การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์


RBM
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Results Besed Management : RBM ): RBM คือ? การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึง การบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์หรือความสัมฤทธิผลเป็นหลักใช้ระบบการวัดผลการปฎิบัติงานที่อาศัยตัวชี้วัด ( Key Performance Indicator : KPI ) เป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม กล่าวโดยสรุปการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ อาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ผลสัมฤทธิ์ ( Results = ผลผลิต ( Output ) + ผลลัพธ์ ( Outcomes ))ในอดีตการบริหารของรัฐจะเน้นที่ปัจจัยนำเข้า (Input ) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่รัฐจะนำมาใช้ในการปฎิบัติงาน คือ เงิน คน วัสดุ คุรุภัณฑ์ต่างๆ โดยเน้นการทำงานตามกฎระเบียบ และความถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐาน แต่การบริหารมุ่ผลสัมฤทธิ์ จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ /งาน เป้าหมาย ที่ชัดเจน การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการของทุกโรงการในองค์กรนั้นให้สอดคล้องเป็นไปในทางเดี่ยวกับภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานหลัก ( KPI ) ไว้อย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจของทุกคนในองค์กร มีการวัดความก้าวหน้าของการปฎิบัติงานโดยใช้ตัวชี้วัดดังกล่าว มีการยืดหยุ่นในการบริหารและสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้บริหารระดับล่างอย่างเหมาะสม มีการประเมินผลการปฎิบัติงาน และให้ค่าตอบแทนตามผลงาน ตลอดจนถึงการปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและตรงความต้องการของลูกค้า (Customer ) คือประชาชนปัจจัยหลักพื้นฐาน : ที่ทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จก็คือ การมีระบบข้อมูลที่เที่ยงตรง เชื่อถือได้ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อมูล ตัวชี้วัดผลการปฎิบัติงาน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการปฎิบัติงาน หรือระบบการเงินและบัญชีที่สามารถให้ข้อมูลแยกรายละเอียดโครงการ เพื่อให้ทราบต้นทุน ค่าใช้จ่ายในแต่ละงาน การได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับตัดสินใจได้อย่างถูกต้องการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ อาจสามารถอธิบายอีกแบบได้ว่า เป็นการจัดหาให้ได้ทรัพยากรการบริหารมาอย่างประหยัด (Economy) การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และการได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์การ ( Effectiveness) ความประหยัด ( Economy ) คือการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิต โดยการใช้ปัจจัยนำเข้า (Input ) ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในการผลิตด้วยราคาที่ต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สิ่งนี้ถือว่าเป็นหลักสำคัญของนักบริหารที่ดี การไม่ประหยัดจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรณีของการมีคนงานมากกว่าปริมาณงาน หรือใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีราคาแพง หรือคุณภาพสูงเกินความจำเป็น
ความมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) คือการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า ( Input ) กับผลผลิต (Outputs) ได้แก่ การสร้างผลผลิตในระดับที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า ความมีประสิทธิภาพ สามารถวัดได้ โดยการนำปัจจัยนำเข้าจริง หารด้วยผลผลิตจริง หากได้ค่าที่น้อยแสดงว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า การเพิ่มขึ้นของปัจจัยนำเข้า ซึ่ง ( Productivety ) คือการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยนำเข้าคงที่ หรือโดยการประหยัด (Economizing ) คือ รักษาระดับผลผลิตให้คงที่แต่จะลดปัจจัยนำเข้าลงความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือการเปรียบเทียบระหว่าง วัตถุประสงค์ กับ ผลลัพธ์ ของโครงการซึ่งหมายถึง ระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าของโครงการนั้นๆ ว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงไร ความมีประสิทธิผล มีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตและผลลัพธ์
วัตถุประสงค์ ( Objectives ) เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ของงานที่ต้องการทั้งในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาวปัจจัยนำเข้า ( Input ) ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การให้บริหารหรือการปฎิบัติงาน เช่น เงินทุน คน อาหาร เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา กฎ ระเบียบ และการรักษาชื่อเสียงขององค์กร เป็นต้นกิจกรรม ( Processes ) กระบวนการทำงาน ได้แก่ การนำปัจจัยนำเข้าทั้งหลายมาผ่านกระบวนการ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตามมาตรฐานคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ผลผลิต ( Outputs) คือผลงานหรือผลบริการที่องค์กรผลิตได้ ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆขององค์กร เช่น การออกใบอนุญาต การออกหนังสือสำคัญ บัตรอนุญาตต่างๆ ข้อเสนอแนะผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา หรือการหางานให้ผู้ว่างงานเป็นต้นผลลัพธ์ ( Outcomes ) คือผลกระทบ ผลต่อเนื่อง ที่เกิดจากผลผลิตหรือผลงานที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้รับบริการ เช่น ผู้รับบริการได้รับใบอนุญาต เป็นผลให้การประกอบอาชีพมั่นคงขึ้นซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลก็ให้พวกเราข้าราชการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ คำนึงถึงต้นทุน และผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากันหรือเปล่าในการลงทุนหรือการทำงาน ทุกคนต้องช่วยกันนะครับ ช่วยชาติประหยัด แล้วเราจะอยู่รอดได้ การทำงานหากเอาใจลงไปทำด้วยทุกอย่างสำเร็จแน่นอน แต่ถ้าขาดกำลังใจท้อถอย ต้องเติมพลังให้ตนเองโดยวิธีต่างๆที่เหมาะสมตามสถานการณ์ก็จะค่อยๆดีขึ้นเองครับเพราะทุกวันนี้มีงานทำก็มีเงินเลี้งดูครอบครัวผมคิดว่านี่แหละคือผืนนาที่เราต้องช่วยกันถางถางงอกงามต่อไป จริงไหมครับ พงษ์ศักดิ์. มุนแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนควารู้ สพท. ขอนแกน เขต 1 [ออนไลน์] 17 ก.ค. 2548 [อ้างเมื่อ 11 พฤศจิกายน 48]. จาก http://www.kkzone1.go.th/webbkm/webboard.php?page=4
คำสำคัญ (Tags): #rbm
หมายเลขบันทึก: 43562เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท