รายงานสด ลปรร ศูนย์วิจัย มอดินแดง


แลก เปลี่ยน เรียน รู้ เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

งานวิจัย และ การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 สืบเนื่องจากการประฃุมเตรียมการ UKM ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลิก) ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๔๙ วันนี้ทีมงานชาวมอดินแดง มารวมตัวเพื่อ Share and Learn ก่อน Show เดือนมกราคม ๒๕๕๐

 ท่านรองรังสรรค์ ได้กล่าวเปิดการประชุม ที่จะนำให้การจัดการความรู้ผสมผสานเข้าไปในเนื้องานประจำ และ เพื่อเป็นการเตรียม นำเสนอ Best Practice ของแต่ละศูนย์ โดยเฉพาะการ แลก เปลี่ยน "วิธีการจัดการงานวิจัยที่ดี ของแต่ละศูนย์"

JJ

หมายเลขบันทึก: 44313เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เคล็ดวิชาจาก รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา จากศูนย์วิจัยมะเร็งท่อน้ำดี คือ

 ๑. ต้องไม่แยกงานวิจัย จากการเรียนการสอน โดยเฉพาะการสอนระดับหลังปริญญา หรือ บัณฑิตศึกษา

 ๒.มีการทำงานเป็นสหสาขา ประเด็นที่เลือกมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากเป็นโรคเฉพาะในอีสานดังนั้นทำให้มีเนื้อหาในการที่จะทำวิจัย และ

 ๓.ส่วนที่สำคัญ คือ การสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแ่ต่ ท่าน รศ.ดร.อัศนี คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ในสมัยที่ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

เคล็ดจาก รศ.ดร.วันเพ็ญ จากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม

 ๑.ต้องรู้จุดเด่นของเจ้าของ หรือ ตัวเราว่าทำอะไรได้ดีก่อนที่จะทำการวิจัย

 ๒. การทำงานที่มีกระบวนการทำการวิจัยเฉพาะตัว และ การทำงานแบบสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

 ๓.การสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัย เรื่อง งบประมาณอย่างต่อเนื่อง

 ๔.ต้องการสร้างเครือข่ายทั้งภายใน และ ภายนอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งระดับนานาชาติ

 ๕.มีความเชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ

เกล็ดวิชาจาก ผศ.ดร.ภาวดี จากศูนย์วิจัยอาหารสัตว์

 ได้เล่าถึงการจัดสัมมนาระดับนานาชาติ และ มีการนำเสนอผลงานภายใต้การวิจัย รวมทั้งมีนักศึกษาเข้ามาร่วมเสนอผลงานจากการการเรียนรู้สู่การวิจัย งานนี้ท่านเอื้อ คือ ท่านคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ คือ พีอัศนี ให้การสนับสนุนทั้ง กาย วาจา และ ใจ ตลอดเวลา

เรียนรู้จากศูนย์วิจัยคณะอื่น

 รศ.นสพ.ประจักษ์ และ พี่ปุ้ย เล่าให้ฟังว่าได้เรียนรู้ จาก ศูนย์วิจัยจากคณะแพทย์ คือ ท่านอาจารย์ ดร.บรรจบ ซึ่งทำให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ เกิดพัฒนาการ คือ เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาร่วมกันครับ

วันนี้ติดงานด่วoมากถึงมากที่สุด เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขงแจ้งเรื่องกิจกรรมวันนี้หลายวันมาแล้วแต่เมื่อเอาเข้าจริง ๆ ก็ต้องรีบเร่งกับงานด่วนจึงไม่ได้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

ขอ ลปรร ด้วยนะครับ ศูนย์วิจัยหลายแห่งใน

  • มหาวิทยาลัยขาดเวทีในการแลกเปลี่ยนกัน ผมเคยคุยกับอาจารย์ที่ศูนย์วิจัพหุฯหลายท่านว่าในศูนย์ของเราน่าจะมาแลกเปลี่ยนกันหน่อยว่าใครไปทำวิจัยในพื้นที่ทำอย่างไร เป็นอย่างไร ได้อะไร ขาดอะไร
  • การพูดคุยจะได้ประโยชน์ในวงกว้างไม่ควรกอดเทคนิคดีดีไว้เฉพาะตัวเอง ควรเดินทางเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้บรรลุการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย
  • ศูนย์วิจัย ควรเสนอให้นักวิจัยสื่อสาร งานวิจัยอย่างต่อเนื่องต่อผู้สนใจ ง่าย ๆคือผ่านบล็อกนี่ล่ะนะครับ แลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนคิดว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยที่ไปร่วมจะเพิ่มเติมในเรื่องนี้ได้ดี
  • ขอบพระคุณอาจารย์หมอครับ

รศ.ดร.สุวรรณี นิลวรางกูล

   รองคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ เล่าว่า มีการตั้งศูนย์ในคณะฯ และ กำลังรอการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยในอนาคต จุดเด่นของคณะคือมีการเน้นทางด้านชุมชน และ WHO สนับสนุน

ตัวแทนจากทางคณะเทคนิคการแพทย์ เสนอให้สร้าง Blog เครือข่ายสำหรับทีมงานสายสนับสนุนงานวิจัย ร่วมกัน

 งานนี้ืท่าน ผช.พิชัย คุณเอื้องฟ้า และ คุณพิชชา รับไปดำเนินการต่อไปครับ

ประเด็นที่ท่านคณบดีเกษตร นำเล่าสู่กันฟัง คือ

 "การสร้างเครือข่ายนักวิจัยหน้าใหม่ โดยใช้การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือ"

 ในวันเสาร์ที่ ๑๙ สิงหาคม จะมีกิจกรรมเรื่อง พัฒนายางพาราในอีสานบ้านเฮาครับ

 ท่านใดสนใจติดต่อเข้าร่วมกิจกรรม กับ ท่านอาจารย์อัศนี คณะเกษตรศาสตร์ ม.ข ได้ครับ

รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

 ได้เรียนเสนอ Outlet ของทีมงานศูนย์วิจัยเฉพาะทาง คือ งาน KKU_INNOVATION 2007

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท