การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ


การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกขององค์การในทุกระดับ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตน ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อความสำเร็จของการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติคือ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ กล่าวคือ การทำความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันของสมาชิกทุกคนในองค์การเกี่ยวกับทิศทางที่องค์การกำลังจะมุ่งไป สถานการณ์ที่สมาชิกในองค์การ “รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง” เกี่ยวกับการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้น เป็นสัญญาณแรกที่กำลังบ่งบอกถึงความล้มเหลวของแผนยุทธศาสตร์

 

 

การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ 

หลังจากที่ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ลำดับต่อมาเป็นกระบวนการในการนำแผนยุทธศาสตร์นั้นไปสู่ปฏิบัติ ซึ่งนับเป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและอาจพบกับอุปสรรคมากพอสมควร เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการบริหารที่ครบตามจำนวนเหมาะสมกับแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำไว้แล้ว อีกทั้งยังต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ทักษะความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ของนักบริหารระดับสูงในการทำให้แผนยุทธศาสตร์ปรากฏผลเป็นรูปธรรม  

การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกขององค์การในทุกระดับ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตน ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อความสำเร็จของการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติคือ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ กล่าวคือ การทำความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันของสมาชิกทุกคนในองค์การเกี่ยวกับทิศทางที่องค์การกำลังจะมุ่งไป สถานการณ์ที่สมาชิกในองค์การ “รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง” เกี่ยวกับการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้น เป็นสัญญาณแรกที่กำลังบ่งบอกถึงความล้มเหลวของแผนยุทธศาสตร์  

อุปสรรคที่สำคัญของการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั่นคือ เกิดปัญหาที่คาดไปไม่ถึง ทำให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งหรือหลายปัญหารวมกัน อันเกี่ยวเนื่องกับบุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์เครื่องใช้ ตลอดจนขีดความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ทั้งในระดับกลางและระดับสูง  

ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับบุคลากรนั้น มีตั้งแต่การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เรื่อยไปจนถึงการขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งผู้เขียนจะไม่ขอลงไปในรายละเอียด โดยขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  

                ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องจากงบประมาณนั้น ในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ที่ได้มีการกำหนดไว้ให้สอดคล้องกันนั้น เป็นเรื่องยากที่หน่วยงานภาครัฐกิจจะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ถูกต้องเหมาะสมกับการบริหารจัดการหน่วยงานอย่างแท้จริงในภาคปฏิบัติ  และโครงการต่าง ๆ จำนวนมากก็ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายจริง ซึ่งส่วนมากเป็นการใช้จ่ายงบประมาณเกินความจำเป็น  อย่างไรก็ตามการจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐกิจ ควรเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ  1) ความพอประมาณ หมายถึง งบประมาณของรัฐที่หน่วยงานภาครัฐกิจต่าง ๆ ได้รับการจัดสรรให้ไปใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จะต้องไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอเหมาะพอสมกับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ในเงื่อนไข “ความรู้” และ เงื่อนไข “คุณธรรม” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  2) ความมีเหตุ-มีผล หมายถึง ได้รับจัดสรรงบประมาณของรัฐที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล ใช้จ่ายในสิ่งที่สมควร และไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่สมควร ซึ่งอยู่ในเงื่อนไข “ความรู้” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังต้องตั้งอยู่บนความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งอยู่ในเงื่อนไข “คุณธรรม” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ส่วนรวม  และ  3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐไปเพื่อการเตรียมความพร้อม การป้องกัน และการบรรเทาปัญหา ที่จะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้บริหารภาครัฐกิจแลเห็นได้ด้วยวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกล ลึกซึ้ง และรอบคอบ

 

ดร.จักษวัชร  ศิริวรรณ 

 


 

หมายเลขบันทึก: 437655เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2011 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้าพเจ้ามีความเห็นสอดคล้องกับที่อาจารย์ได้ Post ไว้ข้างต้น แต่ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้

การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้นจะสำเร็จหรือไม่นั้นมิได้อยู่ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกคนและทุกระดับในองค์กรนั้น ตั้งแต่ระดับลูกจ้างไปจนกระทั่งระดับผู้บริหาร ในที่นี้จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้นำองค์กร กล่าวคือ ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีเทคนิคในการบริหารคนว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้องทำงานให้องค์กรด้วยความสมัครใจ ความทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ หรือแม้กระทั่งความเสียสละ เพราะหากเขาเหล่านั้นทำงานโดยใช้ใจในการทำงานแล้วย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์นั้นๆ ได้

ข้าพเจ้ามีความเห็นสอดคล้องกับที่อาจารย์ได้ Post ไว้ข้างต้น แต่ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้

การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้นจะสำเร็จหรือไม่นั้นมิได้อยู่ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกคนและทุกระดับในองค์กรนั้น ตั้งแต่ระดับลูกจ้างไปจนกระทั่งระดับผู้บริหาร ในที่นี้จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้นำองค์กร กล่าวคือ ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีเทคนิคในการบริหารคนว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้องทำงานให้องค์กรด้วยความสมัครใจ ความทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ หรือแม้กระทั่งความเสียสละ เพราะหากเขาเหล่านั้นทำงานโดยใช้ใจในการทำงานแล้วย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์นั้นๆ ได้

ผมคิดว่า....การนำแผนไปปฎะบัตินั้นผมก็เห็นด้วยกันกับอาจารย์บางส่วน แต่การนำไปปฎิบัติส่วนใหญ่ก็จะสามารถนำไปดำเนินการได้...เพราะการทำแผนยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่จะทำให้สักษณะของแผนที่ครอบคลุมในทุกๆด้าน....การนำไปปฎิบัติก็ด้วยการปรับแผนยุทธศาสตร์มาเป็นแผน 3 ปี หรือเป็นแผนประจำปีนั้นตามเหตุผลความจำเป็นหรือตามปัญหาของปีนั้นๆ

ผมคิดว่า....การนำแผนไปปฎะบัตินั้นผมก็เห็นด้วยกันกับอาจารย์บางส่วน แต่การนำไปปฎิบัติส่วนใหญ่ก็จะสามารถนำไปดำเนินการได้...เพราะการทำแผนยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่จะทำให้สักษณะของแผนที่ครอบคลุมในทุกๆด้าน....การนำไปปฎิบัติก็ด้วยการปรับแผนยุทธศาสตร์มาเป็นแผน 3 ปี หรือเป็นแผนประจำปีนั้นตามเหตุผลความจำเป็นหรือตามปัญหาของปีนั้นๆ........การนำแผนไปปฎิบัติจะประสบผลสำเร็จ หรือไม่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้บริหารว่ามีความรู้ความชำนาญเป็นนักบริหารที่ยึดหลักธรรมมาภิบาลเพียงใด ในส่วนของสมาชิกในองค์กร และเรื่องของ งบประมาณก็มีปัญหาอยู่บ้างแต่เป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยไม่ใช้หัวใจของการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติทีมีประสิทธิภาพ.

ผมมีความเห็นว่า บุคลากรในองค์การคือปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ หากในองค์การมีบุคลากรทีมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความสมัครสมานสามัคคีกัน ก็จะส่งผลให้การปฏิบัติงานในองค์การนั้น มีความเป็นระบบ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้ ดังนั้น กระบวนการการสรรหาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทั้งทางด้านความรู้และทางด้านจิตใจจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์การควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยื่ง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท