต้องยึดหลักคำสอนของศาสนาที่สอนให้ทุกคนมีการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นการศึกษาที่เน้นทั้งในด้านศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจ สร้างบุคคลให้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม และด้านสามัญและวิชาชีพที่เป็นการสร้างคุณภาพชีวิต และใช้ชีวิตในโลกนี้อย่างมีความสุข หรืออาจจะสรุปได้คือ การเรียนคือความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้น จุดแข็งของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามคือ การสอนวิชาศาสนาและสามัญควบคู่กันไป

อย่างไรก็ตามทางรัฐยังเปิดโอกาศให้โรงเรียนฯ สามารถสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมได้เองตามความต้องการ

 2.      จุดอ่อน หรือจุดด้อย (Weakness)

แม้ว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีเป้าหมายการจัดการศึกษาทั้งศาสนาและสามัญเป็นจุดแข็ง แต่การพัฒนาการจัดการศึกษาโดยองค์รวมยังล้าช้าและขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านวิชาการ ที่ยังขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน สามารถสรุปปัญหาและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนได้ดังนี้

ด้านระบบการจัดการ โดยทั่วไปโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแปรสภาพมาจากปอเนาะ ซึ่งมีโต๊ะครูเป็นเจ้าของ และเมื่อโต๊ะครูเสียชีวิตไป ทายาทจะเป็นผู้สืบทอดมรดกในการบริหารจัดการโรงเรียนต่อไป ระบบการสืบทอดมรดกเช่นนี้ทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาตกต่ำลงเนื่องจากว่า ผู้สืบทอดมรดกนั้นไม่ได้เรียนในสาขาการบริหารการศึกษาโดยตรง เพียงแต่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์เท่าที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ทำให้การบริหารจัดการศึกษาไม่ทันสมัยและไม่มีคุณภาพ บางโรงเรียนอาจจะมีลูกเขยของโต๊ะครูเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ แต่ก็บริหารได้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากว่า มีความขัดแยงกับบรรดาทายาทสายโลหิตที่ไม่ยอมให้คนนอกมามีบทบาทในพรัทย์สินของพวกตน ทำให้เกิดความขัดแยงแย่งชิงกัน ประสบปัญหาในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้

การบริหารจัดการในโรงเรียนฯ เป็นการบริหารจัดการระบบครอบครัว ซึ่งอาศัยความมีส่วนเป็นเจ้าของในพรัทย์สิน ต่างคนต่างร่วมทำงานในต่ำแหน่งสูงๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการบริหารของสมาชิกในครอบครัวที่ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในด้านความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆ ทางการบริหาร จึงทำให้การพัฒนาทุกๆ ด้าน ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะด้านวิชาการที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา

นอกจากนี้ ผู้บริหารยังยึดติดกับการบริหารแบบเดิมๆ การบริหารจัดการเชิงรับ เช่น ปล่อยให้โรงเรียนดำเนินไปเรื่อยๆ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ผู้บริหารขาดการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านภาวะผู้นำ ทักษะการบริหาร ความรู้ความสามารถ และอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีคุณภาพมากยึ่งขึ้น

ด้านผู้บริหาร ผู้บริหารยังขาดความเข้าใจในหลักสูตรอย่างถ่องแท้ มีการซ้ำซ้อนและไม่บูรณาการทำให้เกิดความล่าช้าในการเรียนการสอน ไม่ได้เน้นในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการเป็นหลัก แต่ไปเน้นเรื่องปริมาณจำนวนนักเรียน เนื่องมาจากความต้องการของงบประมานเงินอุดหนุนรายหัวเพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียน คณะกรรมการโรงเรียนไม่ได้ทำหน้าที่บทบาทอย่างจริงจัง ผู้บริหารมุ่งเน้นให้ครูจัดทำแผนการสอน สื่อการสอน วิจัย แต่ไม่ได้นิเทศ อบรมวิธีการปฏิบัติ

ด้านบุคลากร  บุคลากรที่เข้ามาสอนส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่หลงเหลือจากที่อื่น หรือไม่สามารถทำงานในหน่วยงานอื่นได้ จึงมาสมัครเข้าสอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งไม่ต้องทำการสอบอย่างเข้มงวดแต่อย่างใด อีกทั้งโรงเรียนฯ ยังขาดแคลนครู จึงได้ครูที่ขาดประสิทธิภาพ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจหรือค่าตอบแทนที่โรงเรียนมาให้อีกด้วยด้านหลักสูตร โรงเรียนยังไม่มีหลักสูตรที่แน่นอนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในเนื้อหารการสอน หลักสูตรซ้ำซ้อน ไม่บูรณาการในวิชาที่สามารถบูรณาการได้ เนื่องจากไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารและครูผู้สอนไม่ถนัดที่ใช้ภาษาไทยในการสอน หลักสูตรที่ใช้ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นด้านการจัดการเรียนการสอน เวลาเรียนในการจบหลักสูตรของวิชาสามัญกับวิชาศาสนาไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากมีการจัดการศึกษาตั้งแต่แรกไม่สอดคล้องกันและไม่มีการบูรณาการหลักสูตรศาสนาและสามัญในระดับประถมศึกษาด้านสื่อการเรียนการสอน ครูผู้สอนไม่ได้ใช้สื่อการเรียนการสอน สื่อมีไม่เพียงพอ อาจจะมีจากบุคลากรไม่มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อใหม่ๆ ขาดงบประมานในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆด้านการวัดผลประเมินผล นักเรียนมีผลสำฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ ขาดการจัดฝึกอบรมครูผู้สอนในเรื่องการวัดผลประเมินผลตามหลักสูตร

ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ไม่มีศูนย์วิชาการเข้าไปดูแล แนะนำการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร หรือจัดฝึกอบรมครูผู้สอนในเรื่องการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและยังขาดการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ เช่น กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมวันสำคัญ

ด้านบุคลากร ครูมาช่วยสอนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและให้ครบทุกรายวิชาและครูไม่มีเทคนิกในการสอนที่เหมาะสมด้านชุมชน ขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนในด้านวิชาการ ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนน้อยและขาดการดึงชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนขาดการให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อให้เกิดความตระหนักและความสำคัญในการให้การศึกษาแก่ลูกหลาน และทางโรงเรียนขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อดึงดูดให้ชุมชนส่งเสริมในด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น 

3.      โอกาส (Opportunity) 

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีต้นกำหนดมาจาก ปอเนาะ ซึ่งในอดีตทางรัฐบาลไม่สามารถเข้าถึงได้ทำให้มีความพยายามที่จะมีบทบาทและส่วมร่วมในการพัฒนาจัดการศึกษา ทั้งนี้อาจเป็นทางราชการเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นระบบที่ล้าหลังและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้รับการเอาใจใส่และสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านเงินอุดหนุน ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากรและรวมถึงการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามยังเป็นที่นิยมของชุมชนในการส่งบุตรหลาน เนื่องจากหวังที่จะให้บุตรหลานได้รับการศึกษาอย่างครอบถ้วน ทั้งในด้านวิชาศาสนาเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ดำเนินชีวิตตามระบอบของศาสนาและด้านวิชาสามัญและการอาชีพ เพื่อคุณภาพการใช้ชีวิตในสังคม

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้มอบนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  โรงแรมซีเอส จ.ปัตตานี เมื่อวันอาทิตย์ที่  กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ศธ.จะส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพโดยพัฒนาหลักสูตรในทุกด้านทั้งสายสามัญ  อาชีพ  และศาสนา  ต้องการให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีบทบาทเช่นเดียวกับที่ ศธ.มีนโยบายเป็นการทั่วไปอยู่แล้ว

  4.      ความวิกฤติ (Threat) 

จากภาวะการณ์ด้านสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นและมีข่าวในเรื่องการสร้างแนวร่วมก่อความไม่สงบในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทำให้การทำบางกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนต้องหยุดชงัดไป โดยเฉพาะกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ค่ายการเรียนรู้ ค่ายกิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมพักแรม กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น  อีกทั้งบุคลากรยังต้องกลับบ้านก่อนกำหนดไม่กล้าที่จะอยู่ปฏิบัติงานจนค่ำ เนื่องจากความไม่ใว้วางใจในเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวครู

ภาวะการณ์ความแปรป่วนทางการเมือง มีผลการทบทางด้านนโยบาย ซึ่งอาจจะต้องมีการหยุดชงัดโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนมีผลประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งทางด้านงบประมาณ สวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาการบริหารงานโรงเรียน เป็นต้นภาวะการณ์ด้านสังคม คุณธรรมจริยธรรม  ส่งผลประทบต่อระบบโรงเรียนที่จะต้องเช้มงวดในเรื่องของวินัย คุณธรรมจริยธรรม ที่ได้รับอิทธิผลมาจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ล้วนแล้วเป็นดาบสองคม ที่บั่นทอนคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยตรง เนื่องจากนักเรียนจะมีการเรียนรู้และเลียบแบบที่สิ่งสื่อต่างๆ ได้นำเสนอออกมา เช่น แฟชั่น ภาพลามกอนาจร ยาเสพติด ค่านิยมที่ผิด เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีผลต่อการบริหารงานเนื่องจากจะต้องจัดสรรงบประมาณในเรื่องนี้มากขี้น สร้างภาระงานให้โรงเรียนอีกทางหนึ่งอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 44391เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

1241228836_m

727850228_m

          I Am Terror

ความงดงามของความต่าง

ร่วมขบวนการ"ไร้การก่อ"กันเถอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท