การค้าบริการระหว่างประเทศ (International Trade in Services)


การค้าบริการอีกแนวของการค้าระหว่างประเทศ

เมื่อนึกถึงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบของการค้าสินค้า (Trade in Goods) แต่อันที่จริงแล้วการค้าระหว่างประเทศนั้นยังมีการค้าอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การค้าบริการ (Trade in Services) ซึ่งในการใช้ชีวิตในปัจจุบันของคนเราขณะนี้แล้วมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการระหว่างประเทศโดยที่เราไม่รู้ตัวอยู่มากมายที่เดียว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษากฎหมายการค้าบริการควบคู่ไปด้วย

ประวัติความเป็นมาของกฎหมายการค้าบริการ

ก่อนจะสิ้นสุดการประชุม GATT รอบอุรุไกว กฎเกณฑ์ต่างๆที่กำกับและควบคุมการค้าบริการ (Trade in Service) ระหว่างประเทศมีน้อยมากและกฎหมายระหว่า่งประเทศภายใต้ GATT จะเน้นหนักอยู่แต่เพียงในเรื่อง การค้าสินค้า (Trade in Goods) เท่านั้น การเจรจาพหุภาคีระหว่า่งประเทศที่ยกเรื่องการค้าบริการขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกก็คือ การประชุม GATT รอบอุรุไกวโดยการผลักดันของสหรัฐฯซึ่งถึงแม้จะถูกต่อต้านจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นจำนวนมาก แต่ในที่สุดก็สามารถบรรจุเรื่องนี้เข้าไปในวาระการประชุมได้ในเดือนกันยายน 1986 เพราะสหรัฐฯจะยอมตกลงให้เปิดประชุมรอบอุรุไกวได้ก็ต่อเมื่อเรื่องการค้าบริการได้รับการบรรจุเข้าไปในวาระการประชุมด้วย ทั้งนี้ในการประชุมรอบอุรุไกวรัฐภาคี (Contracting Parties) ของGATT ก็สามารถตกลงกันได้แต่เพียงหลักการพื้นฐานอย่างกว้างๆเท่านั้น ขึ้นมาโดยประมวลในรูปความตกลงแม่บทว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services-GATS)  ซึ่งยังคงต้องเจรจาตกลงกันในรายละเอียดต่อไป

สาระและหลักการโดยสังเขปของกฎหมายการค้าบริการ 

ความตกลง GATS ซึ่งเป็นความตกลงแม่บทที่เป็นประมวลหลักกฎหมายการค้าบริการระหว่างประเทศแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ

1. ตัวความตกลงแม่บทที่ว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Service- GATS) ซึ่งเป็นประมวลหลักกฎหมายการค้าบริการที่เกี่ยวกับสิทธิและพันธกรณีที่สมาชิกขององค์การการค้าโลก(WTO) ต้องถือปฏิบัติตาม

2.ภาคผนวก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าภาคบริการหรือการให้บริการที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ภาษี ที่ทำให้จำเป็นต้องมีข้อกำหนดและกฎเกณฑ์เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่มีในความตกลงแม่บทและข้อยกเว้นจากหลักผลปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง(Most Favored Nation Treatment-MFN) ด้วย

3.ตารางข้อผูกพันของประเทศสมาชิกต่างๆ ที่ทำข้อผูกพันเอาไว้ในเรื่องการเปิดตลาดหรือการเข้าถึงตลาด(Market Access) สำหรับการค้าบริการในสาขาต่างๆและข้อผูกพันที่จะให้ผลปฏิยัติเยี่ยงคนชาติ(National Treatment-NT) แก่คนชาติของประเทศสมาชิกอื่นๆและข้อผูกพันเพิ่มเติม(Additional Commitments)ด้วย

โดยที่การค้าบริการเป็นประเด็นเจรจาที่ค้างพิจารณามาจากการประชุมรอบอุรุไกว ซึ่งตามความตกลง Marrakesh Agreement อันเป็นธรรมนูญก่อตั้งขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization -WTO) จะต้องยกขึ้นเจรจาและพิจารณาต่อภายใต้กรอบของ WTO โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะให้ประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกทั้งหลายค่อยๆเปิดตลาดในลักษณะ phase-in สำหรับการค้าภาคบริการให้ต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการค้าบริการในดินแดนของตนได้โดยเสรีในที่สุดตามหลักโลการภิวัตร (GlobaliZation)จึงกำหนดเป็นหลักการสำหรับการประชุมพิจารณาในเรื่องนี้ให้ประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มการเข้ามามีส่วนร่วม (Participation)มากขึ้นทำนองเดียวกันกับหลัก Stand still,and roll back ในเรื่องการค้าสินค้า (Trade in Goods) กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ให้หยุดอยู่แค่นั้นมิให้จำกัดการเข้าถึงตลาดของตนมากกว่าที่เป็นอยู่แล้ว ยังต้องเปิดตลาดให้มากขึ้นในลักษณะก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ(Progressive Liberalization) โดยการเจรจาในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 2ส่วนคือ

1. การเจรจาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ (Rule Negotiations) หรือหลักการในรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากหลักการใน GATs เรื่องมาตรการป้องกันฉุกเฉิน(Emergenzy Safeguard Measures) การอุดหนุน (Subsidies) และระเบียบข้อบังคับต่างๆในประเทศ (Disciplines for Domestic Regulation)

2.การเจรจาเรื่องการเปิดตลาด (Market Access Negotiations) เป็นรายสาขาที่แบ่งประเภทตามรูปแบบหรือวิธีการ(Modes หรือ Methods) ของการค้าภาคบริการนั้นๆ โดยกำหนดเป็นหลักการให้มีการพิจารณาทบทวนทุกๆรอบ 5ปี ซึ่งการประชุมเจรจาระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุงโดฮาร์ ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 กำหนดให้การเจรจาต้องสิ้นสุดลงภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 ซึ่งปฏิญญาระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกกำหนดให้ประเทศสมาชิกทำคำขอเบื้องต้น (Initial Offers) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2546 ทั้งนี้ปรเทศสมาชิกจะต้องทำข้อผูกพันที่จำเพาะเจาะจง(Speacial Commitments) ด้วยว่าจะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปประกอบกิจการการค้าบริการในประเทศของตนได้ประเภทใดและในระดับใดบ้าง นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ(Models) หรือวิธีการของการค้าภาคบริการ อาทิ เรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา การยกเลิกข้อยกเว้นจากหลัก MFN และมาตรการเพิ่มความโปร่งใส(Transparency) ในการกำหนดระเบียบข้อบังคับต่างๆในประเทศ เป็นต้น

ความตกลงแม่บทว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services - GATS) แบ่งรูปแบบของการให้บริการ (Modes หรือ Methods of Supply) ออกเป็น 4รูปแบบคือ

Mode 1 ในรูปของการให้บริการข้ามประเทศหรือข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) โดยผู้ให้บริการ (Supplier) ซึ่งอยู่ในประเทศหนึ่งส่งหรือให้บริการข้ามประเทศหรือข้ามพรมแดนไปยังผู้รับบริการหรือผู้บริโภค(User หรือ Consumer) ซึ่งอยู่ในอีกประเทศหนึ่งเป็นการให้บริการโดยผ่านสื่อ เช่น เคเบิลทีวี การให้คำแนะนำด้านการทำบัญชีข้ามประเทศโดยทางโทรศัพท์ e-mail หรือ FAX เป็นต้น

Mode 2 ในรูปของการให้บริการโดยผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภค (User หรือ Consumer ) ซึ่งอยู่ในประเทศหนึ่งต้องเดินทางข้ามพรมแดนหรือข้ามประเทศเข้าไปรับหรือบริโภคบริการ ณ สถานประกอบการของผู้ให้บริการ (Supplier) ซึ่งอยู่ในอีกประเทศหนึ่งในลักษณะของการไปรับบริการในต่างประเทศ (Consumption abroad) เช่น บริการด้านการเดินทาง การบินและการทัศนาจร เป็นต้น

Mode 3 ในรูปของการที่ผู้ให้บริการ (Supplier) ซึ่งอยู่ในอีกประเทศหนึ่งเข้าไปเปิดกิจการในลักษณะถาวร เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้หรือผู้บริโภคบริการ (User หรือ Consumer) โดยตรงแบบตัวต่อตัว (face -to-face) ในประเทศของผู้บริโภคโดยผู้ให้บริการเข้าไปมี Commercial presence ในประเทศของผู้บริโภค เช่น การเข้าไปเปิดสำนักงานกฎหมาย บริษัทก่อสร้างและวิศวกรรม หรือเข้าไปเปิด Super-maekets,Hyper-markets เช่น เทสโก้โลตัส ,แม็คโคร, คาร์ฟูร์,บิ๊กซี , ท็อปส์ เป็นต้น

Mode 4 ในรูปของการที่ผู้ให้บริการ (Supplier) ซึ่งมีสำนักงานหรือสถานที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศหนึ่งเดินทางข้ามประเทศหรือข้ามแดนเข้าไปให้บิการแก่ผู้ใช้ หรือ ผู้บริโภค (User หรือ Consumer) ในประเทศของผู้ใช้หรือบริโภคบริการเป็นการชั่วคราว เช่น สำนักงานกฎหมายในประเทศหนึ่งส่งที่ปรึกษากฎหมายเข้าไปให้บริการแก่ผู้รับหรือบริโภคบริการโดยเข้าไปทำหน้าที่เป็น Defense Counsel หรือ Arbitrator ให้ในประเทศของผู้รับหรือบริโภคบริการในลักษณะเฉพาะกิจ (ad hoc) เท่านั้น เป็นต้น 

กฎหมายการค้าบริการ (Trade in Service) ภายใต้กรอบของ GATS มีหลักการเดียวกับการค้าสินค้า (Trade in Goods) ภายใต้กรอบของ GATT ที่รัฐสมาชิกมีสิทธิได้รับผลปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) และผลปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (NT) โดยอาจได้รับข้อยกเว้นบางกรณีได้ในบางกรณีคือ

-ในกรณีที่ขอยกเว้นเอาไว้ซึ่งโดยหลักการแล้วจะขอยกเว้นได้ไม่เกิน 10ปี

-ในกรณีที่เป็นการให้สิทธิพิเศษต่อกันในการค้าบริการกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน

-ในกรณีที่เป็นการให้ผลปฏิบัติเป็นพิเศษต่อกันระหว่า่งประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Intergration) ซึ่งอาจจะเป็นในระดับเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เช่น NAFTA หรือ AFTA หรือสหภาพศุลกากร (Custom Union) ก็ได้ หรือในกรณีที่เป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัวกันทางด้านแรงงาน(Labor Intergration)

-ในกรณีที่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างบริการโดยรัฐที่มิได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้า

-ในกรณีที่่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันสุขอนาัมัยหรือชีวิตมนุษย์ สัตว์หรือพืช

-ในกรณีืี่เป็นการให้บริการด้านการเงินด้วยเหตุผลด้าน Prudential Reasons

หมายเลขบันทึก: 44340เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วนะค่ะได้ความรู้มากค่ะ

เข้ามาทักทายจ้ะ

ได้รับความรู้เพียบ...ขอบใจจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท