การทำหลักสูตรท้องถิ่น (ฉบับย่อ)


ขอบคุณอาจารย์ จตุพรค่ะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น วันนี้จึงขอ ลปรร. การทำหลักสูตรท้องถิ่น ฉบับย่อจากประสบการณ์ตรงที่มีโอกาสได้ร่วมเรียนรู้กระบวนการที่ได้มาซึ่งหัวเรื่องนั้นต้องได้มาจากชุมชนจริงๆ ให้ชุมชนมาพูดคุยเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ  อาชีพ ฯลฯ ที่เขาเห็นว่าสำคัญอยากอนุรักษ์ไว้ ในบรรยากาศสบายๆ ให้ชุมชนได้พูดได้เล่า จะทำให้ได้ประเด็นหลายเรื่อง จากนั้นทั้งผู้บริหาร ครู ชุมชน ลงสู่แหล่งเรียนรู้ดูของจริง ศึกษาข้อมูล ทั้งสถานที่ บุคคล ลงลึกในรายละเอียดเก็บข้อมูลให้มากที่  จากประเด็นและข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด ผู้บริหาร  ครู คัดเลือก สาระความต้องการจำเป็น จัดเนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การกำหนดการวัดและประเมินผลฯลฯ  ที่ได้เล่ามานี้คาดว่าพอเห็นภาพขั้นตอนของการทำหลักสูตรท้องถิ่น  อย่างที่อ.จตุพร กล่าวว่ากระบวนการที่ได้มาของหลักสูตรท้องถิ่นสำคัญมากป็นความต้องการของชุมชนจริงไหม

       จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับผู้เฒ่า ผู้แก่ ในหมู่บ้าน และเห็นภูมิปัญญาต่างๆ เช่น จักสาน ทอผ้า การละเล่น ฯลฯ ด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง เราจะเกิดการเรียนรู้หลายอย่าง    ….คาดว่าคงไม่ยากนะคะ

  
หมายเลขบันทึก: 43872เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

พี่สาวคนดี ขออภัยนะคะที่ไม่ได้รับโทรศัพท์เมื่อคืนก่อน

วันนี้วันแม่แห่งชาติน้องสาวสวมหัวใจสีฟ้าแล้วตั้งใจเข้ามาทักทายพี่สาวโดยเฉพาะ เพื่อบอกกับพี่สาวว่า

"แม้กายห่างไกลกันแต่ความรักยังคงอยู่ตลอดกาล"

สุขสันต์วันแม่นะคะ วันนี้พี่สาวโทรหาได้ตลอด 24 ชม.ค่ะ

รักและเคารพ

  

  • สุขสันต์วันแม่ครับ
  • ที่โรงเรียนกำลังพยายามดำเนินการอยู่ครับ
  • ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมใคร่ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่เข้าไปเยี่ยมและให้ข้อคิดเห็นผ่านบันทึกของอาจารย์

เรื่อง "หลักสูตรท้องถิ่น" เองไม่มีกระบวนการที่ได้มาที่ตายตัว ก็แล้วแต่จะมีกระบวนการอย่างไร???

แต่ที่ผมให้ข้อคิดเห็นในบันทึกนั้น เป็นมุมมองของนักวิจัยชุมชน ที่ผมคิดว่า "หลักสูตร" ที่มาจากชุมชน ควรเอื้อต่อการพัฒนาชุมชนโดยแท้จริง

เรื่องนี้ควรได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้็ต่อเนื่องนะครับ 

ขอบคุณ อาจารย์มากๆเช่นกันครับ 

 

 ลืมถือดอกไม้ติดมือมาฝากพี่สาวและทุกท่านค่ะ

     เป็นไปได้ไหมครับที่จะทำโดยชุมชนเอง และไม่ไปเกี่ยวกับโรงเรียน ผมหมายถึงหากผมจะนำมาสนับสนุนให้เกิดขึ้น และชุมชนเก็บไว้เรียน ไว่ถ่ายทอดกันเองต่อ ๆ ไป นะครับ

ขอ  ลปรร. ต่อ คุณชายขอบ ...นะครับ 

ที่ต้องเกี่ยวกับโรงเรียน ก็คือ การที่สถาบันเป็นแหล่งให้ความรู้ และจัดการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนอยู่แล้ว

แต่เราก็เห็นได้โดยทั่วไปที่เป็นความรู้ชุมชน(Indigenous Knowledge)  ที่เป็นความรู้ที่สั่งสม และมีนักวิจัย ชาวบ้าน หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในชุมชนพยายามเก็บข้อมูล โดยอาจมีการบันทึกบ้าง ไม่ได้บันทึกบ้าง ส่วนหนึ่งก็แฝงเป็น Tacit K.

และมีชุมชนหลายๆชุมชนก็ทำแบบนี้ และนำองค์ความรู้ของเขา เสนอไปที่โรงเรียน มีปัญหาว่าบางทีต่อกับทางโรงเรียนไม่ติด..ไม่รู้เพราะอะไร

 

น้องจตุพร

     พี่กำลังนึกถึงการหลุดจากระบบการศึกษาที่(ล้าเหลือเกิน) มาเป็นการจัดการศึกษาโดยชุมชนเอง ซึ่งได้ดำเนินการอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้แนวคิดอย่างนี้ ซึ่งเป็นรูปธรรมดีครับ เลยคิดจะประยุกต์เข้าด้วยกันครับ

 

ก่อนอื่นต้องขอโทษกัลยาณมิตรทุกท่านด้วยนะค๊ะ หายไปทำบุญวันแม่ให้แม่ไกลหน่อยไปทำบุญที่วัด ใน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วันนี้ได้เปิด Blog ได้อ่านข้อคิดเห็นของอ.จตุพร ผอ.บวร และข้อคำถามของคุณชายขอบ ต้องขอบคุณมากๆค่ะ ที่ลปรร อ.เบิ้มที่เป็นหนึ่งในทีมงานในการร่วมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ขอร่วมตอบคำถาม คุณชายขอบ ผ่านทาง Blog MS Sunee ค่ะ …….การจัดการศึกษาสำหรับชุมชนโดยชุมชนเองโดยหลักการแล้วชุมชนเองต้องรู้ตัวเองว่าต้องการจำเป็นอะไรบ้างทั้งเนื้อหาและกระบวนการ ใช้ความคิดเชิงระบบทั้งรู้จักปัจจัยจำเป็น รู้จักกระบวนการ ที่จะไปถึงผลหรือหลักสูตรที่ชุมชนต้องการ ซึ่งโดยธรรมชาติของความเป็นชุมชน ส่วนใหญ่มิได้นึกว่าการเป็นคนในชุมชนหนึ่งคนต้องมีบทบาทหรือรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา ดังนั้นการศึกษาสำหรับชุมชนที่ปรากฎผลเป็นหลักสูตรเป็นการจัดการเรียนรู้จึงมักเห็นเกิดจากสถานศึกษา สถาบันการศึกษาหรือจากกลไกที่นักวิชาการมีส่วนดำเนินการเช่นนักการศึกษา นักวิชาการการเกษตร เป็นต้น (ความเห็นสอดคล้องกับ อ.จตุพร)สำหรับความเห็นของคุณชายขอบ เป็นความคิดที่ดีในการคิดเชิงนอกกรอบ ขอเป็นกำลังใจขออย่าได้หล้าหรือท้อถอยเพราะการกระทำปฏิบัติจะทำห้เกิดการเรียนรู้ ……จากการที่ได้ไปเยี่ยมบ้านชาวกะเหรี่ยงผู้หนึ่งซึ่งทำไร่ทำนา ทอผ้า ตำข้าวกินเองด้วย ครกกระเดื่อง เลี้ยงช้างและวัวไว้ใช้งาน ชาวกะเหรี่ยงคนนี้พูดว่า "จะทำบ้านแบบนี้(แบบที่เขาอาศัยอยู่) ในโรงเรียน โดยจะรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ไว้ในบ้านที่จะพยายามสร้างให้เกิดขึ้นในโรงเรียน สำหรับอีกบ้านหนึ่งเจ้าของบ้านเชี่ยวชาญการสานเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ เขาต้องการให้โรงเรียนจัดสอนโดยเขาจะเป็นผู้สอนให้ ได้ถามว่า" ได้สอนให้ลูกหลานหรือไม่"เขาตอบว่าอยากสอนแต่ลูกหลานไม่อยากทำ จึงอยากให้โรงเรียนสอนถ้าครูในโรงเรียนสอนไม่ได้เขาจะเป็นผู้สอนให้เอง จากสองกรณีนี้ อยากจะตีความว่า สิ่งที่ชาวบ้านเห็นว่าจำเป็นต้องการให้ลูกหลานเรียนรู้และสืบทอดนั้น โดยธรรมชาติถ้าไม่ใช่สถานศึกษา การเรียนรู้ การสืบทอด เกิดได้แต่ไม่เพียงพอ ชาวบ้านคาดหวัง จากโรงเรียน ในการสร้างการเรียนรู้ การสร้างหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินหลายขั้นตอนน่าจะเกิดเองโดยไม่มีนักวิชาการเข้าไปเกียวข้องได้ยากมาก นักวิชาการที่ช่วยพัฒนาหลักสูตรจะถือว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนหรือบุคคลากรในระบบหรือไม่นั้นก็แล้วแต่จะกำหนดตนเอง ….สำหรับคุณชายขอบน่าจะมีบทบาทที่กลมกลืนกับชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการศึกษาสำหรับชุมชนโดยชุมชน …ซึ่งพวกเรากำลังคอยเรียนรู้จากคุณชายขอบอยู่ค่ะ.. อ.เบิ้มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นับว่าเป็นเวทีเสมือนแห่งการเรียนรู้จริงๆนะค๊ะ ขอขอบคุณ คุณชายขอบและเพื่อนสมาชิกอีกครั้งค่ะ

     ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่ช่วงนี้ผมตามบันทึกและ คห.ไม่ทันจริง ๆ เมื่อหลุดจากหน้าข้อมูลหลักไปแล้ว (มีเพียง 5 คห.ล่าสุด) จะตามหายากมากครับ ว่ามีใครได้ต่อยอดอะไรไปอีกบ้าง ผมจึงไม่ทราบเรื่องที่ อ.เบิ้มได้เข้ามา ลปรร.ไว้ และขอบพระคุณอาจารย์สุนีย์มากครับที่นำมาฝากไว้ให้ที่นี่อีกครั้ง จนทำให้ได้พบกัน
     ผมพอจะเข้าใจในเหตุผลที่เกิดความจำเป็นขึ้นแล้วล่ะครับว่าทำไมหลักสูตรท้องถิ่นต้องอยู่ในสถานศึกษา หากแต่ผมจะหมายถึงไปยังประเด็น "การครอบงำ และไม่เคารพในตัวชุมชน" เสียมากกว่า ด้วยเหตุเพราะ ฉันเป็นครูนะ ฉันเป็นนักวิชาการนะ หรือฉันเป็น...ที่ดูจะยิ่งใหญ่กว่า บางที่ดูเหมือนไม่ตั้งใจ แต่ก็ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นการครอบงำกัน โดยเฉพาะคนชาบขอบที่มักจะเจียมตัวเสมอ ๆ
     หากไม่อยู่ในสถานศึกษา เด็กจะไม่เรียน เป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น เชื่อว่าหากชุมชนลงมือ และสถานศึกษามองให้พ้นรั่วออกมา และร่วมกับชุมชนทำ ทำนอกโรงเรียนอย่างจริงใจบ้าง น่าจะได้ น่าจะไปรอดด้วย แต่ก็เป็นเพียงสมมติฐานอีกเช่นกันครับ เพราะยังไม่ได้ลองลงมือทำอย่างจริงจัง

     ลปรร.มาก็เพื่อสะท้อนบางมุมมอง และเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เป็นจริงอยู่บ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท