Need Assessment for Tsunami Research Program


Need Assessment for Tsunami Research Program
Need Assessment
for Tsunami Research Program

ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ข้อเสนอแนะในการจัดการงานวิจัยสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยแบ่งเป็นด้านต่างๆต่อไปนี้ 
1.       Geophysics
2.       Bio-resources
3.       Eco-environment
4.       Health and Forensic science
5.       Socio-economic :      

  •  Economic      
  •  Livelihood
  •  Education
  •  Child 
  •  Conflict Management  

1. ข้อเสนอแนะด้าน  Geo-physics

สถานการณ์

1.    เกิดแผ่นดินยุบหลายแห่งใน 6 จังหวัดภาคใต้  ซึ่งมีขนาดและความลึกต่าง ๆ กัน  และในบางพื้นที่มีการพังทลายของเพดานถ้ำหินปูน  และคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบเชื่อว่าเหตุการณ์หลุมยุบสัมพันธ์กับเหตุการณ์แผ่นดินไหว  โดยความเป็นจริงแล้ว เหตุการณ์แผ่นดินไหวเพียงแต่กระตุ้นให้เกิดการพังทลายของโพรงใต้ดินซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว
2.    เหตุการณ์แผ่นดินไหวอาจส่งผลกระทบให้แนวเลื่อนคลองมะรุ่ยและแนวเลื่อนระนองที่พาดผ่านเกาะภูเก็ตมีการเคลื่อนตัว รวมถึงแนวเลื่อนที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหาก 3 จุดนี้เกิดแผ่นดินไหว  จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกาะภูเก็ต เขื่อนศรีนครินทร์  และเขื่อนเขาแหลม  จังหวัดกาญจนบุรี

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.    ผลิตสื่อเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกำเนิดของหลุมยุบและตัวชี้เตือนภัยหลุมยุบสำหรับชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากหลุมยุบ
2.       ดำเนินการสำรวจด้านธรณีฟิสิกส์ในพื้นที่ซึ่งมีแผนที่จะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ และโครงการก่อสร้างโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่
3.       เพิ่มขยายและดำเนินการตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวตามแถบรอยเลื่อนในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
4.       เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของแถบรอยเลื่อนและการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
5.    ประเมินความเสี่ยงของภัยพิบัติด้านธรณีวิทยา เช่น  แผ่นดินไหว  แผ่นดินถล่ม  ตามแถบรอยเลื่อนที่จะมีผลกระทบต่อชีวิต  โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนา
หมายเหตุ ทั้งนี้จะต้องประสานงานกับคณะอำนวยการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและชุมชนพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย  และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ข้อเสนอแนะด้าน  Bio-resources

คุณภาพน้ำและทรัพยากรชายฝั่ง

             สภาพปัญหา
1. ป่าชายหาดถูกน้ำเค็มท่วมท้น  ในระยะยาว น้ำเค็มจะซึมลงสู่ใต้ดิน และจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
2. คุณภาพน้ำในพรุหลังชายหาด เริ่มแสดงให้เห็นถึงการตายของสิ่งมีชีวิตบางชนิด

            ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.    ควรได้มีการติดตามตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปของคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ในป่าพรุที่ได้มีการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง  เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ถึงแม้ว่าคุณภาพน้ำโดยทั่วไป ไม่แตกต่างจากที่เคยสำรวจไว้เดิมมากนัก แต่ขณะนี้เป็นช่วยที่กำลังเข้าสู่ฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงของความเค็มแม้จะไม่มากนักในระยะนี้  แต่อาจมีเพิ่มมากขึ้นได้ อันเนื่องมาจากการระเหยของน้ำที่อยู่ในป่าพรุ
2.    ควรมีการสำรวจแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เพิ่มเติมจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อจะได้ช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นเบื้องต้น และหาวิธีแก้ไขหากมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพในแหล่งน้ำ นั้น ๆ ต่อไป
หญ้าทะเล  สาหร่ายทะเล
            สภาพปัญหา
1.    สาหร่ายและหญ้าทะเลขาดและถูกพัดพาขึ้นมาบนหาดหรือล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ ลดปริมาณของสาหร่ายและหญ้าทะเลลง  โดยเฉพาะสาหร่ายจะได้ผลกระทบมากกว่าหญ้าทะเล
2.    ปริมาณตะกอนในมวลน้ำเพิ่มขึ้น  ทำให้น้ำขุ่น  ลดความสามารถในการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายและหญ้าทะเล  และหากปริมาณของตะกอนมีมากขึ้น ก็จะทับถมสาหร่ายและหญ้าทะเล รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน  และในที่สุดสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะตาย
3.    หินปะการังซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น ฟองน้ำ และสาหร่ายอื่น ๆ ถูกพัดพาขึ้นมา บนบริเวณชายฝั่งเป็นจำนวนมาก และมีการพลิกเปลี่ยนตำแหน่งของสิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ด้านบนไปยังด้านอื่น ๆ  ทำให้พื้นที่ยึดเกาะของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจเป็นทั้งทำให้ปริมาณแสงที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงสำหรับสาหร่ายลดลงหรือทำให้สิ่งมีชีวิตได้รับแสงที่มากเกินไป 
                ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
            ควรมีการศึกษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจาก Tsunami เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยในการจัดการกับทรัพยากรทางทะเลที่ได้รับผลกระทบต่อ Tsunami
           
แนวปะการัง
               สภาพปัญหา
1.       ผลกระทบจากคลื่น Tsunami  โดยตรง
1.1          ปะการังน้ำตื้นและกัลปังหาเกิดการล้มและหลุดร่วงจากฐานหินเดิม 
1.2          แนวปะการังถูกตะกอนทับถม
1.3          ปะการังพลิกล้มและแตกหัก  ซึ่งเป็นผลมาจากการเลื่อนไถลของทราย
2.       ผลกระทบจากคลื่น Tsunami ทางอ้อม
2.1          ขยะที่ถูกพัดพามาจากแผ่นดินกระแทกแนวปะการัง ทำให้ปะการังแตกหัก

                ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.        พลิกฟื้นปะการังและกัลปังหา
1.1     พลิกปะการังที่พลิกคว่ำ  เพราะนอกจากจะช่วยให้ปะการังมีชีวิตรอดแล้ว ยังช่วยให้กระบวนการสืบพันธุ์ของปะการังสามารถพัฒนาไปได้ด้วย
1.2          ยึดติดกัลปังหาที่หลุดร่วง เนื่องจากถ้าปล่อยไว้จะตายในเวลาไม่นาน
1.3     จัดสร้างพื้นที่ลงเกาะสำหรับปะการัง เนื่องจากคลื่น Tsunami ทำให้เกิดพื้นที่ว่างบนพื้นทรายเป็นบริเวณกว้าง ตัวอ่อนปะการังไม่มีพื้นที่ที่จะลงเกาะได้
2.        เก็บขยะใต้ทะเล
3.        ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแนวปะการัง   เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการทรัพยากรแนวปะการัง
หมายเหตุ ทั้งนี้จะต้องประสานงานกับคณะอำนวยการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและชุมชนพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย  และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                         

3. ข้อเสนอแนะด้าน  Eco-environment

สถานการณ์
1.       มีพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ  จำนวน  6  จังหวัด  ได้แก่ ภูเก็ต  พังงา  กระบี่  ตรัง  ระนอง  สตูล โดยพังงาเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยรุนแรงที่สุด  โดยพื้นที่ที่เสียหายส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตร แหล่งน้ำ ถนน และพื้นที่อื่น ๆ
2.       สิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายดังนี้
2.1    แนวปะการังเสียหายเล็กน้อยประมาณ 3,146  ไร่  เสียหายมากประมาณ 550 ไร่
2.2    หญ้าทะเล  ส่วนใหญ่มีสภาพปกติ มีพื้นที่เสียหายมากกว่า 20% จำนวน 3 พื้นที่
2.3    ชายหาด ส่วนใหญ่เสียหายมาก พื้นที่ประมาณ 6,200 ไร่
2.4    ป่าชายเลน พบความเสียหายในพื้นที่จังหวัดพังงา 1,900 ไร่  ภูเก็ต 10 ไร่
2.5    ป่าไม้  เสียหายประมาณ 500 ไร่
2.6    ทรัพยากรน้ำ บ่อน้ำบาดาล เสียหาย 850 บ่อ  บ่อน้ำตื้น 500 บ่อ  ระบบประปาแบบบาดาล 425 แห่ง ระบบประปาผิวดิน 30 แห่ง แหล่งน้ำเสียหาย 12 แห่ง
2.7    พื้นที่ทิ้งขยะ/ระบบบำบัดน้ำเสียเสียหาย 20 แห่ง
2.8    ผลกระทบด้านธรณีฟิสิกส์ทั้งดินถล่ม  รอยแยก และก๊าซผุดในชั้นดินใต้ท้องทะเล หลุมยุบและรอยร้าวในโรงเรียน
การฟื้นฟู
1.       จัดระเบียบการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการจัดระเบียบชายหาด  ได้ดำเนินการดังนี้
-          ดำเนินการทำความสะอาด ขนย้ายซากปรักหักพังและขยะมูลฝอย
-     ดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ชายหาด  โดยการห้ามไม่ให้เข้าไปทำประโยชน์บริเวณชายหาด รวมทั้งจัด Zoning การใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด
2.       แหล่งท่องเที่ยว  ได้ดำเนินการดังนี้
-          ปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดจังหวัดต่าง ๆ โดยใช้ผังการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น  จ.ภูเก็ต   และ clean up อุทยานแห่งชาติในจังหวัดพังงา
-          จัดให้มีการฟื้นฟูชุมชนและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
-          แบ่งมอบภารกิจในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจน
3.       กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ของพื้นที่  กรณีพื้นที่เกาะพีพี จ.กระบี่
      กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เสนอผังเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพี  2 แนวทางดังนี้
1.    เป็นพื้นที่  Memorial  Park ( สวนรำลึกเหตุการณ์สึนามิ ) โดยจะแยกเป็น Passive  Zone ( พื้นที่เงียบสงบ)  ซึ่งเน้นกิจกรรมพักผ่อนที่ไม่มีกิจกรรมสูง เป็นโซนสำหรับโรงแรม รีสอร์ตชั้นดี  เงียบสงบ   และ Active Zone (พื้นที่กิจกรรม)  ซึ่งจะจัดพื้นที่ที่เป็น open space เป็น Memorial Park เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สึนามิ  เปิดแนวชายหาดให้เป็น set back (ระยะถอยร่น)  สิ่งก่อสร้างจะอยู่ห่างจากแนวหาด 20 เมตร เพื่อรักษาแนวชายหาดและทำให้ชายหาดเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นการเปิดมุมมองสู่ทะเลและมีพื้นที่พิเศษบนที่สูงเพื่อเป็นจุดหนีภัย
2.    เป็นการเวนคืนพื้นที่ประสบภัยทั้งหมดจำนวน 200 ไร่ เพื่อทำเป็นส่วนสาธารณะ  โดยใจกลางของพื้นที่เกิดเหตุเป็นอนุสรณ์เพื่อการรำลึกถึงเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่ม โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ พื้นที่เสี่ยงภัย  พื้นที่สีเหลือง พื้นที่เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและนันทนาการ และพื้นที่เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ  โดยห้ามปลูกสร้างอาคารทุกชนิด  ยกเว้นเพื่อระบบงานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.       การฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2.       การส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.       การประเมินความต้องการในการจัด zoning และ Environmental Planning
4.       การฟื้นฟูแหล่งน้ำจืดเพื่อการอุปโภคและบริโภค
5.       การสำรวจข้อมูลทางวิชาการด้านความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว
6.       การจัดการน้ำและการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ ทั้งนี้จะต้องประสานงานกับคณะอำนวยการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและชุมชนพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย  และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. ข้อเสนอแนะด้าน  Health and Forensic science
ปัญหาและความต้องการด้านสาธารณสุขแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่สำคัญ ๆ คือ ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกรณีธรณีพิบัติภัย
1 ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ
1.1 เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตในหมู่ผู้ประสบภัยและสมาชิกครอบครัว ต้องการความช่วยเหลือด้านการรักษาฟื้นฟูสภาพจิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว
1.2 เกิดปัญหาด้านสุขภาพกาย การฟื้นฟูปัญหาจากการบาดเจ็บชนิดต่าง ๆ  
1.3 เกิดโรคที่สัมพันธ์กับสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสุขลักษณะการบริโภคอาหารและน้ำ จากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรกคือ น้ำเสีย บ่อน้ำที่ปนเปื้อนด้วยน้ำเค็ม ฝั่นละออง และมีการหมักหมมของขยะกระจายเต็มพื้นที่
1.4 การบริการสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังไม่ครอบคลุมผู้บาดเจ็บและสมาชิกครอบครัวที่ตกค้างในพื้นที่ประสบภัย และในศูนย์พักพิงชั่วคราว เนื่องจากพื้นที่ประสบภัยมีอาณาเขตกว้างขวาง
1.5 เกิดปัญหาด้านการชันสูตรศพและการติดตามผู้สูญหาย เนื่องจากเกิดการสูญเสียชีวิต และยังมีผู้สูญหายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยยังไม่การประสานงานอย่างเป็นระบบระหว่างที่เกี่ยวข้องระดับพื้นที่และศูนย์หรือองค์กรพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัย
2.1 ปัญหา ความต้องการ และการเรียนรู้ก่อนเกิดวิกฤต
1)    เจ้าหน้าที่และประชาชนที่ประสบภัยไม่ได้รับการเตือนภัยล่วงหน้า และขาดความรู้เรื่องสึนามิ ไม่เข้าใจธรรมชาติของคลื่นยักษ์ ไม่รู้วิธีการหลบภัยและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดคลื่นยักษ์ขึ้น ไม่มีความรู้ในการดูแลปฐมพยาบาลตัวเอง
2)    เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือสถานบริการส่วนใหญ่ขาดความรู้และการเตรียมพร้อมในการรองรับสาธารณภัยที่เกิดขึ้น และแม้ว่าบางโรงพยาบาลมีการซักซ้อมการเตรียมรับกับสาธารณภัย
2.2 ปัญหา ความต้องการ และการเรียนรู้ขณะเกิดวิกฤตและการกู้ภัย
โรงพยาบาลส่วนใหญ่จึงประกาศใช้แผนสาธารณภัย แต่ขาดการบริหารจัดการในภาพรวม ดังนี้
1)       ขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพที่มีความชำนาญเฉพาะด้านการช่วยชีวิตและการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
2)       แผนสาธารณภัย ขาดผู้ประสานงานหลัก
3)       ขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ยา รวมทั้งเลือด และผลิตภัณฑ์ของเลือด
4)       ขาดแคลนยานพาหนะในการส่งต่อผู้ป่วย
5)       ขาดระบบการสื่อสาร
6)       ขาดล่ามในการสื่อสารกับผู้ประสบภัยชาวต่างชาติ
7)       ขาดการจัดการระบบข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ
8)       เกิดผลกระทบด้านงบประมาณค่าใช้จ่าย
2.3 ปัญหา ความต้องการ และการเรียนรู้หลังเกิดวิกฤต
       เป็นปัญหาการฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิต ดังนี้
1)       การฟื้นฟูสภาพกายจิตอย่างต่อเนื่องระยะยาว
2)       การจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
3)    การเฝ้าระวังการระบาดของโรค เนื่องจากการหมักหมมของขยะ ที่ยังไม่สามารถถูกขจัดออกไปอย่างหมดสิ้น อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในประเด็นที่ควรดำเนินการและศึกษาวิจัย

1. การศึกษาการบริหารจัดการสาธารณภัยระดับชาติ
1)    การจัดทำแผนสาธารณภัยระดับชาติ โดยให้มีส่วนร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น 
2)       การอบรมด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างทั่วถึง
3)    การจัดทำต้นแบบด้านต่าง ๆ ของงานสาธารณสุขในยามเกิดภัยพิบัติในแต่ละภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และเพื่อเป็นการเตือนสังคมให้ตระหนักถึงโอกาสเสี่ยง
4)       การทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนสาธารณภัยอย่างสม่ำเสมอ
2. การบริหารจัดการสาธารณภัยระดับท้องถิ่น (ระดับจังหวัดและอำเภอ)
1)   การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีทักษะและอำนาจในการทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านสุขภาพ ยามเกิดเหตุฉุกเฉินในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2)   การสร้างแผนและฝึกซ้อมแผนการดูแลสุขภาพยามเกิดภัยพิบัติของประชาชน โดยใช้กรณีศึกษาจากพื้นที่เผชิญภัยสึนามิ เช่น กมลา หรือเขาหลักได้
5)    การจัดให้มีระบบการการเตรียมพร้อมตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชนโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที เพื่อการช่วยชีวิต และการฟื้นฟูสุขภาพ
6)       การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน และความเข้มแข็งของกลุ่มแกนนำ ที่มีแนวคิดและทักษะการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม
3. ด้านการฟื้นฟูสุขภาพผู้ประสบภัยมีดังนี้
1) การปรับกระบวนทัศน์หรือแนวคิดใหม่ในการฟื้นฟูจิตใจของผู้ประสบภัย  
2) การช่วยเหลือด้านการปรับตัวระยะยาว โดยเฉพาะการปรับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ เนื่องจากธรณีพิบัติภัยครั้งนี้ได้ทำลายที่อยู่อาศัย ที่ทำมาหากิน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์มีการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง   
4.  ในส่วนของ Forensic science ปัจจุบันทันตแพทยสภาร่วมกับคณะทันตแพทย์ 8 สถาบัน, กระทรวงสาธารณสุข, รพ.ตำรวจ ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับโครงการวิจัยเรื่อง  “การจัดการชันสูตรศพทางนิติทันตแพทยศาสตร์จากกรณีธรณีพิบัติ (Tsunami) ภาคใต้” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ  สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายระดับชาติการจัดการทางนิติทันตแพทยศาสตร์  โดยได้งบประมาณจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) 
หมายเหตุ ทั้งนี้จะต้องประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและเรื่อง Forensic science ให้ประสานกับคณะทันตแพทย์

5. ข้อเสนอแนะด้าน  Economic

    สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
          ผลกระทบโดยรวม
The Economist Intelligence Unit ของ The Economist journal ธนาคารโลก  ได้ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจเบื้องต้น ประมาณ 80,000 ล้านบาท
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวในปี 2548 ประมาณ 5.25 - 6.25 % ลดลงจากที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ 5.5 - 6.5 %  หรือหมายความว่า เหตุการณ์สึนามิส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจลดลง 0.3% 
เมื่อพิจารณาแยกตามภาคเศรษฐกิจแล้วพบว่า ผลกระทบจากสึนามิทำให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมรายได้ประชาชาติ (GDP) ด้านการค้าและบริการ หดตัวลงประมาณ 0.17%    โดยมีอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนัก คือ
            1. โรงแรมและภัตตาคาร
            2. ขนส่งและคมนาคม
            3. ท่องเที่ยว
            4. ค้าปลีกและShopping
            นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลง ประมาณ 40,000 ล้านบาท หรือ 0.7% ต่อ GDP (ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย,  2 ก.พ. 2548) และมีการประมาณการว่า มูลค่าการผลิตของกลุ่ม SMEs ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัด จะลดลงประมาณ 31,712 ล้านบาท หรือ 54.8% จากเดิม
ผลกระทบระดับมหภาค Macro : ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
        อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
สถานประกอบการท่องเที่ยวทั้ง 6 จังหวัด สูญเสีย 15,535 ล้านบาท (ที่มา : กระทรวงมหาดไทย) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีการประเมินความสูญเสียทางธุรกิจท่องเที่ยว 73,000 ล้านบาท
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ร้านค้าและบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ไกด์ (มัคคุเทศน์) ประสบปัญหาการ ว่างงาน และขาดรายได้   แนวทางในการแก้ปัญหาคือ
               1. จัดเงินอุดหนุนเร่งด่วน กรณีช่วงว่างงาน พักชำระหนี้  สนับสนุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ
               2. จัดฝึกอบรมโดยการเพิ่มทักษะ เช่น ภาษาต่างประเทศ อาชีพเสริม
        อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ
มีการประเมินว่าอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ประสบภัย ทั้ง 6 จังหวัด เช่น ท่าเรือ อาคารสถานที่ราชการเอกชน เสียหายคิดเป็นมูลค่า 33.5 พันล้านบาท 
ผลกระทบระดับจุลภาค Micro : ภาคครัวเรือนและระดับบุคคล
       อาชีพประมง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประเมินมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินและรายได้ที่จะสูญเสียไป ประมาณ 3,070 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.1% ต่อ GDP
         อาชีพบริการ
ประชาชนที่ประกอบอาชีพลูกจ้างในสถานประกอบการจึงขาดอาชีพ และไม่มีรายได้  ปัจจุบันพบว่ามีการเลิกจ้างถึงกว่า 20,000 ราย
การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand Side) อย่างควบคู่กัน โดย การฟื้นฟูด้านอุปทาน จะต้อง ดำเนินการ
            1. ฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการให้มีสภาพที่พร้อมดำเนินการ อันจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นการขยับตัวทางเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน การไหลเวียนของเม็ดเงินสู้ระบบต่าง ๆ
            2. การฟื้นฟูอาชีพของประชาชน เช่น ชาวประมง มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือในการจัดหาเครื่องมือ และเงินทุน สำหรับการประกอบอาชีพใหม่
            3. การฟื้นฟูปัจจัยการผลิตที่เสียหาย ทั้งปัจจัยด้านแรงงาน ทุน และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบภัย
            4. การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน โดยการมีแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจน สร้างความมั่นใจในการดำรงชีวิตอยู่  และการประกอบอาชีพในอนาคต 
การฟื้นฟูด้านอุปสงค์  ควรดำเนินการ
            1. กระตุ้นการบริโภคในพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเทียวกลับมาใช้บริการในพื้นที่ประสบภัย
            2. เพิ่มอำนาจการซื้อให้แก่ประชาชน ด้วยการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ  สร้างความเชื่อมั่นในการบริโภค  ซึ่งการแก้ปัญหา
ซึ่งการดำเนินการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจหรือการแก้ปัญหานั้น ต้องอาศัยเวลา เพื่อให้มาตรการต่างๆ ตลอดจนความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้ทำงานอย่างเต็มที่  ต้องฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะผลิตเหมือนภาวะปกติ  จากนั้นจะส่งผลต่อเนื่องสู่ส่วนต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจต่อไป

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

               ความช่วยเหลือของพื้นที่ประสบภัยในระดับมหภาค คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง  มีหน่วยงานระดับชาติที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว  แต่ในการแก้ปัญหาดังกล่าวถึงแม้จะมีมาตรการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม   แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาปลีกย่อยในการจัดการ ซึ่งได้พยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การผ่อนปรนเงื่อนไขในการปล่อยกู้   การตั้งจุดประสานงานเคลื่อนที่ในพื้นที่เพื่อความสะดวกในการให้บริการความช่วยเหลือ  คาดว่าต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นตัวเช่น การบูรณะสถานที่ ปรับปรุงทัศนียภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว   โดยกิจกรรมเหล่านี้มีองค์กรของรัฐและภาคเอกชน ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะต้องเข้าช่วยดูแลในส่วนนี้แต่อย่างใด
            สำหรับการแก้ปัญหาระดับจุลภาค  พบว่าประชาชนมีความต้องการเงิน บ้านที่พักถาวร และอาชีพ    ไม่ว่าจะเป็นอาชีพประมงหรืออาชีพเดิมคือรับจ้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  ในส่วนของเงิน มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถเข้าไปจัดการในส่วนนี้ได้  ส่วนการจัดหาที่พักถาวร ก็มีกองทัพและองค์กรต่าง ๆ เร่งมือก่อสร้าง ซึ่งนอกจาจะเป็นการสร้างที่พักให้ชาวบ้านแล้วยังเป็นการช่วยสร้างงานในพื้นที่อีกส่วนหนึ่งด้วย  
            ข้อแนะนำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อาจจะเข้าไปมีบทบาทคือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสำหรับระดับจุลภาค คือ การฟื้นฟูอาชีพเดิมให้แก่ชาวบ้าน  หรือการเข้าไปส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมให้กับกลุ่มชาวบ้าน ตามความถนัดของชาวบ้าน  และเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยเร็ว เพื่อการจ้างงานและกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่
หมายเหตุ ทั้งนี้จะต้องประสานงานกับคณะอำนวยการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและชุมชนพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย  และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ข้อเสนอแนะด้าน  Education

สถานการณ์ความเสียหาย

1.       อาคาร
- อาคารเรียนเสียหาย                 100%               5 โรง
- อาคารเรียนเสียหาย                   80%              7 โรง
- อาคารเรียนเสียหาย                 เล็กน้อย         14 โรง
2.       บุคลากร
- ครู เสียชีวิต                   6 ราย     สูญหาย   1 ราย            บาดเจ็บ     7 ราย
- นักเรียน เสียชีวิต       186 ราย       สูญหาย 91 ราย            บาดเจ็บ 117 ราย
3.    ด้านสุขภาพจิต ทั้งชุมชน คุณครูและนักเรียน อาจจะพบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาช้ากว่าที่อื่น และเยาวชนอาจเสียเปรียบและเสียโอกาสด้วยการศึกษามากขึ้น

แนวทางแก้ปัญหา
1.       โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี
1.1    คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้ผลกระทบ
1.2    คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิประโยชน์ตอบแทนข้าราชการ
1.3    คณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ
2.       ให้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
2.1    นักเรียนที่ผู้ปกครองประสบภาวะเดือดร้อน ~ 10,000 คน ให้ความช่วยเหลือรายละ 15,000.-  บาท
2.2    เด็กกำพร้าให้ความช่วยเหลือรายละ 25,000.- บาท
2.3    ได้รับเงินช่วยเหลือการก่อสร้างจากรัฐบาลกลาง
3.       ความช่วยเหลือจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
3.1    ให้ค่าเลี้ยงดูเด็ก ทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน/นักศึกษา
3.2    สงเคราะห์ครอบครัวเด็กโดยการฝึกอาชีพ สนับสนุนอาชีพและการรวมกลุ่มอาชีพของผู้ปกครอง
3.3    จัดหาครอบครัวทดแทนให้เด็กกำพร้า
3.4    รับอุปการะเด็กและประสานงานส่งต่อหน่วยงานอื่น
3.5    จัดหาที่เรียน
3.6    ตั้งงบประมาณก่อสร้าง + อุปกรณ์ โรงเรียน 24 แห่ง
3.7    มอ.รับนักศึกษาเข้าเรียน กรณีพิเศษ

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.       ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ประสบภัยที่ได้เข้ามาเรียนใน มอ.
2.       ทำการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจริงแบบมีส่วนร่วมในการเลือกปัญหาและวิธีการที่เหมาะสมที่สุด
3.       ทำการวิจัยทางการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านจิตสังคม พัฒนาการทางอารมณ์ สติปัญญา บุคลิกภาพ ปัญหาสุขภาพจิตและการปรับตัว ผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของครูและนักเรียน

7. ข้อเสนอแนะด้าน  เด็กปฐมวัย

สถานการณ์ความเสียหาย
1.       อาคาร
-    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยกองทัพเรือพังงา อ.ทับละมุ
-    ศูนย์เด็กเล็กบ้านน้ำเค็ม
-    ศูนย์เด็กเล็กหาดประพาส จ.ระนอง
-    ศูนย์เด็กเล็กบ้านทะเลนอก
-    ศูนย์เด็กเล็กบ้านหาดทรายฟ้า
2.       บุคลากร
-    เด็กเล็กเสียชีวิต ไม่มีสถิติที่ชัดเจน
-    เด็กกำพร้า    ไม่มีสถิติที่ชัดเจน
-    ครูพี่เลี้ยง      ไม่มีสถิติที่ชัดเจน
3.       ด้านสุขภาพจิต
- จากการสังเกตไม่พบปัญหารุนแรงและชัดเจนมากนัก

แนวทางแก้ไข ดำเนินการโดยหลายหน่วยงานคือ
1.       กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก / ศูนย์บริการแม่และเด็ก จ.พังงา 4 แห่ง
2.       มูลนิธิดวงประทีป จัดกิจกรรมศิลปสำหรับเด็กที่บ้านบางม่วง
3.       มูลนิธิศุภมิตร สร้างอาคารเรียนใหม่ 2 ชั้น ให้ศูนย์เด็กปฐมวัยฐานทัพเรือพังงา
4.    เอกชนจากญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน สร้างอาคารและซ่อมแซมที่จังหวัดพังงา 1 แห่ง คือ ที่บ้านปากเตรียม และ จ.ระนอง ที่หาดประพาส

ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย
พัฒนามาตรฐานการศึกษาปฐมวัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
ก่อ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4405เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2005 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท