บทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค


พัฒนาความเจริญสู่ภูมิภาค

                  ปัจจุบันบทบาทของนโยบายการคลังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต ดังนั้นสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจึงมีภารกิจสำคัญที่ต้องพัฒนาและดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องของนโยบายการคลังท้องถิ่นสู่ภูมิภาคเพื่อดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและพัฒนาความเจริญไปสู่ภูมิภาคโดยมีการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการอื่นเพื่อร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการเติบโตตามวัตถุประสงค์และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้มีการติดตามข้อมูลด้านการคลังเพื่อใช้ในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจการคลังอย่างใกล้ชิดแต่เห็นว่ายังไม่ครบวงจร จึงมีการศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลัง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเหมาะสม

                  ระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลังยังช่วยให้ทราบถึงสถานภาพทางด้านการคลังของรัฐบาลว่า ขณะนี้มีความแข็งแกร่งหรือมีแนวโน้มของความอ่นแอทางด้านการคลังหรือไม่ อย่างไร และมีความน่าจะเป็นในการเกิดวิกฤตการณ์ด้านการคลังมากน้อยเพียงใด การจัดทำระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลังจะช่วยลดแรงกระทบที่เกิดจากความอ่อนแอทางด้านการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะสั้น และสร้างความยั่งยืนด้านการคลังในระยะยาว

                  วัตถุประสงค์ของการสร้างสัญญาณเตือนภัยทางการคลังคือ สามารถนำไปใช้ในการบริหารนโยบายการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดเกณฑ์ในการวัดระดับความแข็งแกร่งด้านการคลังซึ่งชี้วัดด้วยค่าของดัชนี เตือนภัยด้านการคลัง ระดับความดังของการส่งสัญญาณของตัวชี้วัด และความน่าจะเป็นในการเกิดวิกฤต รวมทั้งเสนอแนะการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์

                  ผู้เขียนเห็นว่าการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจัดทำระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลังเป็นผลดีต่อส่วนภูมิภาค เพื่อภาครัฐจะได้ใช้ระบบนี้เป็นเครื่องมือในการติดตามสถานการณ์ด้านการคลังอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านการคลังและกำหนดนโยบายหรือมาตรการในการแก้ไขก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการคลังได้อย่างเหมาะสมและตรงกับปัญหา เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางด้านการคลัง และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระดับมหภาคที่สำคัญคือ การรักษาเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและมีความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งรักษาสมดุลของเศรษฐกิจมหภาคทั้งในและต่างประเทศด้วย

โปรดติดตามอ่านต่อที่

www.fpo.go.th

www.mof.go.th

หมายเลขบันทึก: 43971เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สมกับอยู่กระทรวงการคลังจริงๆนะคะ

อยากจะถามว่า สำนักงานเศษฐกิจการคลังมีบทบาทอย่างไรในการกำหนดโนบายเศษฐกิจ ใครรุ้ชวยตอบทีนะคับ ตอบมาทาง e-mail ขอบคุณมากคับ

  • ติดตามดูบทบาทของ fpo ได้ที่
  • www.fpo.go.th

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท