ผลการจัดงาน KM กับบัณฑิตอุดมคติไทย : (3) สืบเนื่องจากการทำ AAR ในช่วงสุดท้าย


อีกครั้งหนึ่งครับเพราะเป็นเรื่องสำคัญมากคือผมอยากจะเน้นว่า “KM ต้องรู้จักประยุกต์ใช้และต้องทำอย่างต่อเนื่องครับ” ไม่ใช่จัดการอบรมเสร็จแล้วก็เลิกลากันไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง

         ในช่วงสุดท้ายของโครงการเราจัดให้มีการเขียนและพูด AAR กันอย่างจุใจ ซึ่งในช่วงนี้ดำเนินการโดย คุณวันเพ็ญ ตันจันทร์กูล จากสำนักหอสมุด มน.

         เนื่องจากผมต้องการให้ทุกคนได้ Reflect โดยไม่ต้องเกรงใจกันมากจนเกินไปจึงได้เกริ่นบอกตั้งแต่เช้าของวันที่ 2 (8 ส.ค. 49) แล้วว่าพวกเราก็เป็นเพียงคุณอำนวยหรือวิทยากรกระบวนการฝึกหัดเท่านั้นยังต้องการ “การติเพื่อก่อ” เพื่อการเรียนรู้อีกมาก

         ปรากฏว่าได้ผลครับ หลายคนพูดถึงสิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหวังกันหลากหลายทำให้เราได้รับรู้สิ่งที่อยู่ในใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่เราบางทีก็คาดไม่ถึงเหมือนกันว่าเขาจะคิดแบบนั้น แต่ส่วนใหญ่ข้อคิดเห็นก็เป็นในเชิงบวก เชิงให้กำลังใจกับการจัดงานครับ

         ผมต้องขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่านอีกครั้งที่ให้ความร่วมมือด้วยดีตั้งแต่ต้นจนจบทำให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายทุกข้อ

         ผมมีบางประเด็นที่ยังเป็นห่วงและอยากจะขอแสดงความคิดเห็นไว้ในที่นี้ครับว่า

         • KM เน้นที่  Tacit knowledge เป็นความรู้ปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น

         • การมีทิศทางและฝันร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการดำรงอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของความเป็นเครือข่าย

         • มีบางท่านยังคงเหนียวแน่นอยู่กับการ “รอรับความรู้” จากวิทยากรมากจนเกินไป ต้องพยายามช่วยกันปรับจาก “Teacher centered” มาเป็น “Learner centered” ให้มากขึ้นครับ

         • อีกครั้งหนึ่งครับเพราะเป็นเรื่องสำคัญมากคือผมอยากจะเน้นว่า “KM ต้องรู้จักประยุกต์ใช้และต้องทำอย่างต่อเนื่องครับ” ไม่ใช่จัดการอบรมเสร็จแล้วก็เลิกลากันไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง

         • จุดอ่อนของเราตามที่ทุกท่านได้ให้ข้อสังเกต เราขอน้อมรับไว้ด้วยความรู้สึกขอบคุณที่ชี้แนะและจะนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป ส่วนตัวท่านเองก็อย่าลืมนะครับ เมื่อจัด KM workshop ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะได้ทำได้ดีกว่าเรา

         • ถ้าเป็นไปได้ ควรจำกัดจำนวนคนเข้าร่วมทั้งหมดไม่เกิน 40 คนต่อหนึ่ง workshop เวลาแบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละไม่เกิน 10 คน จะทำให้การสร้างบรรยากาศเป็นไปได้ดีกว่าการจัดในครั้งนี้

         • ท่านลองสังเกตด้วยตัวท่านเองก็ได้ว่า ตอนรับประทานอาหาร หรือ coffee break ด้วยกันที่โต๊ะประมาณ 4 คน ถ้ากำหนดประเด็นการพูดคุยดี ๆ จะเป็นบรรยากาศที่ดีที่สุด จะได้ความคิดใหม่ ๆ ดี ๆ จำนวนมาก ทำได้ทุกวันไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยจัดบรรยากาศเลยครับ

         วิบูลย์   วัฒนาธร 

หมายเลขบันทึก: 43631เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • บันทึกนี้ มาจากประสบการณ์ล้วนๆ เลยครับ
  • ผมร่วมกิจกรรมแบบนี้มาหลายครั้งก็มีความรู้สึกคล้ายๆ ท่านอาจารย์วิบูลย์เลยครับ
  • ช่วงก่อนจัด เราก็มีความกังวลว่า ผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้มาก แต่ละห้องมีคนเกิน 40 คน (มี 6 และ 7 โต๊ะ) ทำให้เราคาดหวังไว้แล้วว่า ภาพรวมของงาน จะมีข้อบกพร่องพอสมควร และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • แต่ในความรู้สึกในช่วงจัดงาน ผมคิดว่า ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ไม่ธรรมดา พบประสบการณ์มาเพียบเลยครับ
  • และทุกครั้งที่จัดงานลักษณะนี้ ทีมผู้ที่เป็นวิทยากร (ซึ่งต้องเรียนไปด้วย ทำไปด้วย) จะเป็นผู้ที่ได้รับประสบการณ์ตรงมากที่สุด
  • และขอเน้นว่า ความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญนะครับ ขอให้มีการดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้ต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท