นำประสบการณ์การประชุมเสวนาครั้งก่อนๆมาเป็นบทเรียน


KM ทุกคนจะต้องเป็นผู้เรียน ใครฝึกก็ใครได้ ว่างจากการดูแลการประชุมแล้ว ก็มาเข้ากลุ่มฝึกลิขิตได้ ดูแลการประชุม ประสานางานหรือทำงานอยู่ในกองเลขาฯ ก็ทำ KM ทั้งนั้น KM มันอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ มันต้องเนียนอยู่ในเนื้องาน แบบ KM INSIDE นะครับ ทำตรงส่วนไหนก็ได้ฝึกทักษะและสมรรถนะตรงนั้น

นำประสบการณ์การประชุมเสวนาครั้งก่อนๆมาปรับปรุงการประชุมเสวนาให้ดียิ่งขึ้น

วันที่ 9 ส.ค.49 ราวบ่ายสามโมง ผมได้รับหนังสือเชิญจากกองเลขา KM แก้จนเมืองนคร ว่าจะประชุมคณะคุณเอื้อจังหวัดคุณอำนวยกลาง และคุณอำนวยอำเภอ KM แก้จนเมืองนคร ณ ห้องประชุมศรีปราชญ์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 11 ส.ค. 49 ทั้งวัน

หนังสือเชิญ ไม่ปรากฏวาระพูดคุย ไม่ทราบว่าจะมีเรื่องอะไรมั่ง

แต่เมื่องานมันเดินมาระยะหนึ่งแล้ว เราลุย เราปฏิบัติกันมา ผมคิดว่าตั้งแต่ พ.ค.ถึง ก.ค. ก็ 3 เดือน แล้วนะครับ อย่างที่พูดๆกันนะครับว่า KM ไม่ทำไม่รู้ 3 เดือนที่ผ่านไป ผมว่าทุกคนไม่ว่าจะในวงเรียนรู้ใด ไม่ว่าจะเป็นวงคุณเอื้อ วงคุณอำนวยระดับต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การเรียนรู้แก้จนของคุณกิจครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้มากมายแล้ว ทุกคนถูกหมด ไม่มีใครผิด การประชุมวันนั้น ผมจึงมีความเห็นว่าน่าจะวางน้ำหนักไปที่การเล่างานที่ได้ทำนะครับ ว่าแต่ละวงเรียนรู้ บทบาทของตัวละคอน KM ของท่านที่แสดงอยู่ ท่านมีประสบการณ์อะไรมาแบ่งปัน เพื่อใช้เป็นข้อมูล เป็นความรู้ ใช้ขับเคลื่อนงานที่เหลือในปลายปี และในอีก 2 ปีต่อไป

ประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญที่น่าจะได้แลกเปลี่ยนกันคือ การบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน การประกวดยอดคุณ....ระดับต่างๆเพื่อกระตุ้นการทำงาน การถอดบทเรียน คลังความรู้ในการทำงานของแต่ละทีมในแต่ละระดับเพื่อการสังเคราะห์ความรู้ การจัดทำบล็อก เตรียมตัวตลาดนัดความรู้แก้จนเมืองนคร การบูรณาการงานปกติของแต่ละหน่วยงานเข้าไปในเวทีชุมชนระดับหมู่บ้าน เพราะหลังจากเวทีชุมชนระดับหมู่บ้านตั้งเป้าหมายแก้จนได้แล้ว ในส่วนที่ออกแบบกิจกรรมเรียนรู้หรือปฏิบัติการแก้จนด้วยทุนตัวเองก็ทำอยู่ แต่ที่เกินกำลังก็ต้องต่อท่อ เชื่อมต่อการพัฒนาไปยังหน่วยงานต่างๆ ดังที่ท่านผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ เคยกล่าวไว้  หน่วยงานต่างๆก็ต้องเงี่ยหูฟัง ผ่านทางทีมคุณอำนวยตำบล ชาวบ้านจะมีความสุขมากเลยถ้าทำทั้งแบบพึ่งตนเองสุดๆและแบบบูรณาการโดยหน่วยงานต่างๆในคราวเดียวกัน จะคลุกเคล้าเข้าด้วยกันอย่างไรในภาคปฏิบัติ

ผมคิดว่าหลายเรื่องที่หยิบยกคงคุยได้ไม่หมด อาจจะแตะได้แบบตีลูกระนาด คงจะอาศัยความเห็นที่ประชุมว่าจะหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาคุย อาจจะให้คณะย่อยไปคุยแล้วนำสู่การพิจารณาต่อที่ประชุมใหญ่ก็ได้ (นำเสนอในครั้งต่อๆไป) หรือนัดประชุมแต่ละเรื่องให้บ่อยขึ้นเพื่อให้ครบทุกเรื่อง หรือจะจัดการอย่างไร แล้วแต่ที่ประชุม และต้องลิขิต บันทึกผลการเสวนาพูดคุย เอาไว้เป็นคลังความรู้ เอาไว้เป็นประวัติศาสตร์แก้จนเมืองนคร

พูดถึงการลิขิต หรือการบันทึกเรื่องราวการพูดคุยเสวนาวันนั้น อาจารย์เฉลิมลักษณ์ เต็มภาชนะ KM ทีม จาก กศน.จังหวัดนครศรีฯ โทรศัพท์มาขอคำปรึกษาผมว่าจะทำอย่างไรดี เพราะว่า ทีมของ กศน.จังหวัดจะต้องดูแลการประชุมเสวนา ไม่มีเวลามาร่วมเสวนาและบันทึก / ลิขิต ในการประชุมกลุ่มย่อย ผมให้ความเห็นไปว่าถ้ามันมีภาระที่จะต้องดูแลอย่างนั้น ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ในกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเขาก็จะเลือกคุณลิขิตกลุ่มย่อยของเขาเอง ทำหน้าที่ได้ เพราะทุกครั้งที่ทำเราก็ทำอย่างนี้อยู่แล้ว KM ทุกคนจะต้องเป็นผู้เรียน ใครฝึกก็ใครได้ ว่างจากดูแลการประชุมแล้ว ก็มาเข้ากลุ่มฝึกลิขิตได้ ดูแลการประชุม ประสานงาน หรือทำงานอยู่ในกองเลขาฯ ก็ทำ KM ทั้งนั้น KM มันอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ มันต้องเนียนอยู่ในเนื้องาน แบบ KM INSIDE นะครับ ทำตรงส่วนไหนก็ได้ฝึกทักษะและสมรรถนะตรงนั้น  เรื่องนี้ไม่น่าห่วงอะไร

ส่วนรูปแบบการเสวนาหากเป็นไปได้ ผมว่า กึ่งๆทางการ ได้ก็ดี ให้มันเป็นวงเรียนรู้ มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ ผมมีบทความเกี่ยวกับการประชุมเสวนาแบบกึ่งๆทางการหรือไม่เป็นทางการ ชื่อกิจกรรมถอดหมวกในวงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ คุณอำนวยตำบล และพอดีได้อ่านบล็อกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มิติใหม่ในการทำงานของสภามหาวิทยาลัย : เยี่ยมชื่นชมคณะพยาบาลศาสตร์ ก็รู้สึกชอบมาก ใช้เทคนิค AI,storytelling ,Dialoque ซึ่งเป็นเรื่องของ KM ล้วนๆ จึงอยากจะให้นำมาฝากเป็นข้อมูลสำหรับศึกษาและปรับใช้ สำหรับพัฒนาการประชุมเสวนาในวงเรียนรู้ให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยทั่วๆไป nature ของการเสวนาวงเรียนรู้ในลักษณะนี้เขาทำกันอย่างไร เราก็จะต้องศึกษาให้เข้าใจ และปรับตัวเองนะครับ

นี่คือความเห็นผมที่อยากจะแบออกให้เห็นครับ  อ.ภีม ภคเมธาวี จาก มวล.ที่ปรึกษาวิชาการ และคุณชาญวิทย์ สมศักดิ์ จากทีมคุณอำนวยกลาง และท่านอื่นๆ และชาวบล็อกทั้งหลายด้วย ช่วยให้ความเห็นเพื่อการประชุมเสวนาที่มีประสิทธิภาพนะครับ

สิ่งที่เป็นห่วงกังวัล คือวงเรียนรู้ที่มีผู้บริหาร มักจะมีภารงานมากมาย ซึ่งก็เป็นที่รู้และเข้าใจกัน ผู้คนในวงเรียนรู้จะค่อยๆลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมามันบอกว่าเป็นเช่นนั้น จึงอยากจะให้อยู่กันเยอะๆ จนเสร็จสิ้นกิจกรรมในวงเรียนรู้ นะครับ

หมายเลขบันทึก: 43912เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

วันอังคารที่ 15  สิงหาคมนี้  เวลา 20.40-21.40 น.  ทราบว่า  รายการโทรทัศน์ช่อง 11  เชิญ  ผู้ว่าวิชม ทองสงค์   อธิบดีนัทธี จิตสว่าง กรมราชทัณฑ์  และ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด  ไปออกรายการ  เกี่ยวเนื่องมาจากที่ขึ้นเวทีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมาครับ  ฝากแจ้งทีมงานอาจารย์ด้ยนะครับ

ธวัช

เรียน อ.ธวัช

รับทราบครับ จะเรียนท่านผู้ว่าฯให้ครับ เจ้าภาพเชิญคือโทรทัศน์ช่อง 11 ใช่ไหมครับ เข้าใจว่าช่อง 11 คงจะมีการประสานงานกับท่านผู้ว่าฯแล้ว แต่ในทีมงานที่ทำงานด้วยกันผมจะแจ้งให้ครับ ขอบคุณมากครับ

เข้ามาทักทายค่ะ และเขียนให้ตามสัญญาไว้ที่นี่ค่ะ

เรียนคุณเมตตา ชุมอินทร์

ผมเข้าไปอ่านแล้วครับ เห็นหน่อความรู้เกี่ยวกับคุณอำนวยผุดขึ้นมากมายจริงๆครับ

เข้าใจว่าหนังสือเชิญถึงผู้ว่าแล้ว   ผมเห็นหนังสือถึงอาจารย์ประพนธ์

หนังสือออกโดย กพร.  ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายการครับ

เรียน คุณธวัช

ผมเช็คข้อมูลกับหน้าห้องผู้ว่าฯแล้ว เมื่อ 10 โมง ทางนี้ได้รับทั้งหนังสือและสคริป TV เรียบร้อยแล้วครับ 

เพิ่งได้รับโทรศัพท์จากฝ่ายประสานงาน km เมืองคอนเมื่อเช้านี้ว่าจะมีการประชุมคุณอำนวยกลางวันที่  11 สค แต่ไปร่วมไม่ได้เพราะกำลังติดภาระกิจที่กรุงเทพเสียดายมากเลย ไว้ค่อยติดตามจากอาจารย์ก็แล้วกันนะคะ
  • KM มันอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ มันต้องเนียนอยู่ในเนื้องาน
  • เยี่ยมมากและเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท