เย็นไว้โยม


เย็นไว้โยม
จากการอบรมวิทยากรแกนนำต้านยาเสพติด  โครงการ ๑ สพท. ๑ ศูนย์พัฒนาคุณธรรม  รุ่นที่ ๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ    ศูนย์พัฒนาคุณธรรม มหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นควันหลงเคล็ดวิชา  ที่คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจความเป็นมา  เพื่อผลิตวิทยากรให้มีรูปแบบในการจัดการอบรม นร. ต่อต้าน/ป้องกัน/แก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในสถานศึกษา  โดยพระอาจารย์วีระพันธ์  เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมผลสำเร็จ       ผู้เข้ารับการอบรมได้รูปแบบ/แนวทาง/วิธีการฝึกอบรม  นร.ที่เข้มข้น       ค้นพบผู้เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดได้ด้วยการเปิดเผยตัวของเขาเองวิธีการ          เนื้อหาสาระ/หลักสูตร การอบรม  ครอบคลุม  ให้ผู้เข้ารับการอบรม(นร.)     สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข  ประกอบด้วย          ๑.   กิจกรรมสร้างนิสัย  ความมีระเบียบวินัย  พฤติกรรมความเป็นอยู่ส่วนตัว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการสร้างสังคมที่ดี          ๒.   สร้างจิตสำนึกระลึกถึงพระคุณบิดา มารดา          ๓.   สร้างจิตสำนึกความรักบ้านเมือง   พระมหากษัตริย์          ๔.   สร้างจิตสำนึกความรักสถาบัน  รักครอบครัว  รักตัวเอง          ๕.   ความรู้ทั่วไป   ทักษะชีวิต  ความรู้นอกตำราที่เป็นสากล ทันเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคนิค สื่อ อุปกรณ์  นอกจากใช้การนันทนาการในแต่ละช่วงกิจกรรมแล้ว  ต้องมีอุปกรณ์จูงใจ ทันสมัยทันเหตุการณ์  ให้ผู้เข้าอบรมสนใจ อาทิ  ๑.  เพลง ( เพลงเพื่อชีวิต  เช่น  ผู้ชนะ  ศรัทธา  กำลังใจ และเพลงปลุกใจให้รักชาติอื่น ๆ )  เลือกใช้ตามความเหมาะสม๒.  การสวดมนต์ไหว้พระ  และนำศาสนาเป็นจุดดึงดูดในกิจกรรม   ต่อไปนี้       ๒.๑  กิจกรรมเปิดใจ  ตระหนักถึงบาป-บุญ คุณ-โทษ        ๒.๒ กิจกรรมปฏิญานตน สร้างความดี หลีกหนีสิ่งเสพติด/เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดข้อควรคำนึง  เป็นที่มาของ    เย็นไว้โยม    เพราะวิทยากรต้องคำนึงไว้เสมอว่า กระบวนการ ขั้นตอนฝึกอบรมที่จะให้ได้ผล            ๑.   ต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจน ทีมต้องรับรู้ร่วมกัน          ๒.  วิธีการต้องเป็นความลับ  ผู้เข้าอบรม(นร.และครูพี่เลี้ยง) ไม่รู้ล่วงหน้า          ๓.   สังเกต พฤติกรรม ความเป็นอยู่ ทั้ง กิน-นอน-เคลื่อนไหว กิจกรรมส่วนตัว รวมทั้งความสัมพันธ์ของนร.และครูพี่เลี้ยงตลอดเวลา  ปิดประกาศ เปิดเผย ให้ผู้เข้ารับการอบรมยอมรับในข้อบกพร่องนั้น เพื่อการแก้ไขต่อไป          ๔.   ต้องสร้างแรงกดดัน ต้องให้พบกับความยากลำบาก  ทรมานใจ  เพื่อผลของความเห็นอกเห็นใจ ความสามัคคี ร่วมมือ  ร่วมใจ  รักใคร่ปรองดอง ห่วงใย และเอื้ออาทรต่อกัน  ลดธรรมชาติความเห็นแก่ตัวลง     มาเป็นเริ่มเห็นแก่ส่วนรวม สถาบัน ครอบครัว และบ้านเมือง          ๕.   ระหว่างดำเนินกิจกรรม  อย่าใจอ่อน  ใจร้อน  สงสารเด็ก  ยอมอ่อนข้อ ยืดหยุ่นง่าย ๆ  ต้องอดใจ อดกลั้น ให้ถึงที่สุด และทีมวิทยากรต้องไม่ขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะต่อหน้าเด็ก ไม่ต้องสร้างภาพคนใจดี มิฉะนั้นจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ต้องการ.
คำสำคัญ (Tags): #สพท.กทม.2
หมายเลขบันทึก: 44023เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท