NHSO-PCN
เครือข่าย Palliative Care สปสช. NHSO-PCN

โรงพยาบาลราชบุรี กับ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care ) โรงพยาบาลราชบุรี

หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลราชบุรีเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยมะเร็งเป็นต้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรงลุกลาม จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care ) เพื่อให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตในภาวะความเจ็บป่วยคุกคามได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โรงพยาบาลราชบุรีได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมาระยะหนึ่ง โดยเริ่มจากหน่วยงานและทีมบุคลากรที่สนใจ ตั้งแต่ปี 2549 ต่อมาได้ขยายผลโดยพัฒนาองค์ความรู้ให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลแบบประคับประคองและนำไปปฏิบัติในแต่ละหน่วยงาน การดูแลดังกล่าวยังไม่เชื่อมโยงสู่สถานบริการในชุมชน ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบบริการ “ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง” เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ได้รับการบริการครอบคลุมองค์รวมและมีการประสานเครือข่ายในการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องจากสถานบริการสู่บ้านและชุมชน
  2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพิ่มมากขึ้น

กลุ่มผู้ป่วยเป้าหมาย

  1. ผู้ป่วยมะเร็งทุกสาขาที่มีอาการของโรคลุกลามและรุนแรง
  2. ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  3. ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วย CVA.

วิธีและขั้นตอนการดำเนินงาน

รูปแบบการดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ
  1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติดำเนินการในโรงพยาบาล
  2. จัดโครงสร้าง คณะกรรมการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
  3. จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานในโครงการ
ขั้นดำเนินการ
  1. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
  2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
  3. โครงการอบรมบุคลากรและเครือข่าย เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ( จำนวน 100 คน จำนวน 1 วัน)
  4. โครงการพัฒนาจิต ( จำนวน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มบุคลากร,กลุ่มผู้ป่วย,กลุ่มญาติหรือผู้ดูแลกลุ่มละ 50 คน ครั้งละ 1 วัน)
  5. โครงการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
  6. ศูนย์อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  7. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนคณะทำงานเครือข่าย

การเตรียมการส่งกลับ

  1. การให้คำปรึกษา ( Counselling) ผู้ป่วยและญาติ
  2. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge Plan) 
  3. การอบรมความรู้ (Training) ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรในหน่วยบริการใกล้บ้าน

กิจกรรมการบริการ

  1. กิจกรรมการรักษา  และ
  2. กิจกรรมการดูแล ประกอบด้วยการดูแลปัญหาด้านร่างกาย ,การดูแลด้านจิตใจ ,การดูแลด้านจิตวิญญาณ
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเข้าถึงบริการ 
  4. การจัดการให้มีศูนย์จัดหาครุภัณฑ์
  5. กิจกรรมอื่นๆ  เช่น การให้บริการด้านเวชกรรมฟื้นฟู  เป็นต้น

หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ประกอบด้วยหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ได้แก่ หอผู้ป่วยต่างๆและหน่วยงานสนับสนุนบริการผู้ป่วยแบบประคับประคอง ,หน่วยบริการรับส่งต่อ ในเขตตำบลหน้าเมืองซึ่งเป็นเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลราชบุรี ,หน่วย PCU ตำบลหน้าเมือง รับผิดชอบในติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน  ระดับชุมชนที่ประสานการส่งต่อ ได้แก่โรงพยาบาลชุมชนและ สถานีอนามัยต่างๆ

ความร่วมมือระหว่างองค์กรที่สนับสนุนกิจกรรม

ได้แก่  อบต. ,เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์  , เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.,องค์กรเอกชนหรือผู้มีจิตเป็นกุศล ช่วยในการหาทุนและสนับสนุนโลงศพ,อุปกรณ์การจัดทำพิธีหรือส่งศพให้ในกรณีผู้ป่วยที่ยากจนเสียชีวิตหรือศพไม่มีญาติ

แรงผลักดันโครงการให้สัมฤทธิ์ผล

  • ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
  • มีความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ

ปัญหา/อุปสรรคการดำเนินงาน

  • บุคลากรและทีมงานของโรงพยาบาลมีภาระงานมาก
  • กระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นระบบใหญ่มีการเชื่อมโยงกับหลายองค์กรทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเกิดความล้าช้า
  • บุคลากรในส่วนต่างๆมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองยังไม่ชัดเจน

ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการให้เกิดการบริการ

ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนการบริการภายนอกโรงพยาบาลยังไม่สามารถระบุค่าใช้จ่ายได้

ความหวังของผู้ดำเนินงาน

  • หลังการดำเนินงานจะได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของโรงพยาบาลราชบุรีและมีการเผยแพร่โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงพยาบาลที่มีการดำเนินงานประคับประคองเพื่อเป็นการปรับปรุงพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ควรมีการสนับสนุนให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและขยายเครือข่ายการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
  • มีหน่วยบริการรับดูแลผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม   

หมายเลขบันทึก: 438136เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอชื่นชมทีมงานและขอเป็นกำลังใจให้ทำงานนี้ตลอดไป

โรงพยาบาลยางตลาดมีกืจกรรมพิเศษในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยค่ะ

โรงพยาบาลยางตลาดมีกืจกรรมพิเศษในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยค่ะ

ภาพสุดท้าย

โดย สาคร ภูน้ำเย็น

คลินิกใกล้ใจ

ผู้ป่วยหญิงอายุ 68 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นอะไร เริ่มมีอาการปวดหัวไหล่ขวาแล้ว ด้วยความว่ารักแม่มากบุตรชายผู้รับราชการตำรวจบอกกับพี่น้องทุกๆ คนว่าไม่ให้บอกแม่ว่าเป็นมะเร็งเพราะกลัวแม่จะเสียชีวิตเร็วขึ้น ก่อนหน้านี้โรคเบาหวานของผู้ป่วยรักษาที่คลินิก ไม่เคยขาดยา ไม่ยอมมาโรงพยาบาลเพราะคิวยาว เสียเวลา ประวัติชอบรับประทานปลาสุกๆดิบๆ อายุรแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาปฏิชีวนะนาน 14 วัน วันที่ 3 ของการนอนรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาด ผู้ป่วยเริ่มเบื่อและคิดถึงบ้านมาก คิดถึงกระท่อมที่เคยนอน คิดถึงต้นพลิก ต้นแมงรัก และกล้วยไม้ที่ปลูกไว้ อยากกลับไปดูแล อยากกลับไปชื่นใจ ข้าพเจ้าได้นำเรื่องราวของการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในเช้านั้นมาเล่าให้ทีมฟัง เพื่อนพยาบาลคนหนึ่งเสนอขึ้นมาว่า “พาผู้ป่วยกลับบ้านซิเพื่อน” “จะกลับได้อย่างไรผู้ป่วยไม่ไหวแน่” เรามาคิดอะไรทดแทนกันได้นะ หลังจากลงเวรเช้าแล้วข้าพเจ้าเดินทางไปบ้านของผู้ป่วยพร้อมขออนุญาตญาติของผู้ป่วยถ่ายรูปสิ่งที่ผู้ป่วยอยากเห็น ปรินซ์มาให้คุณยายดู ชมอย่างมีความสุข จากที่อ่อนเพลีย ปวด ผู้ปวยได้ลุกขึ้นมานั่งอย่างลืมตัวเองเกี่ยวกับอาการเหล่านั้น ชี้นิ้วไปที่ต้นกล้วยไม้ “ตอนยายอยู่บ้านมันยังไม่ออกดอกขนาดนี้เลย” “กระท่อมของยายไม่มีใครกวาดใบไม้ให้เลย รกจัง” ครึ่งชั่วโมงที่มีความสุขกับการดูภาพและชูนิ้วถ่ายภาพ คงเป็นความสุขเกือบสุดท้าย แต่ด้วยความรุนแรงของโรคร้ายผู้ป่วยไม่สามารถทนได้ อ่อนเพลียลง มากขึ้นๆ ลูกทุกคนขอนำผู้ป่วยกลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามการสั่งเสียที่ให้ไว้ ก่อนกลับลูกสาวคนเล็กถามว่า “แม่จะอยู่ได้อีกกี่วัน ” “อาการอย่างที่มองเห็น คุณยายมีเวลาไม่เกิน 3 วัน ขอให้ญาติทุกคนอยู่กับคุณยายอย่าได้ห่าง มือสองข้างกุมมือคุณยายไว้ พูดในสิ่งที่อยากพูด บอกในสิ่งที่อยากบอก”และแล้ววันที่สองที่ขอกลับบ้านคุณยายได้เดินทางไกลโดยไม่มีวันหวนกลับคืนมา

มาลินันท์ พิมพ์พิสุทธิพงศ์

ที่ รพ พลได้พัฒนาการการดูแลผู่ป่วยแบบประคับประคอง รามทั้งเครือข่าย จาก รพ สู่ รพ .สต .และชุมชน พระ อบทเข้ามาร่วมกันดูแลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท