นักจัดการความรู้ชาวบ้าน:กรณีอำเภอบางมูลนาก จ.พิจิตร


เราไม่อยากเห็นว่าชาวบ้านทำงานโดยไม่มีฐานคิดบนความจริง

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2549 ผม และทีมงานมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร ร่วมกับแกนนำเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ อ.บางมูลนาก ได้จัด "เวทีถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานอำเภอ"  โดยจัดที่  โรงเรียนวังตะกูราษฎ์อุทิศ ต.วังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ครั้งนี้เป็นการเช็คกำลังความพร้อม ในการขับเคลื่อนงานว่าจริงแล้วเรามีฐานกำลังอยู่เท่าไร มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และเครือข่าย สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อยืนยันสำหรับการขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ ให้ท้องถิ่นอย่าง อบต. อบจ. ได้เห็นความสำคัญว่า วิถีทางการทำงานของชาวบ้าน สามารถทำได้ เพราะทำบนพื้นฐานความรู้จริงผ่านมาปฎิบัติมาแล้ว 

ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ  25 คน โดยตอนแรกคาดหวังไว้ประมาณ 40 คน แต่ไม่เป็นไรเพราะเป็นธรรมชาติของชาวบ้านที่จะต้องติดภาระงานบ้าน งานสังคม(เรื่องปากท้องสำคัญกว่า) เค้าต้องเลือกลำดับความจำเป็นหรือสำคัญ  และเราก็ไม่ได้มีความจำเป็นจะเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมเยอะๆ มันเป็นภาพที่ไม่น่ารักเท่าไรนักที่ชาวบ้านมาแล้ว จะบ่นว่าไม่รู้มาทำไมเสียเวลาเปล่าๆ เราจึงอยากให้ทุกคนได้มาด้วยความปิติยินดี เต็มอิ่ม และคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เป้าหมาย/ วัตถุประสงค์ ของการจัดเวทีครั้งนี้มีข้อเดียวครับ คือ เพื่อค้นหาสิ่งดีดีที่เกิดขึ้นของอำเภอ แต่โดยเนื้อหาสาระก็จะแตกประเด็นออกไปอีกมายมาย เป็นประเด็นเปิด ที่ชาวบ้านสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างเต็มที่

โดยมีประเด็นการพูดคุย ดังนี้  

1.        ชี้แจงที่มาของเวทีประชุม เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ทั่วไป2.        แบ่งกลุ่มคละตำบลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยมีประเด็นคือ- ความสำเร็จที่ทำเกษตรปลอดสารพิษ ด้านสุขภาพ หนี้สิน สิ่งแวดล้อม ความรู้เด่นๆ ทำอย่างไร  เพราะอะไร มีใครเกี่ยวข้องบ้าง- ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรปลอดสารพิษมีปัจจัยอะไรบ้าง เพราะอะไร จะแก้ยังไง3.        นำเสนอกลุ่มใหญ่ สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้อง4.        แบ่งกลุ่มแต่ละตำบลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา และ ร่วมกัน คิดแผนงานในอนาคตที่จะก้าวต่อ ตามประเด็นดังนี้- การขับเคลื่อนงานของกลุ่ม ระดับ หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ทำอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง- จะทำอะไรกันต่อ ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร  วางบทบาทการทำงานกันอย่างไร5.        นำเสนอกลุ่มใหญ่ สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้อง6.        หารืออื่นๆ - เสนอเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถพึ่งตัวเองได้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้เรียนรู้กับเกษตรกรทั่วไป ในงานมหกรรมเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่วัดท่าหลวง ในวันที่ 14 กันยายน 2549- เตรียมร่วมกันปลูกต้นไม้ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2549 1. เล่าให้ฟัง          คุณหมอสุรเดช เริ่มกระบวนการด้วยการเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ทั่วไป การแก้ไขปัญหาความยากจนของผู้ว่าฯ โดยสรุปที่ได้ร่วมคณะไปด้วยพบว่า เกษตรกรเกือบ 100% เป็นหนี้ทุกคน สรุปตอนท้ายที่จนไม่ได้จนที่เงิน แต่จนที่ปัญญา โดนโกง กู้มาใช้ไม่ก่อประโยชน์  ผมใช้วิธีให้ตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมาเล่าให้ฟังว่าตนเองทำอย่างไรไม่ให้มีหนี้สิน แล้วให้เกษตรกรที่สนใจได้แลกเปลี่ยนซักถามว่าทำอย่างไร จากนั้นให้แต่ละคนลองเข้าไปคุยกับทาง อบต. ให้สนับสนุนงบประมาณมาสร้างคนด้วยหลักสูตร วปอ.ภาคประชาชน จำนวน 1 แสนบาท 2. แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยแบ่งกลุ่มคละตำบลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ                                (1) ต.เนินมะกอก + ต.ภูมิ                                (2) ต.วังตะกู + ต.ห้วยร่วม(กิ่งอ.ดงเจริญ)                                (3) ต.ลำประดา + ต.วังกรด + ต.ห้วยเขน                 โดยให้แต่ละคนเล่าให้ฟังถึงความสำเร็จ และปัญหาที่ตัวเองประสบว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยสรุปสาระสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่กลุ่มได้ดังนี้                (1) ต.เนินมะกอก + ต.ภูมิ  มีผู้ร่วมพูดคุย คือ  ลุงสมจิตร, คุณธงชัย, คุณรัตนาภรณ์ , ลุงสิงห์, ลุงชำนาญ, คุณสุชิน (รองนายกฯอบต.เนินมะกอก)                  ลุงสมจิตร >>>  อายุ 71 ปี มีที่นา 60 ไร่ ทำถั่ว 6 งาน ข้าวโพด 1 ไร่ มีสระน้ำ 5 ลูก(ประมาณ 6 ไร่) น้ำเพียงพอสำหรับทำนาปี และนาปรัง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชเพราะทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมัก น้ำส้มควันไม้ใช้เอง มีเครื่องอัดเม็ด และโรงสีขนาดเล็ก  ตอนนี้มีหนี้อยู่ 50,000 บาท  ผลของการทำนาที่ผ่านมาปรากฏว่า-          นาปรัง ใช้พันธุ์ข้าว ราชินีเบา ได้ข้าว 60 ถังต่อไร่ ขายถังละ 5,800 บาท-          นาปี ใช้พันธุ์ข้าว มะลิ 105 ได้ข้าว 50 ถัง โดยรวมรายได้ที่เหลือแต่ละปีตกประมาณ 250,000 บาท สาเหตุที่ทำได้สำเร็จ คือ                 ลงทุนน้อย ขยัน ใจรัก มีน้ำ ดินดี มีความรู้ คัดพันธุ์ข้าว ทำเครื่องจักรกลเอง (ป่น, ผสม, อัด)  ลุงสมจิตรเล่าว่าตนเป็นคนชอบทำบุญ โดยเคยถวายที่ดินจำนวน 9 ไร่ๆละ 100,000 บาท ธรรมะช่วยให้เกิดสมาธิ ปัญญา โดยการปล่อยจิตให้ว่าง สงบ ฝึกมาประมาณ 20 ปีแล้ว ทำให้พอเกิดอะไรมาก็มีสติ ทำงานแล้วไม่รู้สึกเมื่อย  ใจรักอยู่กับงาน  วิธีการฝึกคือ ตื่นนอนมาช่วงตอนตี 3 สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกลม จนถึงตี 5 ตั้งหม้อข้าวให้ภรรยา ดูข่าว จากนั้นก็ลงสวน ลงนา                  แง่คิดของการให้ความหมายของคำว่า พอและไม่พอ ว่า                พอ คือ เรื่องทำมาหากิน ทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนคนอื่น                ไม่พอ  คือ การทำบุญกุศล ทำมากๆยิ่งดี                 ลุงสมจิตร ถ่ายทอดความรู้ให้หมดไม่ปิดบัง ทั้งเรื่องธรรมะ และการเกษตร ใครไม่มีนาทำก็แบ่งให้คนอื่นทำ 40 ไร่ ตอนนี้มีคนมาขอพื้นที่ทำกินอยู่ 4 ครอบครัว  ขออะไรก็ให้คิดว่าเป็นกุศล เงินอยากได้แต่ว่า ใจเป็นที่พึ่งมากกว่า ธรรมะถ้าทำได้จะเป็นจุดยึดเหนี่ยว                   คุณธงชัย >>>  มีที่นาทำกินอยู่ 50 ไร่  สวน 3 ไร่ ผัก 2 งาน เมื่อก่อนเคยเป็นหนี้สินถึง 1,800,000 บาท ตอนนี้เหลืออยู่ 1,000,000 บาท สาเหตุที่เป็นหนี้เพราะกู้มาลงทุน ทำสวนผสม เลี้ยงปลา ทำสวนองุ่น เจ๊งเพราะน้ำท่วม   พอหันมาทำนาก็ลดหนี้ได้ จากการทำปุ๋ยชีวภาพ  หลังจากไปเรียนรู้ วปอ. และศึกษาดูงานจากที่ต่างๆ  เทียบต้นทุนการใช้ปุ๋ยแล้วสามารถลดได้ถึง 1 ต่อ 6 คือ ต้นทุนปุ๋ยชีวภาพตก 100 บาท ส่วนเคมี 600 บาท   นอกจากนี้แล้วปุ๋ยน้ำก็ใช้เอง การฝึกสมาธิของตนนั้นเพิ่งทำมา 7 ปีแล้ว ทำวันละประมาณ 30 นาที ตอนตื่นนอน บางทีทำงานมามากๆก็ต้องหยุดบ้าง ทำน้อยๆพอเพียง ไม่คิดอยากรวยแล้วขอให้พออยู่พอกินก็พอใจแล้ว  การใช้หนี้นั้นใช้คืนปีละ 30,000 บาท มั่นใจว่าจะลดลงไปได้ และต้องลดค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย เช่น ปลูกผักไว้กินเองแล้วประมาณ 2 งาน                 ลุงชำนาญ >>> เมื่อก่อนเคยเป็นหนี้ 400,000 บาท  สาเหตุเพราะกู้มาซื้อที่ดิน และส่งลูกเรียน ตอนนี้เหลือหนี้อยู่ 100,000 บาท มีที่ดิน 16 ไร่ แบ่งเป็น นา 12 ไร่ สระน้ำเลี้ยงปลา 4 ไร่ และสวนอีกประมาณ 6 งาน   มีลูก 4 คน แต่งงานแยกครอบครัวแล้ว 2 คน และเพิ่งเรียนป.ตรีจบ 1 คน กำลังเรียนอยู่ราชภัฎสวนสุนันทา 1 คน  ที่สามารถลดหนี้ได้เพราะหลังจากไปเรียน วปอ. ตอนรุ่นแรกกลับมาก็ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้รู้จักประมาณตัวเอง ชี้ช่องทางสว่าง เห็นฟังธรรมจากพระอาจารย์ดุษฎี ได้ดูสวนลุงสมพงษ์ ลุงจวน  วันหนึ่งอยากจะชวนนักเรียนวปอ. มาเยี่ยมดูที่บ้านผมบ้าง ตอนนี้นอกจากทำนา ทำสวนแล้ว ยังมีอาชีพเสริมด้วยคือ เก็บขยะ (กระป๋องเบียร์, ขวดพลาสติก ฯลฯ) อาสาเป็นคนทำความสะอาดเก็บกวาด ขยะ เมื่อมีงานวัด งานศพ มีรายได้ตกเดือนละ ประมาณ 1,000 บาท กลายเป็นบุคคลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ครั้งหนึ่งลูกเคยบอกว่าให้พ่อเลิกเก็บขยะเพราะอายเพื่อน แต่ตอนนี้ไม่แล้ว พอมีรายได้ก็เริ่มมีคู่แข่งมาเก็บขยะ ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น บ้านเมืองสะอาด เป็นมหากุศล เป็นศีลเป็นธรรมอีกทางหนึ่งของการปฏิบัติธรรม   การปฏิบัติธรรมอยากทำเป็นประจำอยู่เหมือนกันแต่ว่าสุขภาพไม่เอื้อ เคยมีคนแนะนำทำจิตใจให้ว่าง  ที่ผ่านมาก็ขออธิษฐานให้มูลนิธิฯเจริญรุ่งเรืองด้วย                ลุงสิงห์ >>>  มีที่ทำกิน 15 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 10 ไร่ และสวนผสม 5 ไร่  เคยมีหนี้ 100,000 กว่าบาท เพราะส่งลูกเรียน และทำงานกันหมดแล้ว เหลือเพียงลูกชายคนเดียวที่อยู่ช่วยทำนา ทำสวน บริเวณรอบๆคลอง ปลูกมะพร้าว  ได้ผลผลิตมาแปรรูปขายเป็น วุ้นมะพร้าว สาเหตุที่ปลูกมะพร้าวเพราะความบังเอิญ  ตอนนั้นลูกสาวแต่งงาน แล้วมะพร้าวเหลือจากงานกว่า 100 ลูก ไม่รู้จะทำไงเลยเอามาปลูกรอบๆ ได้ผลแล้ว     ในส่วนของการทำนานั้นทำโดยไม่จุดฟาง และย่อยสลายฟางด้วยการเอาน้ำใส่ให้ท่วม ผสมกับน้ำหมักชีวภาพ และเลี้ยงเป็ดย่ำ ทำให้ดินดี ทำให้ตีเทือกง่าย เห็นมีขยองไส้เดือนขึ้นแล้ว  ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย พันธุ์ข้าวที่ทำอยู่คือพันธุ์ข้าวชัยนาท ได้ข้าว 80 ถังต่อไร่ ขายเกวียนละ 6,000 บาท หักต้นทุนการผลิตแล้วเหลือคราวละ 70,000 80,000 บาท เมื่อก่อนลุงสิงห์ ทำนาอย่างเดียวไม่สนใจงานสังคมเลย ตอนนี้หันมาช่วยเหลือหมู่บ้านแล้ว เพราะอายุมาก ใกล้กลับบ้านเก่าแล้ว ตอนนี้ก็เป็นกรรมการโรงสีชุมขน และเป็นรองประธานดูแลน้ำชุมชนอยู่                 คุณสุชิน >>>   เป็นรองนายกฯอบต.เนินมะกอก อยากเป็นผู้นำชุมชนที่เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้าน ด้วยการทำนา 20 ไร่ ตอนนี้ลดมาเหลือ 10 ไร่ ที่เหลือแบ่งให้เค้าเช่า เคยมีหนี้ถึง 2,000,000 บาท เพราะอยากรวย ด้วยการลงทุนทำสวนส้มเขียวหวานบางมด ทำแล้วเกิดปัญหาน้ำท่วม หลังจากมาเน้นการทำนาชีวภาพ 6 ปี ด้วยการไม่เผาตอซัง ใช้ปุ๋ยหมัก ขี้วัว ขี้แพะ ได้ข้าว 70 80 ถังต่อไร่ ใช้พันธุ์ชัยนาท ในร่องน้ำก็เลี้ยงปลาด้วย                 การทำงานร่วมกับชาวบ้านเป็นเครือข่าย ปลูกฝังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เข้าโครงการทำให้มีโอกาสไปอบรมที่เชียงราย ตอนนั้นตัวแทนพิจิตรมี 2 อำเภอ คือ อ.บางมูลนาก และ อ.โพทะเล จัดโดยสภาวัฒนธรรมไทย ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อ ปลูกผลไม้ต่างๆ การส่งเสริมเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ทำป้ายต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี                 คุณรัตนภรณ์ >>>  มีที่ทำกิน 40 ไร่ เป็นหนี้ 280,000 บาท รับมรดกจากแม่ ตอนนี้เข้าโครงการฟื้นฟูปรับโครงสร้าง เหลือหนี้อยู่ 140,000 บาท  ทำนาปี ใช้ชีวภาพปุ๋ยขี้ค้างคาว น้ำหมักชีวภาพ เลี้ยงปลา 2 บ่อ (ประมาณ 5 ไร่) เมื่อก่อนเคยไปรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้ามีลูก 1 คน กำลังเรียน กศน.อยู่  รายได้เหลือพออยู่ได้                 (2) ต.วังตะกู + ต.ห้วยร่วม(กิ่งอ.ดงเจริญ)     มีผู้ร่วมพูดคุย คือ คุณสุดใจ , ลุงณรงค์, ผญบ.เนตร, ลุงแหลม, คุณชิต          สรุปภาพรวมกลุ่มต.วังตะกู             - หมู่ 1 คุณสุดใจอยากทำ ผู้นำไม่สนับสนุนเลยทำเองไปก่อน                 - หมู่ 3 มีแกนนำที่ชัดเจนอยู่คือ ลุงณรงค์, ลุงสืบ มีผู้ใหญ่บ้านสนับสนุน                - หมู่ 4 ผู้ใหญ่เนตร เพิ่งรวมกลุ่มมีลุงสืบเข้าไปสอนทำปุ๋ย ทดลองทำนา ใช้ปุ๋ยเคมี กับชีวภาพ                 - หมู่ 7 มีสมาชิก 31 คน เริ่มจากคุณชิต ปานพลอย ทดลองใช้ก่อน แล้วขยายผลให้กับสมาชิกในหมู่บ้าน รวมไปถึงขยายผลให้เกษตรกร กิ่งอ.ดงเจริญ  ได้รับความร่วมมือจาก กศน.                 - รร.วังตะกูราษฎร์อุทิศ ขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของโรงเรียน อีก 7 แห่ง คือ ห้วยเขน วัดวังตะกู วังกรด เนินมะกอก ห้วยเรียงกลาง ห้วยเรียงใต้ และลำประดา ต.ห้วยร่วม (กิ่งอ.ดงเจริญ)             ลุงแหลม จันทร์ป้อม ปลูกไผ่หวาน แปรรูปและทำปลาร้า ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เป็นนักเรียนวปอ. ด้วย ขยายผลระหว่างโรงเรียนและหมู่บ้าน คือ-          หนองสนวน ทำปุ๋ยชีวภาพ แปลงสาธิต-          หนองง้าว ทำแปลงผัก -          ห้วยพุก ทำพืชสมุนไพร-          สำนักขุนเณร ทำแปลงผัก-          ไดรัง ทำปุ๋ยชีวภาพ ทำงานกันเป็นเครือข่าย มีการติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กันระหว่างเครือข่ายส่วนใหญ่ เพื่อเริ่มทดลองทำ หาทีมทำยาก  ทั้งระดับกลุ่ม ระดับตำบล                  (3) ต.ลำประดา + ต.วังกรด + ต.ห้วยเขน  ผู้ร่วมพูดคุย คือ คุณสำรวย, คุณจรัญ, ลุงยะ, คุณสวัสดิ์  สรุปภาพรวมการพูดคุยในกลุ่ม ได้ดังนี้                ต.ลำประดา                                มีกำนันสำรวย วันเชียร เป็นผู้ประสานงาน ที่ปรึกษาคือ เกษตรตำบล มีสมาชิก หมู่ 3 และหมู่ 5 รวม 18 คน เริ่มทำปุ๋ยทดลองใช้เอง แต่ยังไม่ขยายผล                 ต.วังกรด                         มีผู้ใหญ่สวัสดิ์ รัลลภ เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายตำบล-          หมู่ 1 มีสมาชิก 20 คน ทำปุ๋ยหมักอัดเม็ด เป็นต้นแบบเรียนรู้ได้ -          หมู่ 2 คุณจรัญ ฟุ่มเฟือย ทดลองทำแล้ว แต่ยังไม่ได้ขยายผล -          หมู่ 5 ทำชีวภาพใช้เอง ปลูกผักสวนครัว มีทายาทเกษตรปลูกผัก ต.ห้วยเขน            มีลุงยะ ยี่หล่ำ เป็นผู้ประสานงาน สมาชิก 25 คน ทำปุ๋ยใช้เองร่วมกันลงหุ้นกันคนละ 2,000 บาท และได้ขยายไปยังตำบลใกล้เคียง (ลำประดา, ภูมิ)  นอกจากนี้แล้วก็ยังมี รร.ห้วยเขน เป็นเครือข่ายทายาทเกษตรกรปลูกผักปลอดสาร                 ความภาคภูมิใจโดยรวม             1) ครอบครัวมีความสุข                2) ให้ความรู้แก่บุคคลที่สนใจ                3) ลดหนี้สิน                4) ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น                 ปัญหาอุปสรรค            1) เงินทุนน้อย, ซื้อวัสดุอุปกรณ์ยาก                2) ยังรวมตัวกันไม่เหนียวแน่น                3) ยังขาดความเชื่อมั่น                 4) ขาดวัตถุดิบในการทำปุ๋ยชีวภาพ 3. แบ่งกลุ่มแต่ละตำบลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา และ ร่วมกัน คิดแผนงานในอนาคตที่จะก้าวต่อ ตามประเด็นดังนี้- การขับเคลื่อนงานของกลุ่ม ระดับ หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ทำอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง- จะทำอะไรกันต่อ ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร  วางบทบาทการทำงานกันอย่างไร                ต.ภูมิ                  วางเป้าหมายว่า เกษตรกรได้มีข้าวกินเป็นของตัวเอง เริ่มจากสมาชิก 25 คนให้ชัดเจนก่อน  โดยเริ่มเรียนรู้การทำพันธุ์ข้าวปลอดสารพิษ เรียนรู้เรื่องปุ๋ยเพิ่มเติม ทำเครื่องจักรเอง สีกินเหลือแล้วค่อยขาย                 ต.เนินมะกอก             มีสมาชิกอยู่ 40 คน ต้องการฟื้นฟูโรงสีชุมชนที่มีอยู่  เสนอ อบต.ตั้ง งบประมาณพาเกษตรกรเรียนรู้หลักสูตร วปอ. จากนั้นอยากมีเวทีประชุมสัญจรในหมู่บ้าน                 ต.ห้วยเขน + ต.ลำประดา                เป้าหมายตั้งว่า จะลดหนี้สิน ลดต้นทุนการผลิต คัดพันธุ์ข้าวเอง ครอบครัวพออยู่พอกิน เชิญวิทยากรทั้งปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ลุงณรงค์ และลุงสืบ มาร่วมหารือกับ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ  และ กศน. กันต่อไป ตั้งให้ลุงยะ ยี่หล่ำ เป็นผู้ประสานงาน                 ต.วังตะกู  + ต.ห้วยร่วม(กิ่งอ.ดงเจริญ)            ตั้งเป้าหมายว่า อยากดูงานกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ เรื่องพันธุ์ข้าว รวมกลุ่มสมาชิก ทำแปลงสาธิต ลงแขกทำปุ๋ย จากนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน ภายนอกกลุ่ม  เชิญหน่วยงานอย่าง เกษตรอำเภอ/ จังหวัด พัฒนาชุมชน สาธารณสุข มูลนิธิฯ ปราชญ์ชาวบ้านร่วมด้วย  โดยคาดว่าจะหางบประมาณขับเคลื่อนงานจาก อบต. เทศบาล และลงหุ้นร่วมกัน  เน้นพัฒนาคนในกลุ่มให้เป็นตัวอย่างเรื่องแนวคิดความพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม  สรุปประเด็นภาพรวมการประเมินอำเภอบางมูลนาก1. ทุนทางสังคม             1.1 แกนนำ                                มีแกนนำที่เป็นตัวอย่างได้ 31 คน จากสมาชิกทั้งหมดประมาณ 300 คน             1.2 กลุ่ม                                มี 9 ตำบล คือ วังตะกู                    มีสมาชิก 98 คน  เป็นแกนนำได้ 8 คน จาก หมู่ 1, 5, 7,  มีเครือข่าย รร.ทายาทเกษตรกร 9 แห่ง ภูมิ                          มีสมาชิก 25 คน เป็นแกนนำได้ 3 คน ห้วยเขน                 มีสมาชิก 25 คน เป็นแกนนำได้ 1 คนลำประดา              มีสมาชิก 16 คน เป็นแกนนำได้ 1 คนเนินมะกอก           มีสมาชิก 50 คน เป็นแกนนำได้ 10 คนวังกรด                    มีสมาชิก 20 คน เป็นแกนนำได้ 8 คน หอไกร                   มีสมาชิก 8 คน เป็นแกนนำได้ 2 คน บางไผ่                    มีสมาชิก 20 คน เป็นแกนนำได้ 2 คนวังสำโรงห้วยร่วม (กิ่งอ.ดงเจริญ)             1.3 เครือข่าย                                มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน ทำให้ได้แนวคิดมาปรับใช้กับพื้นที่ตัวเอง 2. ทุนทางปัญญา                2.1 องค์ความรู้   เรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ, พันธุ์ข้าว, โรงสี, การทำเครื่องจักรกล, การแปรรูป, การปลูกผัก            2.2 การเรียนรู้    เข้าเรียนหลักสูตร วปอ.ภาคประชาชน  สามารถพึ่งตนเอง พอเพียง ยึดหลักสัมมาอาชีพ ฝึกปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง 3. ทุนทางเศรษฐกิจ                ลดต้นทุนได้จากการใช้ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพใช้เอง มีรายได้เสริมจากอาชีพต่างๆ ไม่ทำอย่างเดียว ทำผักไว้กินเองในครัวเรือน ทำให้เงินเหลือพอใช้หนี้และลดลงได้  4. ทุนทางสิ่งแวดล้อม                ปลาธรรมชาติเริ่มกลับมาให้เห็นในคลอง ขยองไส้เดือนมีให้เห็นตามนาข้าว ผลจากการลดการใช้สารเคมีในการทำนา ทำสวน 5. ทุนทางการเมือง             สามารถเข้าไปขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ทั้งท้องถิ่น และภูมิภาค เช่น อบต. สาธารณสุข กศน. ครู เกษตร หันมาสนับสนุนงานเกษตรปลอดสารทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากร                              แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานรูปเครือข่าย ดังนี้(1) ประสานพันธมิตรส่วนราชการ                กศน. = ชิต ปานพลอย                พัฒนาชุมชน = บุญสืบ กลิ่นชาติ(2) ผู้ประสานงานระดับตำบล                วังตะกู = เนตร, สมัคร, จำนงค์, สุดใจ                เนินมะกอก = สุชิน, ชำนาญ, สิงห์                ภูมิ = สมจิตร, รัตนาภรณ์                ลำประดา =                 ห้วยเขน = ยะ, เฮง  เสนอความคิดเห็นในการจัดงาน
หมายเลขบันทึก: 44232เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท