ประสบการณ์จากการส่งผลงานเข้าร่วมประชุมวิชาการ การตัดสินใจแก้ไขปัญหา และการเรียนรู้ในรอบ 24 ชั่วโมง


การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน เพื่อให้ผ่านการกลั่นกรอง และเป็นที่ยอมรับของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆ ซึ่งการส่งผลงานเข้าร่วมประชุมวิชาการ ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่ฝ่ายจัดการประชุมได้กำหนดไว้

แต่นายบอนและพรรคพวก ได้บทเรียนและการเรียนรู้ทักษะต่างๆมากกว่านั้น

1. ตั้งใจว่า จะส่งผลงานวิจัย เพื่อนำเสนอในงาน นำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (Grand-Research) ครั้งที่ 6 วันที่ 13-14 ต.ค. 2549 ณ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เข้าเวบไซต์เปิดดูรายละเอียดทุกอย่าง จัดเตรียมบทความพร้อมบทคัดย่อ เพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์ผลงานวิจัยในหนังสือรวมผลงานวิชาการหลังการประชุม

2. นำงานวิจัยของตัวเองและของพรรคพวกมาจัดรูปแบบ จัดทำผลงานวิจัย 3 ชุด (ไม่ใส่ชื่อ 2 ชุด ใส่ชื่อ 1 ชุด) ในรูปแบบ pdf และ Ms-Word ก็ดำเนินการตามรูปแบบ และไปดาวน์โหลดโปรแกรม FreePrimoPDF มาแปลงไฟล์ word เป็น PDF

3. เข้าไปดูรายะเอียดอีกครั้งว่าการส่งผลงานต้องดำเนินการอย่างไร 9 ส.ค. 2549 หลังจากดูรายละเอียดทุกอย่าง จะต้องมีแบบฟอร์มส่งบทความ / บทคัดย่อ แนบไปพร้อมกับ ไฟล์งานวิจัยด้วยแต่ต้องพลาด เพราะการไม่ได้ดูรายละเอียดอย่างชัดเจน เนื่องจากแบบฟอร์ม จะต้องให้อาจารย์ทึ่ปรึกษาเซ็ฯชื่อรับทราบ

4. อาจารย์ที่ปรึกษาไม่อยู่ในช่วงนี้ ไปต่างประเทศ ทำให้พลาดในการส่งผลงานวิจัย ที่หมดเขตรับผลงานในวันที่ 11 ส.ค. 2549

5. ด้วยความที่ต้องการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการ เปิดเวบไซต์พบเวบ http://www.stt32.scisoc.or.th/index.php การประชุมวิชาการ วทท. ครั้งที่ 32 แต่หมดเขตรับผลงาน 10 ส.ค. 2549 คือวันนี้ 6. เปิดโอกาสให้ส่งผลงานในรูปแบบบทคัดย่อ ไทยและอังกฤษได้ ความยาวไม่เกิน 150 คำ

7. เมื่ออยากส่งผลงาน จึงมุ่งมั่น นำบทคัดย่อของตนเอง และพรรคพวกอีก 6 หัวข้อ มาปรับให้มีความยาวในช่วง 150 คำ จากปกติ มีความยาวกันเกิน 500 คำทั้งนั้น ทั้งย่อ ทั้งอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกกว่า 20 รอบต่อเรื่องเป็นอย่างต่ำ จนปรับความยาวของบทคัดย่อให้เหลือเพียง 150 คำได้ทั้ง 7 เรื่อง

8. เปิดไฟล์พร้อมกันหลายไฟล์ ทำการจัดรูปแบบตามที่ วทท. กำหนด และจัดเตรียมข้อมูลส่วนบุคคลของทั้ง 7 คนไว้ แล้วคลิกเข้าเวบไซต์ลงทะเบียนและส่งบทความเข้าร่วมการประชุมทันที

9. Copy และ Paste ข้อความลงในช่อง โดยใช้ปุ่มลัดบนคีย์บอร์ด เพื่อความรวดเร็วในเวลาที่จำกัด กด Ctrl + C จาก word แล้ว คลิกเมาส์ไปที่ IE คลิกที่ช่องในแบบฟอร์ม คำนวณคร่าวๆ คนหนึ่งกดปุ่มคีย์บอร์ด + ขยับเมาส์เกือบ 1000 ครั้ง / 1 เรื่อง ทั้งเปิดโฟลเดอร์ copy + paste ข้อความ คลิกเลือกที่ช่อง ทำจนเมื่อยมือ ขยับมือเกือบ 7000 ครั้งในเวลา 1 ชั่วโมง

10. จด รายละเอียดของ Login และ password เอาไว้ และแล้วข้อมูลการลงทะเบียนก็เสร็จสิ้น สามารถตรวจเช็คกระบวนการพิจารณาขั้นตอนต่างๆได้ตลอดเวลา และมีโอกาสได้เรียนรู้เทคนิคการบริหารจัดการข้อมูลในการเข้าร่วมประชุมวิชาการทางเวบไซต์ในครั้งนี้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 44041เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พอดีเห็นนายบอนและเพื่อน ๆ กำลังจะไปนำเสนองานวิจัย เลยนำข้อคิดและเกร็ดฝากจากท่านครูบาสุทธินันท์ มาให้ครับ เผื่อนายบอนจะนำไปใช้ประโยชน์ในการนำเสนอได้ครับ
  • งานวิจัยนั้น ๆ จะต้อง....

    1.    มีเสน่ห์

    2.    เกี่ยวข้องกับชุมชน

    3.   มีความสำคัญตรงไหน

    4.    เข้าถึงชาวบ้านบ้างไหม

    5.    โดนใจไหม

    6.    ใช้ประโยชน์ได้ไหม

    7.    ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับผู้ใช้หรือไม่

    8.    นำเสนอน่าสนใจแค่ไหน

    9.    ขายความคิดความรู้ออกไหม

    10.     ออกแบบให้เข้าถึงได้หรือเปล่า

  • ถ้าได้ผลอย่างไรอย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

ขอบพระคุณสำหรับเกร็ดทั้ง 10 ข้อมากครับ แต่สำหรับงานวิจัยที่ส่งไปร่วมประชุมนั้น เป็นงานทางด้านสาธารณสุขเน้นไปทางการวางแผนเชิงนโยบาย สำหรับผู้บริหารในการนำปรับปรุงงานต่อไปครับ แต่ในการนำเสนอก็คงจะต้องออกแบบให้เรื่องที่เข้าใจยาก ให้ง่าย ย่อยง่ายกว่าเดิมแน่นอนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท