เมี่ยงกับวัฒนธรรมล้านนา


วัฒนธรรมการกินเมี่ยงของชาวล้านนายังปรากฏอยู่ในงานบุญต่างๆ ของหมู่บ้านทางภาคเหนือของไทย ตราบจนทุกวันนี้

           เมี่ยง เป็นอาหารว่างของชาวล้านนาในอดีต   ทุกบ้านจะมีเมี่ยงไว้เป็นของกิน และใช้ต้อนรับแขกหรือญาติที่มาเยี่ยมเยือน โดยมีห่อเมี่ยงคู่กับขันหมากและโป้ยาขื่น(กระป๋องยาสูบ)  โดยแขกจะแกะห่อเมี่ยงแล้วกินเมี่ยงที่เจ้าของบ้านต้อนรับแล้วจึงพูดคุยปรึกษาเรื่องราวต่างๆ

           ชาวล้านนาจะกินเมี่ยง คู่กับสูบปูรี(บุหรี่)หลังอาหาร บางคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็กินเมี่ยงอย่างเดียว  วิธีกินเมี่ยงคือแกะห่อเมี่ยงออก  นำใบเมี่ยงมาแผ่ใส่เกลือเม็ดและขิง ม้วนเป็นคำแล้วใช้อม ที่เรียกกันว่าอมเมี้ยง แล้วจึงออกไปทำงานในสวนหรือไร่นา

         ปัจจุบันเมี่ยงยังมีความสำคัญในการจัดงานบุญหรือพิธีกรรมทางพุทธศาสนาทุกอย่างในภาคเหนือ เช่นงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานฉลององค์ผ้าป่าและ กฐิน  หรืองานศพ ชาวบ้านที่ไปช่วยงานนอกจากช่วยเตรียมสถานที่  เตรียมดอกไม้ในพิธีสงฆ์ เตรียมอาหาร ฯลฯแล้ว ที่ขาดไม่ได้คือช่วยกันแป๋งเมี่ยง(ทำเมี่ยง) สำหรับต้อนรับแขกที่มาร่วมงาน ...

โดยมีขั้นตอนคือ

            

                   ซื้อเมี่ยงเป็นกำจากตลาด

        

       เตรียมเมี่ยงพร้อมทั้งน้ำเมี่ยงและขิงดอง

                        ก่อนปรุงรส

            

     แกะเมี่ยงออกและปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาล เกลือป่น

                                 แบ่งใส่ถาดเพื่อห่อ

           

      เมี่ยงที่ห่อแล้ว พร้อมสำหรับจัดใส่จาน

            วางบนโต๊ะ เพื่อต้อนรับแขก

                    

                จานเมี่ยงที่ใช้ต้อนรับแขก

             ที่งานบุญทุกงานจะขาดไม่ได้

       จะเห็นว่าวัฒนธรรมการกินเมี่ยงของชาวล้านนายังคงมีปรากฏอยู่งานบุญต่างๆของหมู่บ้านทางภาคเหนือของไทย ตราบจนทุกวันนี้  แม้ว่าเยาวชนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักคุ้นเคยกับคำว่า"เมี่ยง" และการกินเมี่ยง   แต่กลับไปรู้จักในรูปแบบของ"ชา" และให้คุณค่าของ"ชา"สูงกว่าเมี่ยงก็ตาม

      เมี่ยง หรือ ชา 

 ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Clamellia sinensis   (o.Kuntz วงค์ Theaceae)

ในใบเมี่ยงหรือชา มีคาเฟอีน 3-4%  แทนนิน 7-15% และมีน้ำมันหอมระเหย

ลักษณะลำต้น   เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ (หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก)  ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกส้ม

ถิ่นที่ปลูก     ปลูกตามป่าดิบเชิงเขาทางภาคเหนือ เช่นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และน่าน 

                             

ผลิตภัณฑ์จากเมี่ยงอีกอย่างหนึ่ง  เป็นอาหารในขันโตกที่คนเมืองหากินได้ยากที่นิยมกินคู่กับแคบหมู คือ "น้ำเมี่ยง" ใส่ขิงและตะไคร้ซอย...เคยชิมหรือยังคะ

                                      

                          http://2.bp.blogspot.com/_TIi5ZU4aMFY/S95lPSUkdkI/AAAAAAAAABE/-g_o4gICgOo/s1600/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87.jpg

              ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต 

             ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://forums.212cafe.com/konmuang/board-3/topic-6.html

หมายเลขบันทึก: 439406เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

สวัสดีค่ะ

รู้จักค่ะ  แต่ยังไม่เคยทานค่ะ

เพราะเคยอยู่เชียงใหม่มาระยะหนึ่งเจ้า

วันนี้เห็นข้าวกั้นจิ้น และแกงกระด้าง  อยากทานจังค่ะ  หาสูตรมาแนะนำบ้างได้ไหมคะ  ขอขอบคุณค่ะ

อยากกินเมี่ยงอีกแล้ว แถวบ้าน หายาก เสียด้วย ;-)

สวัสดีค่ะ พี่ครูคิมIco48

  • ขอบคุณค่ะ  ที่เข้ามามอบดอกไม้ให้กำลังใจเป็นคนแรก
  • ของกิ๋นลำของคนเมืองทั้งนั้น ข้าวกั้นจิ้น แกงกระด้าง น้ำเมี้ยง ล้วนลำขนาดเน้อเจ้า
  • ตกลงค่ะ...ครูดาหลาจะหาสูตรเจ้าอร่อยมาฝากนะคะ

                         

                                 ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต

 สวัสดีค่ะ คุณ Sr.Ico48

  •   อยากกินเมี้ยงอีกแล้ว  แถวบ้าน หายาก เสียด้วย ;-)
  •   อยู่ในเมืองไทยไหมคะ 
  •   ถ้าอยู่ในเมืองไทยจะส่งไปให้ค่ะ
  •  

สวัสดีค่ะ KRUDALA

*** เคยอยู่เชียงใหม่หลายปี

*** งานศพเกือบทุกงานจะมีเมี่ยง กินเมี่ยงจนเพื่อนเรียก....ยัยขี้เมี่ยง

*** เป็นบันทึกของชอบเลยค่ะ ขอขอบคุณ

  สวัสดีครับ คุณครูดาหลา

  • เป๋นวัฒนธรรมที่น่าฮักของปี้น้องจาวล้านนา น้อครับ
  • กล๋ายเป๋นประเพณีนิยม ในด้านการจัดก๋ารทำบุญสุนตาน ต้องมี เมี่ยง มูรี
  • ก๋ารต้อนฮับแขก จะต้องมีบ่ได้ขาด (เป๋นมารยาทของเจ้าบ้าน) ว่าอี้เต๊อะ

       ขอชื่นชมคุณครูดาหลาแต๊ๆ  ไหว้สา เน้อ...หมู่เฮา...

ขอบคุณน่ะค่ะ คนปักษ์ใต้อย่างหนูยังเคยได้สัมผัสค่ะ รสชาติเป็นอย่างไร?ต่างจากโอเอชิมั๊ย^__^

  • สวัสดีครับ
  • ผมก็ชอบทานเมื่ยงครับ
  • ทำให้หายง่วง และราคาไม่แพงเหมือนชาญี่ปุ่น
  • แต่เมี่ยงคงจะลดความนิยมลง เพราะคนรุ่นใหม่ๆ ไม่นิยม
  • รวมไปถึงอาชีพคนปลูกเมี่ยงก็ลดลง
  • ทั้งๆ ที่ป่าเมี่ยงคือสุดยอดของการปลูกพืชแบบผสมผสาน
  • ไม่ทำลายป่า ยังคงความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้
  • คนอยู่กับธรรมชาติได้ พึ่งพากันได้
  • ขอบคุณครับที่ทำให้ระลึกถึงวัฒนธรรมที่ดีๆ ของเรา

สวัสดีค่ะ คุณกิติยาIco48

  •   เคยอยู่เชียงใหม่หลายปี ต้องรู้จักเมี่ยงเป็นอย่างดี
  •   สมัยนี้เมี่ยงพัฒนาจากเดิมปรุงรสจิ๊ดจ้าด เห็นแล้วชวนหยิบใส่ปากลองลิ้มชิมรสค่ะ
  •   อีกคนแล้วหรือนี่  หลงเสน่ห์รสชาดเมี่ยงเข้าแล้ว
  •   ครูดาหลาก็อีกคน เห็นห่อเล็กๆวางมาในจานละก้อ  คว้าหมับเลยค่ะ 
  •   ขอบคุณที่มาแวะคุยเรื่องเมี่ยงๆค่ะ
  •                      

สวัสดีเจ้า ป้อครูสนั่นIco48

  •  ขอบคุณตี้มามอบดอกไม้ให้กำลังใจเน้อเจ้า
  •  อยู่แม่ออนดินแดนป่าเมี่ยง  จนรวยเพราะโฮมเสตย์ เนาะเจ้า
  •  ครูดาหลาเกยไปแอ่ว  หันหมู่บ้านเปิ้นพัฒนาม่วนแต้ๆ  เปิงตี้นักท่องเที่ยวชอบมา พัก  แอ่วสวนเมี่ยง...เมืองในภูเขาเหมือน สวิสเซอร์แลนด์ เมืองเหนือเลยเจ้า
  •  ทำฮื้อสวนเมี่ยงพัฒนาสู่สากลเพราะเหตุนี้ตวย..อี้เตอะเนาะ 
  •  แต่วัฒนธรรมตางบ้านเฮา ถ้ามีก๋านมีงาน ก็นั่งกั๋นเป๋นหมู่ๆจ้วยกันแป๋งเมี่ยง  แป๋งคนเดียวก็บ่ลุก..  กว่าจะได้เมี่ยงเป็นห่อก็ผ่านหลายขั้นต๋อน
  •  ว่าแต่ป้อครูสนั่นอยู่แม่ออน เกยกิ๋นเมี่ยงก่อเจ้า 
  •                              
  • Photo by :: ลมหลวง

สวัสดีค่ะ คุณหนูรีIco48

  •  ขอบคุณที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจครูดาหลานะคะ
  •  คนปักษ์ใต้อยากชิมไหมคะ จะส่งไปให้ชิมจะกล้าชิมไหมคะ
  •  รสชาดของเมี่ยงที่ยังไม่ได้ปรุงจะออกรสเปรี้ยวและฝาดนิดๆค่ะ
  •  คนในสมัยก่อนกินแบบไม่ปรุงรส คือซื้อมาก็ใส่เกลือม้วนๆแล้วกินเลย
  •  สมัยนี้มีแบบใส่ไส้เหมือนไส้ขนมเทียนไส้หวาน โดยใช้มะพร้าวและถั่วลิสงคั่วกับน้ำตาล
  •  โดยขายแยกไส้เมี่ยงให้ต่างหาก เมื่อจะกินก็เอาใบเมี่ยงมาห่อไส้เอาเอง
  •  อร่อยตรงไส้เมี่ยงนี่แหละค่ะ 
  •  ส่วนชานั้นใช้ยอดเมี่ยงใบที่ถัดจากยอดอ่อน เอามาอบให้แห้งแล้วชงกับน้ำร้อน รสชาดต่างกับเมี่ยงค่ะ
  •  เมี่ยงเก็บใบขนาดกลางที่ไม่แก่จนเกินไป เอามามัดเป็นกำๆ นึ่งแล้วนำไปหมักประมาณ 2-3เดือนจึงนำมาจำหน่ายค่ะ
  • 44
  •  ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

สวัสดีค่ะ คุณสิงห์ป่าสักIco48

  •   วัฒนธรรมการกินเมี่ยงนับวันจะลดลง น่าเสียดายนะคะ
  •   ป่าเมี่ยงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการท่องเที่ยว โฮมเสตย์
  •   คนเก็บเมี่ยงก็หายาก เมื่อก่อนเด็กที่ครูดาหลาสอนมักจะบอกว่ามาจากป่าเมี่ยง
  •  เดี๋ยวนี้พื้นที่เหล่านั้น เจริญมากไม่มีใครย้ายออกมาจากพื้นที่แล้วค่ะ      
  • ทั้งๆ ที่ป่าเมี่ยงคือสุดยอดของการปลูกพืชแบบผสมผสาน
  • ไม่ทำลายป่า ยังคงความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้
  • คนอยู่กับธรรมชาติได้ พึ่งพากันได้
  • น่าเสียดายนะคะ
  •      
  • ขอบคุณที่แวะทักทายค่ะ

สวัสดีครับ KRUDALA

  • เมี่ยงภาคเหนือ กับ เมี่ยงภาคกลาง มีลักษณะแตกต่างกันมาก แต่คงจะอร่อยไปคนละแบบ เมี่ยงของภาคกลางมีเครื่องเยอะและยุ่งยากกว่าเมี่ยงของภาคเหนือ
  • เมี่ยงของภาคกลางไม่ใช่ของว่างสำหรับรับรองแขก และไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมใดๆ
  • มีสำนวนเกี่ยวกับเมี่ยง ว่า เอาลูกเขาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม สะท้อนให้เห็นว่าเมี่ยงเป็นของใช้จำเป็นที่ทุกบ้านต้องมีเป็นของตัวเอง ไม่ควรหยิบยืมมาจากบ้านคนอื่น
  • ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆมาเป็นประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ
  • เมี่ยง...รู้จัก เคยเห็น แต่ไม่เคยทานค่ะ
  • อยากลองทาน แต่พอหยิบมาครั้งใดจะนึกถึงหมากที่เป็นคำๆ ที่คนแก่ชอบเคี้ยวจนปากแดง ลำดวนเคยเคี้ยวแล้วปูนกัดปาก พอเห็นเมื่ยงรูปร่างคล้ายเลยไม่กล้าทานค่ะ
  • สวัสดีครับ ครูDALA
  • เคยได้ยินชื่อ แต่เพิ่งเคยเห็นครับ
  • ยังไม่เคยทานเลยครับ รสชาติเป็นอย่างไรบ้างครับผม

สวัสดีค่ะ'KRUDALA'

แวะมาอ่านบันทึกดีๆ'เมี่ยงกับวัฒนธรรมล้านนา' ค่ะ

เคยกินเมี่ยงบ้านเพื่อนเป็น'คนกำแพงเพชร'

เขาจะใส่ขวดโหลตั้งไว้ที่โต๊ะรับแขกเวลานั่งคุยกันก็จะหยิบกินเล่นเหมือนขนม

เป็นห่อเล็กๆเกือบกลมสีค่อนข้างดำ ...ไม่รู้ว่าเป็น'เมี่ยง'อย่างเดียวกันหรือเปล่า...

 

 

สม้ย ที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

เจ้าดาราฯ ท่านก็สั่งให้ เจ้าพ่อ ส่งเมี่ยง ไปที่ สยาม เพื่อ เสวย อยู่เป็นประจำ อีกทั้ง ยังแจกจ่ายไปให้ บรรดาเจ้าจอมองค์อื่น ๆ ได้ ลิ้มลอง กัน

แต่ .. อาหารเมนูนนี้ กลับได้รับการตีตราว่า "สกปรก" เลยไม่ค่อยมีเจ้าจอมหม่อมห้ามองค์ใด คนใด รับไปบริโภคนัก

แต่ พระสวามี กลับโปรดปรานอยู่ไม่น้อย

- - ในวิถี เมี่ยง หมาก ปูลี เป็น สำรับต้องรับขับสู้แขกบ้านแขกเมือง ของ คนในล้านนาประเทศ หากเมี่ยงบ้านใครหวานหอม ก็จะได้รับการร่ำลือไป ที่สำคัญต้องจัดเอาไว้ให้ เหลือกิน ห้ามหมดก่อนแขกกลับ

เมี่ยงหวาน เติมน้ำเชื่อมน้ำหวามลงไป มีขิง หวาน - เผ็ดขิง

เมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หมักธรรมดา เวลากิน ก็ใส่เม็ดเกลือ และ ขิง ไปนิดหน่อย เค็ม ..เปรี้ยว .. เผ็ดขิง

Thank you kindly Krudala,

I live in Dreamland, some 4 hour ahead of Thailand's Time Zone.

You know the land of the Rainbow Serpent.

Nowadays, it is a land full of mining holes ;-)

สวัสดีค่ะ คุณสันติสุขIco48

  •   ขอบคุณที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจครูดาหลานะคะ
  •   ใช่ค่ะ เมี่ยงภาคเหนือกับเมี่ยงภาคกลางแตกต่างกันมาก
  •   "เมี่ยง" ของภาคเหนือ หมายถึงใบเมี่ยงที่เอามานึ่งแล้วหมัก แล้วปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม เรียกว่าเมี่ยงหวาน  ถ้าปรุงรสด้วยน้ำส้ม เรียกว่าเมี่ยงส้ม แต่แม่อุ้ยพ่ออุ้ยส่วนมากจะชอบกินเมี่ยงธรรมดาที่ไม่ปรุงรส  กินกับเกลือและขิงหลังอาหารค่ะ
  •  ส่วน"เมี่ยง" ของภาคกลางหมายถึง  อาหารว่างชนิดหนึ่งที่นำมะพร้าวคั่ว ถั่วคั่ว หอม  พริก ขิง น้ำกะปิกวนเข้มข้น มีผักแค(นึกชื่อภาษากลางไม่ออกค่ะ)ห่อไส้ราดด้วยน้ำเชื่อม 
  •   
  • ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "เมี่ยง" นะคะ   

สวัดีค่ะ ศน.ลำดวนIco48

  • ขอบคุณที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ
  •  ใช่ค่ะ เมี่ยงที่เคยเห็นคนแก่กินนั้นเป็นเมี่ยงแท้ๆ ของจริงไม่ได้ปรุงลักษณะเป็นใบๆอยู่ในห่อที่มิดชิดเพราะไม่ให้ถูกอากาศค่ะ ครูดาหลาขอเอามาลองชิมรสฝาดๆอมเปรี้ยว ก็ไม่ชอบค่ะ
  • สมัยหลังๆคนขายเมี่ยงเขาจะมีไส้เมี่ยงที่ทำจากมะพร้าวคั่ว ถั่วคั่วกวนกับน้ำตาลแถมให้ด้วย  เมื่อมีงานต่างๆก็มีการปรุงรสเป็นเมี่ยงหวานห่อเป็นคำเล็กๆ บางงานจะพิถีพิถันเรื่องการห่อเมี่ยงมาก ต้องห่อเล็กๆ สวยๆ...เป็นของฝากได้ด้วยค่ะ
  •  ห่อเมี่ยง

สวัสดีค่ะ คุณฐานิศวร์Ico48

  •  ขอบคุณที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจครูดาหลานะคะ
  •  เมี่ยง เป็นพืชที่ขึ้นในป่าดิยทางภาคเหนือค่ะ
  • ครูฐานิศวร์อยู่อีสานจึงไม่เคยได้ลองชิม
  • "เมี่ยง" ยุคใหม่พัฒนารสชาด คนกินจะไม่ปฏิเสธถ้าได้ลองลิ้มชิมรสค่ะ
  •  

สวัสดีค่ะ ดร.พจนาIco48

  • ขอบคุณที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจครูดาหลาค่ะ
  • "เมี่ยง" ที่ดร.พจนาไปกินที่บ้านเพื่อนที่กำแพงเพชรนั้น  คือ"ไส้เมี่ยง"ค่ะ
  • เป็นการพัฒนาการกินเมี่ยงรูปแบบของคนรุ่นใหม่
  • ญาติที่ไปอุตรดิตถ์ขากลับก็จะซื้อ"ไส้เมี่ยง" อย่างนี้มาฝากค่ะ กินเป็นขนมก็ได้
  • ความจริงเขาทำเพื่อใช้ใบเมี่ยงห่อก่อนแล้วกินเป็นเมี่ยง...ที่เปลี่ยนรูปแบบการกินไปมากแล้วค่ะ
  • "ไส้เมี่ยง" เมืองลับแล อุตรดิตถ์ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ AnthroCat- ThailandIco48

  • สม้ย ที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕   เจ้าดาราฯ ท่านก็สั่งให้ เจ้าพ่อ ส่งเมี่ยง ไปที่ สยาม เพื่อ เสวย อยู่เป็นประจำ อีกทั้ง ยังแจกจ่ายไปให้ บรรดาเจ้าจอมองค์อื่น ๆ ได้ ลิ้มลอง กัน
  • แต่ .. อาหารเมนูนนี้ กลับได้รับการตีตราว่า "สกปรก" เลยไม่ค่อยมีเจ้าจอมหม่อมห้ามองค์ใด คนใด รับไปบริโภคนัก
  • แต่ พระสวามี กลับโปรดปรานอยู่ไม่น้อย
  • ครูดาหลาเคยไปชมคุ้มของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  • ภายในพระตำหนักได้จัดของใช้ส่วนตัวของพระราชชายา เช่นห้องต่างๆ เชี่ยนหมาก ตลับเมี่ยง ฯลฯ และเปิดเทปเกี่ยวกับเพลงที่ใช้บรรเลงในคุ้มของพระราชชายา ทุกจุดจะตกแต่งด้วยกุหลาบสีชมพู ที่ชื่อกุหลาบจุฬาลงกรณ์ที่พระเจ้าอยู่หัวร.5 ได้พระราชทานให้... เหมือนได้ย้อนยุคไปสู่สมัยที่ท่านยังมีชึวิตอยู่
  • ทำให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม"การกินเมี่ยง" และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
  • ประวัตฺศาสตร์อาจมีอีกหลายด้าน...ทำให้รู้ถึงการแบ่ง" เกรด" ที่มีมาตั้งแต่สมัยโน้น..จากการที่เจ้านายฝ่ายเหนือ   พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับ...

  •   ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
  •   ขอบคุณที่มาเติมเต็มให้กับบันทึกนี้ค่ะ

พี่ครูครับ ครั้งแรกคิดว่าเหมือนเมี่ยงภาคกลาง อ้อเมี่ยงภาคเหนือ น่าสนใจมากๆๆ

สวัสดีค่ะ คุณ Sr.Ico48

  •  คุณ Sr. ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
  •   อยู่ในดินแดนแห่งความฝัน ที่มีเวลาก่อนเมืองไทยไป 4 ชั่วโมง
  •   ดินแดนที่มีความเจริญของแสงสี  และเต็มไปด้วยผู้คนที่ไปแสวงหาโชคลาภ
  •   ปัจจุบันเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยเหมืองแร่
  •   ครูดาหลาเปิด Dictionary ประจำตัวเล่มโตเชียวนะคะ
  •   ทายว่าคุณ Sr. อยู่ออสเตรเลียค่ะ 
  •   ประเทศและทวีปที่ห้ามนำอาหารทุกชนิดเข้าประเทศ 
  •   ทำให้ครูดาหลาส่ง"เมี่ยง"มาให้ไม่ได้
  •   ถ้าแปลไม่ถูกประการใด  ก็อนุญาติให้หัวเราะได้ค่ะ
  •   ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิตIco48

  •  ขอบคุณที่แวะมาทักทายให้กำลังใจนะคะ
  •  เมี่ยงของภาคเหนือ... คนที่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกจะไม่ยอมชิมค่ะ
  •  แต่ถ้าได้ลองแล้ว ครั้งต่อไปจะไม่ปฏิเสธถ้ามีใครยื่นถาดเมี่ยงมาให้ค่ะ 
  •  คนที่ชอบกินเมี่ยง จะมีคำพูดล้อกันในหมู่เพื่อนๆว่า  "นาย....ขี้เมี่ยง" ฯลฯ
  •  รุ่นครูดาหลาก็มีล้อกันค่ะ  แต่ผู้หญิงไม่เคยได้ยินนะคะ
  •  

พี่ครูครับ รุ่นนายขี้เมี่ยงมีไหม 555 ที่บ้านเป็นไผ่หวาน พี่ครูลองหาไผ่หวานหรือไผ่ที่รูปทรงสวยแล้วกินได้มาปลูกนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิตIco48

  •  รุ่นนี้เก๋า...มีนายขี้เมี่ยงหลายคนอยู่ค่ะ 
  •  เพราะเป็นเจ้าของกิจการเมี่ยงจนรวยเอา..รวยเอาค่ะ
  •  ขอบคุณมากนะคะ ที่กรุณามาบอกพันธุ์ไผ่หวาน
  • เห็นบ้านใครที่ปลูกไผ่สวยๆ  ก็มองอย่างติดอกติดใจว่าไผ่บ้านเราไม่สวยอย่างนี้
  • ขอบคุณที่แนะนำค่ะ
  •    

Thank you KRUDALA for your kind offer to send some pickle tea leaves (เมี่ยง)

I understand the problem of posting to my place -- I don't even have 'postal delivery service' to my place. (Shame on Australia Post and in the same swoop -- Shame on QLD Roads department.)

อด เอาตามเคย ;-) เป็นผลของ กรรมเก่า ;-);-)

น้องเคยชิมค่ะ ไปน่านหลายครั้ง เวลาไปบ้านญาติ ทุกบ้านจะนำมาต้อนรับแขกนะคะ เขาจะม้วนห่อเมี่ยงเป็นคำๆ ไม่ต้องห่อใบตอง สอดใส้ด้วยเกลือ หรือน้ำตาลเล็กน้อย รสชาติ (บอกไม่ถูก อิอิ)  เปรี้ยวๆฝาดๆ เค็ม ๆหวานๆ  อร่อยดี นะคะ  กลับมาบึงกาฬยังห่อใส่ถุงมาด้วย

เชียงใหม่เฮานี้  ล้วนมีดอยหลาย  ปลูกเมี่ยงยะยาย  กิ๋นขายสืบเส้น

จากปู่ถึงหลาน   สืบสานบ่เว้น  ขายเมี่ยงนับเป๋น  รายได้ 

ปรุงเป๋นอาหาร   วงศ์วานเหนือใต้  ยำใบเมี่ยงใส่  ปล๋าทู

ดงดอยป่าไม้  พงไพเลิศหรู  น้ำไหลพรั่งพรู  ลงสู่ที่กว้าง

ลงสู่ที่กว้าง

  • บ่มีดอย..บ่มีชีวิต...เน้อคุณครูดาหลา..

 

 

สวัสดีค่ะ คุณ Sr.Ico48

  •   คุณSr.ไม่เคยได้รับบริการพัสดุไปรษณีย์ที่ส่งให้ถึงบ้าน  
  •    อายพนักงานไปรษณีย์ของออสเตรเลียถ้าเขาคว้าไปเปิดดู 
  •    และอายผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านถนน QLD
  •    ครูดาหลาเกรงว่าจะทำให้คุณSr. ถูกปรับที่มีคนส่งของประหลาดมาให้
  •    กลัวว่าจะนำเชื้อโรคไปแพร่ระบาดในประทศเขา 
  •   I understand this problem too.
  •   ขอบคุณที่แวะมาส่งข่าวค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูกอไก่Ico48

  •    ขอบคุณที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจครูดาหลานะคะ
  •    การต้อนรับที่อบอุ่น เป็นกันเอง คือต้อนรับด้วยเชิญกินเมี่ยง..เป็นวัฒนธรรมที่น่ารักมากค่ะ
  •   กินเมี่ยงแล้วนั่งคุยกันได้อย่างคนรู้ใจ เพราะเป็นคนเมือง กินเมี่ยงเหมือนกัน 
  •   กลับบ้านบึงกาฬห่อใส่ถุงมาด้วย..ดีค่ะ เดินทางไกลใช้เคี้ยวได้เพลินดี มีรสชาดเปรี้ยวๆ หายง่วงดีนะคะ

 

สวัสดีเจ้า ป้อครูสนั่นIco48

  •   บ่ามีดอย  บ่ามีชีวิต ...
  • ใจ้แล้วเจ้า ดอยคือแหล่งเกิดของต้นน้ำ ลำธาร ตี้ไหลลงมาหล่อเลี้ยงจาวเมืองตางลุ่ม ถ้าดอยมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ก็จะทำฮื้อบ้านเมืองมีน้ำกินน้ำใจ้ เพาะปลูกพืชพันธุ์อาหารเลี้ยงคนตึงบ้านตึงเมือง
  •  เมี่ยงเป็นพืชตี้มีคุณอนันต์ เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจบนดอยจ้วยฮักษาต้นน้ำไว้ 
  •  เป็นพืชสมุนไพรตี้ปลอดสารพิษร้อยเปอร็เซนต์เนาะเจ้า 
  •  ครูดาหลาเกยไปแอ่วป่าเมี่ยงแล้วยังฮู้สึกสดชื่น  อากาศบนดอยสะอาด บริสุทธิ์
  •  ปราศจากมลพิษ  อยู่ดอยแล้วสบายใจขนาดเจ้า 

สวัสดีค่ะ คุณณัฐพัชรIco48

  •  ขอบคุณค่ะ ที่แวะเข้ามามอบดอกไม้ให้กำลังใจบันทึกเมี่ยงกับวัฒนธรรมล้านนาค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณภาทิพIco48

  • ขอบคุณที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจนะคะ
  • อมเมี่ยงแล้วคลายเครียดได้ดีค่ะ
  • เปรี้ยวๆ หวานๆ ขมนิดๆเหมือนรสชาน่ะค่ะ
  • แต่เป็นใบชาที่หมักแล้ว
  • เคยชิมหรือยังคะ

ชอบกินมากตอนยุ่บ้านแต่ตอนนี้ยุ่สระบุรีหากินไม่ได้เลย

สวัสดีค่ะ คุณ moo fairy

            ขอบคุณค่ะที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้  ขอโทษที่มาตอบช้านะคะ คิดว่าเป็นบันทึกเก่าไม่มีคนสนใจแล้ว

อยู่สระบุรีหากินไม่ไ้ด้ เพราะไม่ใช่ถิ่นของคนกินเมี่ยงค่ะ ตอนอยู่บ้านคุณ moo fairy ชอบกินมาก อยู่จังหวัดแถบภาคเหนือมีให้กิน

ตลอดนะคะ

                         ขอบคุณค่ะ

ไม่ทราบว่า เมี่ยงมีประโยชน์ด้านใดบ้าง เผื่อจะได้รณรงคไม่ให้เมี่ยงสูญหาเหมือนกระแสหมากพลู

สวัสดีค่ะครูดาหลา เป็นคนล้านนาค่ะมาอยู่ใต้อยากกินเมี่ยงมากๆเลยช่ช่วยส่งมาให้หน่อยได้ไหมคะ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บอกเลยนะคะ พอดีที่บ้านไม่มีใครค่ะขอช่วยใครไม่ได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท