ที่มาของ “กระจก”


ที่มาของ “กระจก”
กระจกเงา กระจก มีประวัติความเป็นมาจาก “แก้ว” และแก้วก็มีประวัติยาวนานมากทีเดียว ตามตำราของพลินี ดิ เอลเดอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน เขียนไว้ว่า กลาสีที่อาศัยอยู่แถบโพลิเนเชียนเป็นผู้ค้นพบแก้ว จากการหุงหาอาหารที่ชายหาด ซึ่งตอนนั้นไม่มีภาชนะหม้อไหที่ไหน ก็เลยไปคุ้ยๆหาวัสดุในโกดังในเรือมาเป็นแผ่นเนตรอน (natron) มาหุงอาหาร ปรากฏว่า เมื่อเนตรอนถูกความร้อนถึงผสมกับทรายที่ชายหาด กลายเป็นของเหลวใสไหลเป็นสาย และเมื่อเย็นตัวก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “แก้ว” มาตั้งแต่นั้น

แต่ก็มีความเชื่อว่า แก้ว เกิดก่อนหน้านั้นหลายพันปีทีเดียว ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล แถบเมโสโปเตเมีย หรือประเทศซีเรียและอิรักในปัจจุบัน

แม้ว่าที่มาของช่วงเวลายังสรุปได้ไม่แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่มนุษย์ผลิตแก้วและกระจกอยู่ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวโรมัน

การผลิตแก้วใช้ปูนและโซดาผสมเข้ากับซิลิก้า ซึ่งมีอยู่ในเม็ดทราย ซิลิก้ามีจุดหลอมเหลวสูงมาก จะใช้ไฟธรรมดาหลอมไม่ได้ ต้องเข้าเตาหลอมพิเศษ อุณหภูมิสูงราว 1,590 องศาเซลเซียส

จากนั้นเทแก้วหลอมลงบนผิวของดีบุกหลอมเหลว จะทำให้แก้วเย็นลงเมื่อถึงอุณหภูมิที่ 600 องศาและเริ่มแข็งตัวเป็นกระจกใส จากนั้นจึงนำไปเจียเป็นกระจกแผ่น

สำหรับกระจกก็คือแก้วแผ่นเรียบ ที่ช่างต้องอาศัยการกดลูกแก้วให้แบนเป็นแผ่นด้วยการต่อเข้ากับปลายแท่งเหล็ก ซึ่งช่างก็จะต้องหมุนแท่งเหล็กนี้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้แก้วเป็นกระจกแผ่นเรียบ

ส่วนวิธีทำกระจกมีขั้นตอนเช่นเดียวกับแก้ว วัตถุดิบก็คือ “ทรายแก้ว” ซึ่งเป็นทรายสีขาว ละเอียดยิบและเงาจนเป็นประกาย เมืองไทยเรามีอยู่ที่เหมืองทรายแก้ว จ.ระยอง

แก้วกลายเป็นกระจกเมื่อผ่านการขัดเงา และฉาบด้วยโลหะบางอย่าง ปกติแล้วโลหะนี้จะเป็นอลูมิเนียมฉาบด้วยความหนา 100 นาโนเมตร จะมีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัม นอกจากนี้กระจกยังฉาบด้วยทอง เงิน หรือบรอนซ์ก็ได้
หมายเลขบันทึก: 43710เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท