กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับการค้าระหว่างประเทศ


Dispute settlement
     
wto

                   Dispute settlement หรือกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นกลไกหนึ่งในการระงับข้อพิพาทที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจบนความต่างกันของสัญชาติและหลายคู่สัญญา ด้วยเหตุที่การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน มีรูปแบบที่มีความวับซ้อนมากขึ้น เป็นโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนสูงและปกระกอบไปด้วยการร่วมทุนหลายชาติ เช่น สมมติว่าตั้งโครงการสร้างเขื่อนในประเทศลาว แต่เงินทุนได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น แต่ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัทของไทย เช่นนี้จะเห็นได้ว่า ประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสามชาติ ซึ่งหากเกิดข้อขัดแย้งขึ้นจะระงับข้อพิพาทได้เช่นไรเป็นปัญหาที่ต้องมีการเตรียมการไว้ก่อน เพื่อลดข้อได้เปรียบเสียเปรียบได้เปรียบซึ่งกันและกันและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

                          กรณีศึกษา เช่น ข้อพิพาทการค้าว่าด้วยการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลระหว่างประเทศออสเตรเลีย บราซิล และไทย กับสหภาพยุโรป แม้ว่าสหภาพยุโรปเป็น ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายขาวรายใหญ่ในตลาดโลก แต่หากพิจารณาต้นทุนการผลิต ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนา เช่น บราซิล โคลัมเบีย มาลาวี กัวเตมาลา และแซมเบีย มีอัตราที่ต่ำกว่ามาก การแทรกแซงอุตสาหกรรมน้ำตาลภายในสหภาพยุโรปนี้ สร้างผลเสียให้แก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคภายในสหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลในตลาดโลก แม้ว่ากติกาการค้าระหว่างประเทศขององค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดให้ประเทศภาคีลดการใช้มาตรการการกีดกันทางการค้าและการอุดหนุนสินค้าเกษตร แต่ในทางปฏิบัติสหภาพยุโรปยังคงให้การอุดหนุนผู้ผลิตภายในประเทศ และอุดหนุนการส่งออกในระดับสูงเช่นเดิม น้ำตาลจากสหภาพยุโรปที่ทะลักเข้ามาในตลาดโลกนี้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลอย่างมาก ดังนั้น ประเทศออสเตรเลีย บราซิล และไทย ในฐานะประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลที่ได้รับผลเสียหายจากการนี้ จึงร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องสหภาพยุโรปต่อองค์การการค้าโลก เพื่อให้สหภาพยุโรปลดการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล กระบวนการระงับข้อพิพาทนี้ (Dispute Settlement) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2546 โดยทั้ง 3 ประเทศร่วมกันยื่นหนังสือขอปรึกษาหารือกับสหภาพยุโรปในกรอบขององค์การการค้าโลก และเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คณะผู้พิจารณาข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกประกาศผลการวินิจฉัย ตัดสินให้สหภาพยุโรปยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล สำหรับสถานการณ์ล่าสุด คือ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2548 สหภาพยุโรปยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยนี้ จึงทำให้องค์กรอุทธรณ์ต้องพิจารณาคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาข้อพิพาทอีกครั้ง และคาดว่า กระบวนการนี้จะเสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548                         

                        นั่นคือกระบวนการหนึ่งที่ “Dispute Settlement” เข้ามามีบทบาทกับกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งย่อมเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อเข้ากระบวนการนี้แล้วย่อมต้องเกิดการชี้ขาดว่า ใครถูก ใครผิด เกิดขึ้น จึงมีข้อเสนอแนะต่อไปว่า ถ้ามีกลไกที่สามารถชะลอหรทอยับยั้ง หรือไกล่เกลี่ยกันก่อนเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทได้ในเบื้องต้นย่อมเป็นการดี 

                        องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวและเห็นควรต้องมีระบบการดูแลและตรวจสอบที่เคร่งครัดเนื่องจากวัตถุประสงค์ขององค์การเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ในทางระหว่างประเทศอันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและก่อเกิดข้อพิพาทได้โดยง่าย

                          ทั้งนี้ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ในธรรมนูญก่อตั้งขององค์การในส่วน Annex 3 (i) ของข้อตกลงมาราเกส คือ กลไกการควบคุมและตรวจสอบนี้หรือที่เรียกว่า TPRM (Trade Policy Review Mechanisms) ซึ่งได้บัญญัติความมุ่งหมายของมาตรการดังกล่าวโดยก่อให้เกิดการยกระดับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขององค์การและลดข้อขัดแย้งในการเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท กล่าวคือ เป็นกลไกแรกก่อนที่จะนำข้อพิพาทเข้าสู่กลไกการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement) กลไกการควบคุมและตรวจสอบนี้ ก่อให้เกิดผลที่สำคัญในทางประกันความถูกต้องและสอดคล้องในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐสมาชิก นอกจากนั้นเมื่อได้ตรวจสอบโดยใช้กลไกดังกล่าวแล้วย่อมเกิดข้อแนะนำอันนำไปสู่การแก้ไขซึ่งเป็นข้อเสนอแนะจากองค์กรที่มีอำนาจโดยตรง ทำให้รัฐสมาชิกนั้นเกิดความชอบธรรมในการที่จะนำไปเป็นแนวปฏิบัติ ทั้งนี้...เพื่อการประนีประนอมและป้องกันไว้ ย่อมดีกว่าคอยแก้ไข !

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/dispu_e.htm

หมายเลขบันทึก: 43957เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
องค์กรระงับข้อพิพาท ต้องมีลักษณะ หรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ได้รับคำถาม...จริงๆก็นานแล้วน่ะจ้ะ แล้วจาหาคำตอบให้น้า ขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบเลย..
ขอบคุณค่ะพี่ลิที่ให้ความรู้กำลังสนใจอยู่พอดี

องค์กรระงับข้อพิพาท ต้องมีลักษณะ หรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง

>>>>>>>>

ขอร่วมแสดงความเห็นนะครับ

นอตว่าองค์กรประเภทดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญและเป็นกลางในปัญหานั้นๆ  กล่าวคือต้องมีความรู้ความสามารถ  อาจจะเป็นผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญหรือนักวิชาการที่มีความรู้เฉพาะทางก็ได้

ส่วนการสรรหานั้นก็ปรากฏว่ามีหลากหลายรูปแบบ  คู่สัญญาอาจจะเลือกเอาคนชาติของตนเข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการระงับข้อพิพาทก็ได้  หรืออย่างในปัจจุบันที่มีองค์การระหว่างประเทศ ICSID เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทที่มาจากการลงทุน  คณะกรรมการระงับข้อพิพาทนี้เปรียบเสมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีองค์คณะเตรียมเอาไว้ให้แล้วในแต่ละกรณีโดยแบ่งแยกไปตามความเชี่ยวชาญขององค์คณะ  เมื่อคู่กรณีนำความมาสู่องค์กร  ก็ไม่จำเป็นต้องไปสรรหาคณะกรรมการอื่นใดอีก  เป็นต้น

ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดนั่นคือ "ผลบังคับของคำชี้ขาด"  ทำอย่างไรให้คำชี้ขาดสามารถนำไปใช้ได้จริง  ไม่รู้สึกว่าเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัว  แต่ถึงกระนั้นโดยธรรมชาติของพ่อค้าวาณิชย์ก็ไม่ต้องการให้ผลคำบังคับมีค่าเคร่งครัดอย่างคำพิพากษาของศาล  เพราะสัมพันธภาพทางการค้าอาจถูกทำลายลงและไม่สามารถก่อร่างขึ้นมาใหม่ได้โดยง่าย  ซึ่งการทำลายลงก็ไม่เห็นจะเกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายเช่นกัน 

นอต

ปล.เชิญพี่ลิลุยต่อครับ

  • ขอบคุณทุกความเห็นค่ะ
  • ลุยต่อแล้วค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท