10 วิธี ไม่เกินวัย


เราๆ ท่านๆ คงปรารถนาความเป็นผู้มีอายุยืนนานอย่างมั่นคง ไม่มีโรค หรือมีโรคน้อย อยู่อย่างสมวัย มีคุณภาพชีวิต ไม่ใช่ยืนหย่อนยาน หรืออายุมากอย่างพะเยิบพะยาบ

Hiker

เราๆ ท่านๆ คงปรารถนาความเป็นผู้มีอายุยืนนานอย่างมั่นคง ไม่มีโรค หรือมีโรคน้อย อยู่อย่างสมวัย มีคุณภาพชีวิต ไม่ใช่ยืนหย่อนยาน หรืออายุมากอย่างพะเยิบพะยาบ <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">วันนี้มีข่าวดีครับ… อาจารย์ ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนะนำเรื่อง 10 วิธี ไม่เกินวัยไว้ในวารสารหมอชาวบ้าน </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง… ท่านผู้อ่านจะได้ไม่ก้าวเกินวัย เช่น หัวหงอก(หมายถึงผู้เขียน) ฯลฯ เป็นต้น ข่าวดีมีอย่างนี้ครับ… </p><ol>

  • ฉลาดกิน:                         
    ฉลาดกิน รู้จักกินอาหารอย่างสมดุล กินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ เลี่ยงอาหารมันมาก กินผักผลไม้ทุกมื้อ เลือกผักผลไม้หมุนเวียน ไม่กินซ้ำของเดิมทุกวัน และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร
  • กินให้เป็น:                        
    อย่าทำตัวเป็นถังขยะ ไม่ต้องกินของเหลือคนอื่น เช่น ลูก ฯลฯ จนหมดจาน อย่าปล่อยให้หิวจัด เพราะเวลาหิวจัดจะกินไม่ยั้ง อย่าเมา(เหล้า เบียร์ ไวน์...) เพราะเวลาเมาจะกินไม่ยั้งเหมือนกัน
  • ออกแรงเป็นประจำ:             
    ออกกำลังกาย และใช้แรงในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น เดินแทนขึ้นรถ เดินขึ้นลงบันไดแทนลิฟต์ กวาดบ้าน ถูพื้นบ้าน ทำงานบ้าน รดน้ำต้นไม้ด้วยฝักบัวแทนสายยาง ล้างรถด้วยมือแทนจ้างเขาล้าง ฯลฯ
  • หลีกหนีของเสีย:               
    ไม่เดินทางไปในที่ที่อากาศไม่ดี เลี่ยงแสงแดด ลม ฝุ่น ควันบุหรี่ เหล้า เบียร์ บุหรี่ เนื้อดิบ ปลาดิบ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • เป็นงาน:                         
    ให้วางงานไว้ตรงหน้า อย่านำมาทำบนไหล่ จะได้ใช้สองมือทำงาน ใส่ใจ และไตร่ตรองงานว่า ทำอย่างไรให้งานเสร็จได้โดยดี เร็ว และไม่เปลืองแรงมากเกิน
    หลีกเลี่ยงการนำงานมาทำบนไหล่ เช่น ทำงานด้วยความกลัว เกลียด เครียด โกรธ ฯลฯ เท่าที่จะทำได้
  • ใช้ชีวิตให้เป็น:                  
    กินผัก(ข้อ 1)อย่างเดียวไม่พอ ต้องขอพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอด้วย
  • เข้าอู่บ้าง:                        
    ตรวจร่างกายประจำปีตามสมควร โดยเฉพาะการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว เพื่อควบคุมน้ำหนัก วัดความดันเลือด ตรวจหาเบาหวาน
  • สร้างจิตงาม:                   
    หัดยิ้ม มองบวก ทำตัวไม่ให้ไร้ค่า เริ่มจากการทำอะไรดีๆ ให้ตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม เช่น ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ปลูกไม้ดอกให้คนอื่นชม ฯลฯ
    ที่สำคัญมากคือ หัดชมตัวเองในใจ และชมคนรอบข้างเป็นคำพูด หรือชมเป็นลายลักษณ์อักษร ชมตามจริงให้ได้อย่างน้อยวันละ
    1 ครั้ง
  • ดูรอบข้าง แต่มองไกล:       
    มองคนรอบข้าง ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มองให้ไกลออกไปว่า วันนี้เราจะทำอะไรดีๆ ให้ตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม เช่น บริจาคเลือด ไขกระดูก ดวงตา อวัยวะ ฯลฯ
    การทำดีบ่อยๆ เป็นเหต เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความสุขจากการทำดี
    (doing happiness) มาทดแทนความสุขจากการบริโภคใช้สอย (using / consuming happiness)
  • ทำเอง และหาแนวร่วม:      
    ดีขั้นแรกคือ ทำดีคนเดียว
    ถ้าเป็นไปได้... ควรหาโอกาสทำดียิ่งขึ้นไปอีกคือ ร่วมกันทำดี ส่งเสริมคนดีให้ทำดี แสดงความชื่นชมเมื่อคนอื่นทำดี ร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อเข้าสังคมคนดี
    การทำดีร่วมกันทำให้เกิดกระแสแห่งความดีอย่างกว้างขวาง เปรียบคล้ายปฏิกริยาลูกโซ๋นิวเคลียร์
    (chain reaction)
    ถ้าทำอย่างนี้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็จะมีความสุขความเจริญสมวัยได้ครับ...
  • </ol><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm" class="MsoBodyTextIndent">    คำแนะนำ:                                        </p><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm" class="MsoBodyTextIndent"></p><p>เราๆ ท่านๆ อาจจะได้ยินคำสอนของผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านว่า ถ้ากินข้าวไม่หมดจานถือว่า ไม่กตัญญูต่อชาวนา </p><p>บางท่านกินหมดจานตัวเองไม่พอ ไปกินข้าวจานอื่นจนหมดไปด้วย </p><p></p><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ถ้าต้องการจะช่วยเหลือชาวนา หรือคนยากคนจน… มีวิธีดีๆ ทำได้อีกหลายวิธี เช่น ให้ทุนการศึกษากับมูลนิธิเด็ก บริจาคเลือด ช่วยซื้อสินค้าจากชุมชนผลิตขึ้น ฯลฯ</p><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p>ความจริง… มีอะไรดีๆ ให้ทำอีกมากมาย การกินอาหารจนหมดจานไม่ชื่อว่า กตัญญูต่อใครเลย และไม่ได้บุญอะไรด้วย(ไม่ตรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความเห็นผิด) </p><p></p><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">วิธีที่ดีคือ ตักข้าวพอดี เติมกับข้าวพอประมาณ กินพออิ่ม กินอยู่อย่างพอดีอย่างนี้แล้ว… คงจะมีชีวิตยืนนานได้อย่างมั่นคงต่อไปครับ</p><p style="margin: 6pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    แหล่งที่มา:                                      </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 6pt 0cm 0pt 17.85pt; text-indent: -17.85pt; tab-stops: list 18.0pt">  ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. ๑๐ วิธี ไม่เกินวัย. หมอชาวบ้าน ปี ๒๘. ฉบับ ๓๒๘. สิงหาคม ๒๕๔๙; ๑๑.<li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ IT + พต.ศรัณย์ มกรพฤฒิพงษ์ โร > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต. </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี IT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.   </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">แนะนำให้อ่าน “บ้านสาระ” > [ Click - Click ]</li> </div></li></ul><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 6pt 0cm 0pt 17.85pt; text-indent: -17.85pt; tab-stops: list 18.0pt">  นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ > ปรับปรุงแก้ไข 8 พฤษภาคม 2550. </div></li></ul>

    หมายเลขบันทึก: 44272เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (18)
    • ทำได้บางข้อเองครับเช่นข้อ1,2,3,8,9,10
    • ขอบคุณมากครับ
    • จะลองไปปฏิบัติข้ออื่นๆดูครับ
    ขอบคุณอาจารย์หมอวัลลภมากค่ะ

    หนูคงได้เอาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ยังทำได้ไม่ครบ 10 ข้อ คงจะพยายามทำให้ได้มากที่สุดค่ะ

    ขอบคุณค่ะนแล้วเพิ่งได้รู้ว่า บางครั้งดิฉันก็ทำงานบนไหล่เหมือนกัน ค่ะ ข้ออื่นๆ บางข้อก็อ้อน อ่อนค่ะ เช่นการนอนเนี่ยไม่ค่อยเป็นเวลา  

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ลองดูนะครับ
    • ขอให้อาจารย์และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี สมวัย ไปนานๆ ครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยว และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ลองทำดูนะครับ

    การอยู่ในเมืองใหญ่หรือสังคมใหญ่ > ข้อสรรเสริญความดีนี่ช่วยได้มาก

    • (1). ความดีของเรา > ชมตัวเองในใจบ่อยๆ จดความดีหรือบุญที่ทำไว้ เปิดดูคนเดียวทุกวันจะช่วยให้ระลึกถึงความดีได้บ่อยๆ (เป็นอนุสสติในสายสมถภาวนาคือ จาคานุสสติ / สีลานุสสติ)
      (2). ความดีของคนอื่น > ชมออกมาบ่อยๆ เป็นคำพูด หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ เป็นบุญขัดเกลาความตระหนี่ (กำจัดวัณณมัจฉริยะ)

    ขอให้อาจารย์มะปรางเปรี้ยวและท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข มีความเจริญไปนานๆ ครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์เมตตา และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ผมเองบ่อยครั้งทำงานบนไหล่ หรือบางทีก็บนหัว > มีความทุกข์กับงาน
    • อ่านเรื่องนี้จากวารสารหมอชาวบ้าน... ต่อไปผมจะหัดยกงานลงมาข้างหน้า > ใช้มือทำให้มากขึ้น

    ขอให้อาจารย์เมตตา และท่านผู้อ่านทุกท่านมี "เมตตา" > ปรารถนาให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ

    • คนที่มากด้วยเมตตาย่อมมีผิวหน้าผ่องใสไปนานเลย...
    • ได้มุมมองกว้างขึ้นเยอะเลยครับ
    • ไม่กล้าตอบแบบมั่นใจสักข้อเลยว่าทำได้แล้ว
    • เพราะเผลอหลุดไปหลายทีเหมือนกัน
    • ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ
    • เรื่องบุญคุณชาวนาผมก็ได้ยินมาครับ แก้โดยให้ตักข้าวพอดีกับที่กินครับ (ถ้าหุงเอง) ไม่ก็บอกคนขายขอข้าวน้อยๆ
    อาจารยวัลลภคะ

    ขอบพระคุณอาจารย์มาก ๆ ค่ะ ที่มอบพรดี ๆ ให้แกหนูและผู้อ่านท่านอื่น ๆ ^-^

    ขอขอบคุณอาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ลองทำดูนะครับ > ได้แค่ไหนก็แค่นั้น เพราะเราทำดีที่สุด (ภายใต้ขีดจำกัด) แล้ว...

    คุณแม่ผมไตวาย อยู่โรงพยาบาลนครพิงค์ > ตอนนี้อยู่ ICU > ท่านก็ทำดีที่สุดของท่านคือ

    • (1). ทำใจ บริจาคศพกับดวงตา เพราะญาติตั้งแต่คุณย่าลงมา... เกือบทุกท่านจะบริจาคตา
    • (2). วันนี้น้องโทร.มาปรึกษา > ท่านบอกพยาบาลว่า ขอทำสังฆทาน(ใน ICU!) ดูเหมือนทาง ICU อนุญาตให้ทำได้

    คนเรามีกำลังไม่เท่ากัน... ทำให้ดีเท่าที่กำลังเรามี นั่นก็ดีที่สุด(ของเรา)แล้วครับ

    อ่านแล้วจึงได้ทราบว่าทำงานบนไหล่เป็นอย่างไร และเพิ่งจะรู้ตัวว่าตนเองส่วนมากแล้วทำงานบนไหล่จะพยายามปรับปรุงตัวเองค่ะ

                                         ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

    ขอบคุณค่ะ ไม่ยากไม่ง่าย จะลองปรับปรุงใช้กับตัวเองค่ะ

    ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยว และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขอบคุณอาจารย์ และท่านผู้อ่านเช่นเดียวกันครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์อนงนาฎ และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ผมเองก็คงจะทำงานบนไหล่เหมือนกัน
    • ต่อไปจะพยายามทำงานวางลงตรงหน้าแทน
    • ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านไม่ก้าวเกินวัย + อยู่สมวัยครับ...

    ขอขอบคุณอาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • อะไรที่ง่ายเกิน > มักจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
    • อะไรที่ยากเกิน > มักจะทำไม่สำเร็จ
    • อะไรที่ไม่ยากไม่ง่าย > ถ้าตั้งใจทำ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ที่สุด....

    ขอให้อาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสำเร็จจากการทำอะไรที่ "ไม่ยากไม่ง่าย" ครับ...

     

  • อะไรที่ง่ายเกิน > มักจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
  • อะไรที่ยากเกิน > มักจะทำไม่สำเร็จ
  • อะไรที่ไม่ยากไม่ง่าย > ถ้าตั้งใจทำ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ที่สุด....
  • อ่านแล้วโดนใจมากเลยครับ ผมจะพยายามมองปัญหาไม่ให้ง่ายและยากเกินครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ดูเหมือนแพทย์ประจำกองทัพนโปเลียนจะแบ่งคนไข้เป็น 3 กลุ่ม (arbitrage)

    หลักการนี้ยังคงใช้อยู่เมื่อมีอุบัติภัยหมู่ (mass casualty) > เมื่อทรัพยากรมีน้อย(จำกัด)ในท่ามกลางภัยพิบัติใหญ่เกินกำลัง...

    • (1). อาการหนัก > โอกาสตายสูงไม่ว่าจะรักษาหรือไม่ > ไม่ต้องช่วย หรือทุกวันนี้มีสื่อมวลชนสอดส่อง ต้องช่วยสักหน่อยพอเป็นพิธี
      (2). อาการเบา > โอกาสหายเองสูง > ไม่ต้องช่วย ปล่อยให้หายเอง
      (3). อาการปานกลาง > โอกาสตายสูงถ้าไม่รักษา โอกาสรอดสูงถ้ารักษา > ให้รีบช่วย จะได้รับผลคุ้มทุนที่สุด

    หลักการนี้ดูเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก่อนแล้วคือ

    • (1). โรคบางโรครักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย
      (2). โรคบางโรครักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย
      (3). โรคบางโรครักษาหาย ไม่รักษาจะตาย 
    • การรักษาจะมุ่งรักษาทุกคนทุกฝ่าย
    • ทว่า... ความพยายามสมควรจะมุ่งไปในส่วนที่ได้ผล คือ ส่วนที่กลางๆ หรือส่วนที่ (2)

    ขอให้อาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่านประสบความสุข ความสำเร็จ ความเจริญในชีวิต... โดยเฉพาะ...

    • การแสวงหาอะไรที่ไม่ยากไม่ง่าย + ทำสม่ำเสมอจนประสบความสำเร็จบ่อยๆ
    • ต่อไปของที่ยากขึ้นจะค่อยๆ ง่ายลงไปเอง
    กลับมาอีกครั้งก็ได้ความรู้เพิ่มอีก ขอบคุณค่ะ ความพยายาม^2 + สม่ำเสมอ = ความสำเร็จ * ความสุข ^ ความเจริญในชีวิต

    ขอขอบคุณอาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • Welcome home. > ยินดีต้อนรับครับ
    • เห็นด้วยกับข้อคิดของอาจารย์ที่ว่า "ความพยายาม^2 + สม่ำเสมอ = ความสำเร็จ*ความสุข^ความเจริญในชีวิต"
    • สาธุ สาธุ สาธุ
    • ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความสำเร็จ และความเจริญตามที่อาจารย์ iS แนะนำครับ...
    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท