ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (39) ตอนที่ 6 KM กับการประเมินผล


แต่อย่างหนึ่งที่เราเห็นเลยนะคะว่า มันสามารถที่จะสร้างการมีส่วนร่วม เพราะว่าน้องๆ ที่เข้ามานี่พูดออกมาเลยว่า พี่ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ หนูก็คงไม่มีโอกาสได้มาคุยกับพี่ได้อย่างลงลึกในงานได้เลย

 

เรื่องเล่าต่อไป จาก CKO จาก กองอนามัยการเจริญพันธุ์ ค่ะ พี่อู๊ด ... ยุพา พูนขำ

คุณยุพา พูนขำ กองอนามัยการเจริญพันธุ์พี่เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า ... ตัวเองใช้ KM กับข้างนอกก่อนที่จะนำมาใช้กับองค์กร คือย้อนกลับไปที่ประมาณปี 2548 หลังจากเข้าประชุมซึ่งใช้เทคนิค KM จากการเล่าเรื่อง และบอกว่า ผู้เล่าเป็นอย่างนี้ ผู้ฟังเป็นอย่างนี้ กลุ่มต้องเป็นลักษณะนี้ และเมื่อปี 2548 มีโครงการหนึ่ง ก็คือ โครงการพัฒนาคุณภาพบริการวางแผนครอบครัว เป็น Pilot Project ที่ทำในต่างจังหวัด และมีกิจกรรมติดตามความก้าวหน้าของเครือข่ายเหล่านั้น จะต้องมาประชุมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้า เราก็มีความรู้สึกว่า คงไม่ถึงรูปแบบการ present ความก้าวหน้าโดยตัวเองได้ ถ้ามีโมเดลที่ดี หรือเขาทำแล้วมีความก้าวหน้า และมาเป็นตัวนี้ อาจจะครึ่ง หรือ 30-40% ของประชุมก็ยังมีโอกาสได้ฟังอย่างจริงจัง แล้วถ้าใครสนใจหน่อย อาจไปคุยนอกเวที นอกห้องประชุมกันต่อได้ ว่า เออ พี่ทำยังงั้นมันได้ยังไง พี่ทำยังไงถึงได้อย่างนี้ ...

ตัวเองได้รู้เทคนิคมาคนเดียว แต่ว่ายังไม่มีแนวร่วมในกองเลย แต่ครั้งนั้นก็รู้สึกว่า เป็นวัยพอสมควรที่จะรวมสมัครพรรคพวกที่เป็น Organisor การจัดประชุม ที่จะมาบอกว่า พี่ได้เรียนรู้อย่างนี้ อย่างนี้มา และมันน่าจะดีนะ ลองเอามาทำ น้องก็ยอมเป็นแนวร่วมในการทำ และครั้งนั้นเป็นการเชิญ รพจ. 8 แห่ง รพช. 16 แห่ง รวมทั้ง สอ. คัดมาจังหวัดละ 2 แห่ง วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้น ที่แน่ๆ คือ เราต้องการทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค concept ก็คือ การประเมินผล ทีนี้ ประเมินผลของเรา ทำยังไงให้มันได้ ความร่ำรวยของข้อมูล ได้ทั้งแนวลึก แนวกว้าง อะไรก็แล้วแต่ ก็เลยด้วยความบ้าบิ่น จึงใช้เทคนิคนี้เข้ามาจับ ก็แบ่งกลุ่มไปเลย ว่า มีกลุ่ม สอ. ตรงนี้นะ กลุ่ม รพ. อันนี้นะ และน้องทีมงานอยู่ตามกลุ่มต่างๆ และเมื่อเสร็จกระบวนการ พบว่า บรรยากาศของการ ลปรร. ในเรื่องของการเล่าเรื่องนี้ ลงรายละเอียดได้ ถึงแม้ว่าคนของเราไม่ได้ผ่านกระบวนการการเป็น Fa นึกถึง output ที่ออกมานี้ ไม่ถึง 100% แน่ๆ แต่ว่าก็ถือว่า อานิสงค์ ฟันธงได้เลยว่า KM เป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการ ลปรร.

ตอนนั้นเราฟังธงว่า “เราได้” ... แต่สิ่งที่ไม่ได้ตามต้องการก็คือ เพราะว่าเราไม่มีความพร้อม เพราะฉะนั้นมันก็ไม่สมบูรณ์ 100% แต่อย่างหนึ่งที่เราเห็นเลยนะคะว่า มันสามารถที่จะสร้างการมีส่วนร่วม เพราะว่าน้องๆ ที่เข้ามานี่พูดออกมาเลยว่า พี่ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ หนูก็คงไม่มีโอกาสได้มาคุยกับพี่ได้อย่างลงลึกในงานได้เลย ลืมเล่าไปว่า หัวปลาของเราก็คือ “ทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดกิจกรรมเพื่อการปรับปรุงคุณภาพบริการ”

จากโครงการนี้ เราเริ่มจากการสร้างเครื่องมือการประเมินตนเอง โดยการนำของต่างประเทศมาปรับให้เป็นระบบของสาธารณสุขไทย และเอาเครื่องมือนี้มาประเมินตนเอง ให้เขาทำ action plan เพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการ ก็เห็นว่าได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ที่จะติดตามความก้าวหน้า หรือเกณฑ์ของการสร้างการมีส่วนร่วม ที่เห็นมันก็เป็นวิธีการหนึ่ง เหมือนกับเป็นการสร้างศักยภาพของเครือข่ายของเราให้เข้มแข็งขึ้น เราก็แน่นแฟ้นกับโครงการของเรามากขึ้น และก็จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการของเราได้มากขึ้น พออย่างนั้นปั๊บ ก็เลยติดใจ

ตอนนั้น ปี 2548 ก็เป็นสมาชิก KM ธรรมดาๆ ก็มีความสุขดี พอปี 2549 เหมือนถูกบังคับให้รับหัวโขนนี้ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมเราถึงได้เข้าร่วมโครงการเป็นหน่วยงานนำร่อง พอหมอนันทาเชิญชวน + ผอ. พยักหน้า + น้องๆ พยักหน้า ตัวเองก็เลยต้องพยักหน้าตามด้วย นั่นก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่ง และจะมีเหตุผลว่า ทำไมเราจึงยอมทำ ต่อมาเราก็ทำ self assessment 3 รอบ ทำ action plan และอื่นๆ และเราก็ได้สร้าง Fa มาก สร้าง note taker มาก และเราก็มาใช้งานอื่นๆ ต่อมาตามลำดับค่ะ

คุณยุพา พูนขำ กองอนามัยการเจริญพันธุ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 43887เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท