การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement motivation – ACH)


การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement motivation – ACH)

การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement motivation – ACH)

1 ใน 5 ของสมรรถนะหลักและเป็นตัวแรกของสมรรถนะหลัก สำหรับคำจำกัดความของคำว่า “การมุ่งผลสัมฤทธิ์” นั้น หมายถึง ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่ โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นอีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากหรือท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน

การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การพยายามปรับปรุงงาน การทำงานได้ตามเป้าหมาย การทำงานได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และการทำงานที่ยากท้าทายซึ่งอาจไม่เคยมีใครทำมาก่อน สำหรับคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายคลึงกับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การเน้นที่ผลลัพธ์ การเน้นที่ประสิทธิผล การใส่ใจกับมาตรฐาน การเน้นการปรับปรุงงาน ความเป็นผู้ประกอบการ การใช้ทรัพยากรอย่างสูงสุด

การมุ่งผลสัมฤทธิ์พิจารณาได้จาก 3 มิติ คือ

ความสมบูรณ์ของการทำกิจกรรมในงาน

ผลกระทบของผลสำเร็จในงานว่าเกี่ยวกับระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือระดับหน่วยงาน

ระดับของนวัตกรรมที่สร้าง เช่น เป็นสิ่งใหม่ต่อหน่วยงาน ต่อส่วนราชการ หรือต่อวิชาชีพ

สมรรถนะในแต่ละด้านแม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสมรรถนะอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังมีความคาบเกี่ยวกันอยู่บ้าง สมรรถนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การคิดริเริ่ม (Initiative) การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking) และความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexibility) ความเกี่ยวข้องที่ว่านี้ อาจจะเกี่ยวข้องในแง่ที่ว่าบุคคลจะแสดงพฤติกรรมการมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้ก็มักจะมีความคิดริเริ่ม การสืบเสาะหาข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การมองภาพองค์รวมและความยืดหยุ่นผ่อนปรน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมด้วย

ระดับ 0 ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้ หรือแสดงอย่างไม่ชัดเจน

ระดับ 1 แสดงความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดี เช่น

พยายามทำงานในหน้าที่ให้ถูกต้อง

พยายามปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา

มานะอดทน ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน

แสดงออกว่าต้องการทำงานให้ได้ดีขึ้น เช่น ถามถึงวิธีการหรือขอคำแนะนำอย่างกระตือรือร้น

แสดงความเห็นในเชิงปรับปรุงพัฒนาเมื่อเห็นความสูญเปล่าหรือหย่อนประสิทธิภาพในงาน

ระดับ 2แสดงสมรรถนะที่ 1 และสามารถทำงานได้ผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น

กำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี

ติดตามและประเมินผลงานของตนโดยเทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน

ทำงานได้ตามเป้าหมายที่ผู้บังคับบัญชากำหนดหรือเป้าหมายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ

มีความละเอียดรอบคอบ เอาใจใส่ ตรวจตราความถูกต้องเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

ระดับ 3 แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และสามารถปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

ปรับปรุงวิธีการที่ทำให้งานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น

เสนอหรือทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่คาดว่าจะทำให้งานมีประสิทธิภามากกว่าเดิม

ระดับ 4 แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสามารถกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งพัฒนาวิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น หรือแตกต่างอย่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เช่น

กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ยาก เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด

พัฒนาระบบ ขั้นตอน วิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น หรือแตกต่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

ระดับ 5 แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และกล้าตัดสินใจ แม้ว่าการตัดสินใจนั้นจะมีความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานหรือส่วนราชการ เช่น

ตัดสินใจได้ โดยมีการคำนวณผลได้ผลเสียอย่างชัดเจน และดำเนินการเพื่อให้ภาครัฐและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

บริหารจัดการและทุ่มเทเวลา ตลอดจนทรัพยากร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของหน่วยงานตามที่วางแผนไว้

สรุป : การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสมัยก่อนจะเป็นการทำงานที่ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติให้แล้วเสร็จไปวัน ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่สามารถวัดออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้...มา ณ ปัจจุบัน ภาครัฐได้นำเรื่องสมรรถนะเข้ามาแบ่งวัดระดับของสมรรถนะในการทำงาน จึงทำให้เห็นเป็นขั้นตอนหรือเป็นรูปร่างมากขึ้นกว่าสมัยก่อน เพราะระดับจะเป็นการแบ่งให้กับผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติ เช่น ระดับปฏิบัติการ ควรมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด ระดับผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับสูงควรมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด...ถ้าผู้ปฏิบัติงานคนใดมีสมรรถนะต่ำก็ต้องรีบเร่งที่จะพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น เพราะในสมัยก่อนทำให้ภาครัฐไม่สามารถที่จะพัฒนาบุคลากรในส่วนราชการได้อย่างเป็นรูปธรรมได้เลย เพราะไม่มีเครื่องมือในการแยกแยะความสามารถได้...การพัฒนาในสมัยก่อนก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลของคน ๆ นั่นเองที่จะขวนขวายเพื่อศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากขึ้น...

สำหรับผู้ปฏิบัติงานคนใดที่มีสมรรถนะที่สูงกว่ามาตรฐาน นั่นก็แสดงว่า องค์กรหรือส่วนราชการนั้น ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถอยู่ในองค์กร และเป็นหน้าตาของส่วนราชการนั้นที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถและช่วยพัฒนาองค์กรหรือส่วนราชการนั้นให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น...

นับได้ว่า ในสมัยก่อนการวัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนนั้นทำได้ค่อนข้างยาก...ส่วนมากจะวัดจากใบปริญญาบัตรและใบประกาศต่าง ๆ ที่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง แต่...ประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละบุคคลนั้นไม่สามารถบอกคนอื่นได้ นอกจากผลงานของคน ๆ นั้น...ดังนั้น สมรรถนะ จึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการที่จะนำมาเป็นเครื่องวัดความสามารถของบุคลากรนั่นเอง...

หมายเลขบันทึก: 437017เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ...ท่าน ผอ.บวร...

  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท