งานวิจัย ขอแสดงความยินดีกับ นักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2549


ผลงานของนักวิจัยทุกท่าน สร้างกำลังใจในการทำงานให้เรามากมายจริงๆ

1.  รางวัลนักวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวรในรอบ 1 ปี นเรศวรวิจัย (ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 28 กรกฎาคม 2549)                 

ได้แก่  รศ.ดร.วัฒนพงษ์  รักษ์วิเชียร  สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทนได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2006  ซึ่งเป็นรางวัลผู้ส่งเสริมด้านอนุรักษ์พลังงาน  จาก  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่  22 มิถุนายน 2549 

2. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact factor สูงสุด   หมายถึง นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีค่า Impact factor สูงสุด ในรอบ 1 ปี นเรศวรวิจัย (ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 28 กรกฎาคม 2549) โดยพิจารณาเฉพาะนักวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นชื่อแรก (1st author) หรือเป็น Corresponding author และตีพิมพ์ในนามของมหาวิทยาลัยนเรศวรเท่านั้น

ผู้ที่ได้รับรางวัล  ได้แก่ ดร.บุรินทร์  กำจัดภัย สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์  จากผลงานวิจัยเรื่อง Coupled dark energy : Towards a general description of the dynamics ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cosmology and Astroparticle Physics 06(2005)007 : 1-67.  ค่า Impact factor : 7.914 (2004)  

3. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Cited) ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติสูงสุดลักษณะของผลงาน : เป็นผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ โดยตีพิมพ์ในนามของ มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้วิจัยต้องเป็นชื่อแรก (1st author) หรือเป็น Corresponding author โดยการพิจารณาจะดูจากจำนวนครั้งของการได้รับการอ้างอิง (Cited) ตั้งแต่ผลงานได้รับการตีพิมพ์จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2549

หมายเหตุ  หากจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิง มีจำนวนเท่ากันหลายผลงาน จะพิจารณาจากค่า  Impact factor ของผลงานที่มีค่าสูงสุดก่อน

 ได้แก่ ดร.บุรินทร์  กำจัดภัย สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์จากผลงานวิจัยเรื่อง Coupled dark energy : Towards a general description of the dynamics ในวารสาร Journal of Cosmology and Astroparticle Physics 06(2005)007 : 1-67.  ค่า Impact factor : 7.914 (2004)  

4. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากที่สุดหมายถึง นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติทั้งที่มีค่า Impact factor และ ไม่มีค่า Impact factor จำนวนมากที่สุด ในรอบ 1 ปี นเรศวรวิจัย (ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 28 กรกฎาคม 2549)  โดยผลงานที่เสนอขอรับรางวัลจะต้องเป็นผลงานที่ตีพิมพ์ในนามของมหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้วิจัยมีชื่อปรากฏอยู่ในผลงานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อแรก (1st author) หรือเป็น Corresponding author หรือไม่ก็ตาม

หมายเหตุ      1.       กรณีที่มีนักวิจัยหลายท่าน มีจำนวนผลงานตีพิมพ์เท่ากัน จะพิจารณาจากจำนวนผลงานตีพิมพ์ที่มีค่า Impact factor ก่อน    

                      2.       กรณีที่มีนักวิจัยหลายท่าน มีจำนวนผลงานตีพิมพ์เท่ากัน และมีจำนวนที่มีค่า Impact factor เท่ากัน จะพิจารณาจากการตีพิมพ์เป็นชื่อแรก (1st author) หรือการเป็น Corresponding author  ก่อน

ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ รศ.ดร.สมยศ  พลับเที่ยง  สังกัด ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในรอบปีนเรศวรวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 12 ผลงาน โดยในจำนวนนี้เป็นนักวิจัยที่มีผลงานเป็นชื่อแรกถึง 9 ผลงาน

 5. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่สามารถจดทะเบียนสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตรหมายถึง นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่สามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้ในรอบ 1 ปี  นเรศวรวิจัย (ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 28 กรกฎาคม 2549

ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย  วิทยาอารีย์กุล  สังกัด ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ชื่อผลงาน วิธีการทำอัลจิเนต / ไคโตซานไมโครแคปซูนสำหรับเก็บน้ำมันจดทะเบียน อนุสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 เลขที่ 2375 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

หมายเลขบันทึก: 43788เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท