เติมความสมบูรณ์ด้วย ...C3THER


วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.30-16.00น.

ฝ่ายการพยาบาล ร่วมกับ KM คณะแพทยศาสตร์มีการจัดเวที ลปรร   พันธกิจด้านการรักษาพยาบาลเรื่อง

เติมความสมบูรณ์ด้วย C3THER

  • Care ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมหรือไม่ ตั้งแต่การประเมิน การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และป้องกันความเสี่ยง
  • Communication ผู้ป่วยและญาติได้รับข้อมูลที่จำเป็น และเป็นที่เข้าใจหรือไม่
  • Continuity ผู้ป่วยและญาติได้รับการเตรียมตัวเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่องเมื่อกลับบ้านหรือไม่
  • Team  มีการนำสหสาขาวิชาชีพอื่นเข้าร่วมดูแลหรือไม่
  • Human Resource  ทีมงานมีความรู้และทักษะเพียงพอในการดูแลผู้ป่วยรายนี้อย่างมีคุณภาพหรือไม่
  • Environment   ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย สะดวก สบายหรือไม่
  • Equipment   มีเครื่องมือที่จำเป็นและพร้อมใช้งานในผู้ป่วยรายนี้หรือไม่
  • Record   บันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยรายนี้ สมบูรณ์หรือไม่

 

ประเด็นที่เราแลกเปลี่ยนกัน

ผู้นำในการเล่าเรื่อง (facilitator) คือ .....

พี่เพชรรัตน์ บุตะเขียว ผู้ช่วยฯ ฝ่ายคลินิก

 

Note taker คือ คุณเลี่ยมทอง หรือน้องแดง

 

Ico64

 

 

 

Knowledge assets

รูปแบบที่เหมาะสม ในการนำมาใช้ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

  • C3THER เป็นกรอบในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการทำ Nursing round, Nursing conference และเป็นกิจกรรมหนึ่งที่หัวหน้าพาทำ พาทบทวน ทำถี่บ่อยแค่ไหน กิจกรรมเหล่านั้นทำอย่างไร เราสามารถกำหนดได้
  • พยาบาลน้องใหม่ควรทำให้ครอบคลุมทุกประเด็นของ C3THER ควรบันทึกไว้ว่าทบทวนเรื่องอะไร มีการสื่อสารกันอย่างไร
  • พยาบาลรุ่นพี่ อาจเลือกประเด็นสำคัญมาคุยกัน ทำแบบสั้น กระชับเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ
  • ประเด็นที่เลือกมาคุยกัน อาจเป็นNew case, Case ที่ซับซ้อน, Case Risk, Case ที่อาการดีแล้วก็ได้หรือประเด็นที่เป็นปัญหาหน้างาน 
  • หัวหน้ามอบหมายงานให้พยาบาลมาเล่าเรื่อง  การดูแลแบบ C3THER  1 คนต่อ 1 ครั้ง ต่อ 1 เดือนหรือตามความเหมาะสม
  • ระยะเวลาที่ใช้ 30-45 นาที เลือกเวลาที่เหมาะสมของแต่ละสถานที่ อาจใช้ช่วงเวลาหลัง Pre conference หรือก่อน Post conference
  • สถานที่ ทบทวนข้างเตียงหรือตามความเหมาะสม
  • การดำเนินการ เราสามารถทำกิจกรรมร่วมกับญาติ สหสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ หรือเฉพาะส่วนของพยาบาลก็ได้ ตามประเด็นที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

มีการ Monitor อย่างไร

  • การบันทึกกิจกรรม ทำได้ทั้งแบบสั้น หรือแบบยาวก็ได้
  • การบันทึกแบบสั้น บันทึกชื่อผู้รับผิดชอบทำในแต่ละเดือน เรื่องที่ทำ
  • การบันทึกแบบยาวตามประเด็น C3THER มีประโยชน์ ทำให้ผู้นำได้เตรียมข้อมูลเชิงลึก ทั้งการประเมิน การวางแผนการดูแลผู้ป่วยมาก่อน ทำให้วันที่ทำกิจกรรมจริง มีการเติมเต็มข้อมูลร่วมกันในแต่ละส่วนได้ครอบคลุม
  • หัวหน้าฯ มอบหมายบุคลากรทุกคนให้มีโอกาสได้ทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร 

  • บุคคลากรมีการพัฒนาตนเอง จากการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • มีการวางแผนการจำหน่าย มีทั้งการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ การเยี่ยมบ้าน 
  • ได้ประเด็นในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • มีโครงการพัฒนางาน
  • มีนวัตกรรม Hotline
  • มีแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (clinical nursing practice guideline)
  •  R2R
  •  ฯลฯ

ความคาดหวังในอนาคต 

  •  บุคลากรมีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น
  •  มีการบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติได้...จนเป็นนิสัย

 

หัวหน้า จินตนา บุญจันทร์  ได้ร่วม ลปรร และให้ข้อคิดว่า.....

ทำอย่างไร จะทำกิจกรรมนี้ให้เป็น routine จนเป็นนิสัย เพื่อให้คุ้นเคยอยู่ในสายเลือด

รองฯ ศิริพร มงคลถาวรชัย ร่วม ลปรร และให้ข้อคิดว่า....

กิจกรรมนี้เราทำมามากแล้ว  แต่อยากให้ทำงานแบบง่ายๆ โดยกำหนดผ่านกรอบ C3THER

สรุป

ท่านรองฯ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ รศ นพ สุรพล วีระศิริ กล่าวว่า

 

ใครจะทำอะไรก็ตาม ถึงแม้จะไปคนละทิศทางก็ถึงบ้านเช่นกัน จะใช้วิธีการใดก็ตาม ก็ได้ผลลัพธ์เช่นกัน ทำ by heart, by common sense อาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์เสมอว่า... ให้เราคิดว่าถ้าเราปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหมือนพ่อแม่เรา นั่นคือ ความสำเร็จของการทำหน้าที่

คำสำคัญ (Tags): #c3ther#km#kmmed#cnpg#ebp#r2r
หมายเลขบันทึก: 440811เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2011 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

มาชื่นชม สาวสาว ทีมงานพยาบาลครับ

  • สวัสดีครับพี่แก้ว
  • ชื่นชมกิจกรรมที่นำไปสู่งานวิจัย รวมทั้งการเก็บประเด็นสำคัญมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • เห็นพี่คุยยุ่งๆ เลยไม่ได้เข้าไปทักทาย
  • ทำงานด้วยใจ ผลสุดท้ายคือความสำเร็จ ขอบคุณครับ

ท่าน JJ

มีหนุ่ม 2 คนค่ะ

ในกิจกรรมนี้

น้องชำนาญ

ดีใจที่พบหน้าและร่วมกิจกรรมดีดี ผ่าน face to face ค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่แก้ว

แวะมาชื่นชมกิจกรรมดีๆค่ะ

สัปดาห์หน้าKMเรื่องหกล้ม อุ้มคงได้ไปร่วมค่ะพี่แก้ว

พี่แก้วสบายดีนะครับ

เป็นกำลังใจให้สำหรับงานที่ทำและรักนะครับ

สบายดีค่ะ ดิเรก

ถ้ามา รพ แวะมาดื่มกาแฟกับพี่ได้นะ

สวัสดีค่ะ

สรุปได้ดีมากๆค่ะ พี่แก้วมีงานเยอะ...แต่ก็มีเวลาเขียน นี่ถ้าไม่ใช่ สิ่งที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเด็ก...คงไม่ได้รักการอ่านเขียน...

อย่างนี้ต้องให้เครดิต...กับพ่อ...แม่ นะคะ ท่านมีวิสัยทัศน์ในการเลี้ยงลูก...

พี่แก้วน่าจะเขียน วิธีการเลี้ยงลูกให้เก่ง...ฉบับ...คุณพ่อนะคะ

C3THER...น่าจะดีมากๆสำหรับการทบทวนการดูแลคนไข้ให้ครอบคลุม...

ที่ward จะพัฒนาต่อ...ค่ะ

พี่แก้วจะรีบเขียนหลังกิจกรรมนั้นเสร็จสิ้น ใช้หลักงานไม่ค้าง

จะได้ทิ้งร่องรอยไว้เตือนความจำ สำหรับตัวเองค่ะ น้องแดง

แต่พี่ก็จะรอน้องแดง เขียนสรุปอีกทีนะคะ

สว้สดีค่ะพี่แก้ว

เข้ามาเยี่ยม และขอความช่วยเหลือ

ตอนนี้กำลังจัดอบรม การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ตามแบบของ กพร

ไม่ทราบว่าพี่พอมีตัวอย่างมั๊ย

หากมีขอความอนุเคราะห์ ส่งให้หน่อยได้มั๊ยคะ

ที่ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท