วัฒนธรรมศึกษา : วาทะกรรมทางภาษา


การมีจุดยืนเป็นของตนเองและสามารถบอกผู้อื่นได้ถือเป็นสิ่งดี

           วันวาน...เวลา 08.30 น.กว่า ๆ นักปราชญ์ทางวัฒนธรรม  และนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ของไทยเดินเข้ามาที่ห้องบรรยาย...สวัสดีครับท่านอาจารย์...ผมยกมือไหว้...ศ.สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์  และ ศ.ดร.นิธิ  เอียวศรีวงศ์  ...ท่าน อ.นิธิ  ต้องการส่ง  Email  ผมจึงนำท่านมาที่ห้องทำงานผม  จากห้องที่จะบรรยายในเวลา 09.00 น.ต้องขึ้นภูเขาเหมือนขึ้นบันใดตึก  4  ชั้น

          ผมถามท่าน อ. ว่า...อายุเท่าไหร่แล้ว...66...ย่างเข้า...67  ปีนี้  ท่านตอบ...ที่ผมถามเพราะการนำขึ้นหลังเขานั้นต้องใช้กำลัง...และผมจะได้ตัดสินใจว่า...จะนำท่าน อ. เดินเร็วหรือเดินให้ช้า ๆ ดีครับ  ฮา ๆ เอิก ๆ 

          ต้องขอชื่นชมท่าน อ. นิธิ  ที่มีความว่องไวในหลายเรื่อง...ท่านใช้  คอม ฯ  ได้เก่งมาก...ผมคนหนุ่มยังตามหลังท่านแบบไกลลิบ ๆ ๆ

          ท่าน อ. นิธิ  เริ่มต้นบรรยายถึง...วาทะกรรม...คือ  คำพูดที่เป็นฐานคิดอย่างหนึ่งว่า...สิ่งนั้นมันเชื่อมโยงอะไร ให้สัมพันธ์กับอะไร   วัฒนธรรมไทย  ให้ความสำคัญผู้อาวุโส  ในความสำคัญนั้น  มันมีเรื่องของอำนาจแฝงอยู่ด้วย...ทำไม...เรายอมเชื่อหมอกับช่างตัดผมให้ทำอะไรหรือมีอำนาจเหนือร่างกายเราได้...รัฐ...ใช้เรื่องสุขภาพ...เหนืออำนาจคน  เช่น  กักขังคุณไว้ในโรงพยาบาล  เพื่อดูอาการไข้หวัดนก...ใช้โรงพยาบาลแทนคุก...ครอบงำคุณ...ทุกคนพอมีการถูกครอบงำ...มันจะมีการต่อสู้...เช่น...หมอบอกว่าอย่างนี้...แต่มีชีวะจิตบอกว่าอย่างนั้น...

            การที่เราสามารถที่จะบอกได้ว่า...ฉันก็เป็นคนนะโว้ย...ภาษาทางวิชาการเรียกว่า...อัตลักษณ์

แต่ถ้าผู้อื่นนิยามให้เราว่า...เราเป็นคน...ภาษาทางวิชาการเรียกว่า...เอกลักษณ์...

           วาทะกรรมทางวัฒนธรรมศึกษา...มีอะไรซ่อนอยู่เบี้องหลัง...ใครครอบงำใคร...จุดเริ่มศึกษาวัฒนธรรมมา

จากประเทศอังกฤษ  ที่ต้องการศึกษาประเทศนั้น ๆ ๆ เพื่อเข้าไปครอบงำและปกครอง...ผมฟัง...อย่างตั้งใจ...

ท่าน อ.  มีชั่วโมงบินสูงมาก ๆ ...ครับขอชื่นชม...

             ผมมองว่าอาจจะผิดก็ได้คือ...การครอบงำ...แช่แข็ง...ไม่ให้เติบโตอย่างอิสระเสรีตามที่ควรจะเป็น...เป็นแนวคิดที่ล้า

หลังมาก ๆ...คนทางเหนือควรพูดภาษาอู้เก้าเมือง...คนทางอีสานควรเว้าภาษาลาว...คนใต้เชื้อสายมลายูควรพูดภาษายาวี...ได้อย่างยืดอก...เท่า ๆกับการพูดภาษาไทย  ผมไม่อยากเห็นอักษรตัวธรรม...อักษรขอมในใบลาน

อักษรล้านนา...หรืออื่น...ที่บรรจุภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องหายไปครับ...ภาษาอยู่ได้เพราะมีการสร้างสรรค์ทางภาษา

ไม่ใช่อยู่ได้แค่รักษาตัวอักษรอย่างเดียว...ผมอยากเห็นมีการเขียนกลอนเป็นภาษาตัวขอมบ้าง...คงสนุกดีนะครับ

หรือคุณมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้...

                                                                     ด้วยความปรารถนาดี

                                                                                 จาก...umi  
หมายเลขบันทึก: 44016เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วัฒนธรรมทางภาษา เป็นเครื่องมือ เป็นวัฒนธรรมแสดงความเป็นไทย ซึ่งรวมหลายเผ่าพันธ์ ก็ปรารถนาที่จะให้ดำรงความเป็นไทยอย่างนี้ แต่ปัญหาชนกลุ่มน้อย ปัญหายาเสพติด ปัญหาชายแดนภาคใต้ “ผู้ชนะมองเห็นทางออกในทุกปัญหา ผู้แพ้มองเห็นปัญหาในทุกทางออก” “ความยากลำบกเป็นบันไดแห่งความสำเร็จ ยิ่งยากลำบากเพียงใดยิ่งใกล้ความสำเร็จเพียงนั้น”“คุณเห็นเส้นทางสู่ความสำเร็จ จงเชื่อสายตา แล้วก้าวไปข้างหน้าอย่าลังเล”

สวัสดีค่ะอ.ยูมิ

ติดตามงานเขียนของท่านอ.นิธิในหนังสือต่าง ๆ บ้างค่ะ ท่านเขียนได้อ่านง่ายและมีลูกเล่นของภาษาที่ชวนติดตาม

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับ คุณลุงแดง

อ่านแล้วถือว่า...

เป็นอีกหนึ่งจุดประกายฝันได้ดีจังนะนี่

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

วาว ๆ ตามมาอ่านซะไกลเลยหนานี่

ชื่นชม ๆ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท