เมนทอลสเปซและการสื่อสารคณิตศาสตร์ (Mental Spaces and Mathematics Communication)


Mental Spaces and Mathematics Communication

เมนทอลสเปซและการสื่อสารคณิตศาสตร์

(Mental Spaces and Mathematics Communication)

แปลและเรียบเรียงโดย

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


Fauconnier (1994)ได้ให้คำนิยามของ“เมนทอลสเปซ(mental spaces)” ว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมอง (mind)ของเรา ซึ่งถูกทำให้เกิดขึ้นในขณะที่มีการแสดงออกทางภาษา เขากล่าวว่าแต่ละการแสดงออกทางภาษานั้นล้วนเกี่ยวข้องกับเมนทอลสเปซเสมอ และเขายังกล่าวไว้ว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงวิชาการที่ทำหน้าที่ก่อให้เกิดเมนทอลสเปซชนิดหนึ่ง

Emori(1997) ได้ทำการศึกษาการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ (Mathematics Communication) และกล่าวถึงการสื่อสารว่าเป็นกระบวนการที่สร้างขอบเขตความเข้าใจร่วม (Consensus Domain) โดยอาศัยเมนทอลสเปซ (Mental Space) ของผู้ที่เข้าร่วมในการสื่อสารนั้น โดยพิจารณาถึงชนิดของเมนทอลสเปซที่เฉพาะเจาะจงซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกิดขึ้นในขณะที่เรียนรู้คณิตศาสตร์ และได้นิยาม “Mathematics Communication” ในฐานะที่เป็นการสื่อสารที่อาศัยเมนทอลสเปซชนิดต่างๆ

สำหรับการเข้าร่วมในการสื่อสารคณิตศาสตร์ มันมีความจำเป็นต้องเข้ารหัส (Code) และถอดรหัส (Decode) สาร (Messages) ด้วยการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์บางส่วน ชิ้นส่วนของความรู้เหล่านี้ไม่ได้แยกกันอยู่อย่างกระจัดกระจาย แต่ละชิ้นส่วนความรู้มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันกับชิ้นส่วนความรู้อื่นๆ เมื่อชิ้นส่วนเหล่านั้นถูกจดจำไว้ในฐานะที่เป็นความรู้ กลไกเกี่ยวกับความจำของเราสามารถทำให้เราระลึกถึงเซตของความรู้ที่เกี่ยวข้องกัน มีลักษณะเชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่และถูกสร้างขึ้นมาสำหรับเป็นสิ่งเร้าสารเชิงภาษาจากคนอื่น เราพยายามที่จะอธิบายเหตุผลว่าทำไมการสื่อสารมันถึงนำมาซึ่งสารสนเทศ (Information) มากกว่าเป็นเพียงการถอดรหัสการกระทำเชิงภาษา ซึ่งจะอธิบายโดยอาศัยทฤษฎี Relevance Theory (Sperber & Wilson, 1993)

โดยปกติแล้ว เมนทอลสเปซ (Mental Space) ของแต่ละคนที่เข้าร่วมในการสื่อสารจะไม่ซ้อนทับกันอย่างสมบูรณ์ แต่สามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า บางส่วนของเมนทอลสเปซของคนที่เป็นคู่สื่อสารกันจะซ้อนทับกัน และเรียกส่วนที่ซ้อนทับกันนี้ว่า “ขอบเขตความเข้าใจร่วม (Consensus Domain)” ขอบเขตความเข้าใจร่วมนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดการสื่อสารทางคณิตศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

Emori, H. (1997). Mathematics Communication. In Tejima Katsuro (Ed.),Rethinking Lesson Organization in School Mathematics. (pp.44-60). Japan: Japan Society ofMathematics Education.

Fauconnier, G. (1994). Mental Spaces. Retrieved from http://terpconnect.umd.edu/~israel/Fauconnier-Ment...

คำสำคัญ (Tags): #mental#spaces#and#mathematics#communication
หมายเลขบันทึก: 43774เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2014 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท