ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“นักวิจัยที่ดี”


“คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี”นี่แหละครับสิ่งที่พวกเราชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะต้องเป็นให้ได้

นักวิจัยที่ดี

                การเป็นคนดีมันยาก  วันนี้ (ศุกร์ ที่ 11ส.ค.49) ได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อนนักศึกษาหลักสูตรพัฒนบูรณาการศาสตร์ ด้วยกันในเรื่องของการทำวิทยานิพนธ์ ก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปถึงในเรื่องของการเป็นคนดีในสังคม ทำไมมันช่างเป็นยากแสนเข็นเหลือเกิน  เพื่อนๆ ก็บอกว่ามันมีปัจจัย (Factors) หลายอย่าง และหลายมุมมอง ดังนั้นเราจงทำดีต่อไป จากนั้นจึงได้วกกลับมาในเรื่องของการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)  หรืองานวิจัยที่ตนเองกำลังจะทำแล้วจึงได้พูดถึงว่า ถ้าอย่างนั้นหากเราเป็นคนดียังไม่ได้แล้วเรามาเป็นนักวิจัยที่ดีจะได้ไหม   หลังจากนั้นจึงตั้งคำถามกันว่า ถ้าอย่างนั้นการเป็นนักวิจัยที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติอย่าไรบ้าง จึงได้ข้อสรุปดังนี้ครับ

                คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี

 1.       ด้านความรู้

1.1    เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการวิเคราะห์ คือ สามารถวิเคราะห์ คัดเลือกงานวิจัย และความรู้จากเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องการได้เหมาะสม และรวดเร็ว

1.2     เป็นผู้ที่ทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถวางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1.3    เป็นผู้มีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัย ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1.4    เป็นผู้มีความสามารถในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และพยากรณ์คำตอบได้ดี

1.5    เป็นผู้มีความสามารถในเชิงสังเคราะห์ คือ สามารถนำสิ่งที่ได้ศึกษาและข้อค้นพบมาเขียนสรุปรายงานให้อ่านเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน

1.6    เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดี

2.       ด้านทัศนคติ

2.1    นักวิจัยที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความอยากรู้ อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมต่างๆ

2.2    เป็นผู้ที่เชื่อว่าผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะเหตุ

2.3    เป็นผู้ที่ชอบและยอมรับความจริงใหม่ ๆ

2.4    เป็นผู้ที่ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล มีจิตใจเป็นนักวิชาการแท้ ๆ

2.5    เป็นผู้ที่ไม่เชื่อโชคลาง หรือคำทำนายที่ไม่มีเหตุผล

2.6    เป็นผู้ที่พร้อมที่จะเปลี่ยนความเชื่อ เมื่อพบหลักฐานใหม่ ๆ

2.7    เป็นผู้ที่พร้อมที่จะรับความจริง เมื่อมีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้

2.8    เป็นผู้ที่ยอมรับนับถือความคิดเห็นของผู้อื่น

2.9    เป็นผู้ที่สัตย์ ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และไม่อวดตน

2.10 เป็นผู้ที่มีความเพียรพยายาม และรับผิดชอบ

 3.       ด้านวิธีการคิด

3.1    เป็นผู้ที่ใช้ความคิดต่อเนื่องอย่างมีระบบไม่ฟุ้งซ่าน

3.2    เป็นผู้ที่มีเหตุผล

3.3    เป็นผู้ที่มีลักษณะยืดหยุ่น(Flexible) มองปัญหาหลายด้าน

3.4    เป็นผู้ที่ให้ความสนใจในรายละเอียด ปลีกย่อย ไม่มองข้ามปัญหา

3.5    เป็นผู้ที่พยายามหาข้อยุติ และแนวทางในการปฏิบัติงาน

 4.       ด้านวิธีการทำงาน

4.1    เป็นผู้ที่ทำงานด้วยความเอาใจใส่

4.2    เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา

4.3    เป็นผู้ที่ขยันขันแข็ง

4.4    เป็นผู้ที่รู้จักมอบหมายงาน

4.5    เป็นผู้รู้จักใช้หลักการร่วมมือ และประสานงาน

4.6    เป็นผู้ที่ใช้หลักประชาธิปไตยในการทำงาน

4.7    เป็นผู้ที่ชอบควบคุมงานมากกว่าควบคุมการปฏิบัติงาน

4.8    เป็นผู้ที่ชอบปรับปรุงวิธีการทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ

              เราจะเป็นนี่แหละครับสิ่งที่พวกเราชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะต้องเป็นให้ได้   แล้วท่านล่ะครับคุณสมบัติครบหรือยัง?

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

11 ส.ค. 49

หมายเลขบันทึก: 44351เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
     แม้จะยากเย็นแสนเข็นอย่างไร ตามที่กล่าวไว้ นักวิจัยต้องทำอย่างนั้นครับ
หลายข้อที่จะต้องเป็น... ทำไมมันมากจังอาจารย์ จะเป็นอย่างที่อาจารย์พูดได้หมดหรือเปล่า?แต่ก็จะพะยายามครับ

นี่เพียงแค่คุณสมบัติของคนที่เป็นนักวิจัยที่นี่เท่านั้น

  • การเป็นคนดีนั้น ยากกว่ามาก เลยครับอาจารย์อุทัย
ผมกลับมองว่าไม่ยากครับ ผมถือว่ากระบี่อยู่ที่ใจครับ อย่างอื่นตามมาเอง ลองคิดต่อดูนะครับ

ใช่ครับอาจารย์ ผมก็มีความเห็นที่สอดคล้องกับอาจารย์ เพราะใจมันบังคับทุกสั่งทุกอย่างของร่างกาย ถึงแม้สมองเราจะสั่งให้ทำ ไม่ว่าจะเชิงบวก หรือเชิงลบก็ตาม แต่ใจไม่ไปด้วยก็ทำไม่ได้ครับ

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท