มหัศจรรย์ที่9..หญ้าแฝก


หญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ...มหัศจรรย์ที่ 9

หญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติตามแนวพระราชดำริ ฯ

เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

 
 
           ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรมดำเนินการขยายพันธุ์ ทำให้มีกล้าหญ้าแฝกเพียงพอด้วย ที่สำคัญต้องไม่ลืมหน้าที่ของหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อการรักษาดิน ให้ทุกหน่วยงานและหน่วยงานราชการที่มีศักยภาพในการขยายพันธุ์ ให้ความร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ในการผลิตกล้าหญ้าแฝก และแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เพียงพอ
                               ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
                                          จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

      หญ้าแฝก      เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่

<table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="737" class="MsoNormalTable" style="width: 552.95pt"><tbody><tr style="height: 193.85pt"> <td width="44%" style="width: 44%; height: 193.85pt; background-color: transparent; border: #d4d0c8; padding: 3.75pt"><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p></td> <td width="56%" style="width: 56%; height: 193.85pt; background-color: transparent; border: #d4d0c8; padding: 3.75pt"> 1.  กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม  ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ2.  กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน  ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
      หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน </td> </tr></tbody></table>
<p> </p><p>การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
     1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
     2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
 
    3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
     4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
     5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
     6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
     7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
     8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
     9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
</p><p>  </p> การเตรียมการปลูกหญ้าแฝก <p>     1. การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
     2. การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
     3. การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัน ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
     4. การใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
     5. การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 10 เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก 5 เซนติเมตร
     6. ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพืชที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง1.5-3 เมตร
     7. กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
     8. ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง
</p><p></p>

คำสำคัญ (Tags): #หญ้าแฝก
หมายเลขบันทึก: 44254เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • คุณวิลาสินีนำเสนออกมาได้อย่างละเอียดและกระจ่างมาก ๆ เลยครับ
  • ขอขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่นำมาเสนอใน G2K
ดีค่ะขอให้มาให้ความรู้อย่างนี้บ่อยๆนะคะ
จะขอพันธุ์หญ้าแฝกได้ที่ไหน  อยู่ที่ชุมแสง

ตอนนี้ต้องการข้อมูลของหญ้าแฝกเพื่อนำไปทำโครงงานแสดงในวันวิชาการของร.ร.

  • อยากขอหน้งสือหรือตำราเกียวกับหญ้าแฝก

อยากได้พันธุ์หญ้าแฝกค่ะ  อยู่ในกรุงเทพค่ะ จะขอได้จากที่ไหนคะ  ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท