คนค้นคน ค้นหาคนเก่งคนดีสู่เวทีแลกเปลี่ยนแก้จน


ผมแอบถามผู้ใหญ่อาคมเมื่อตอนพักย่อยว่า ผู้ใหญ่มีวิธีการค้นหาคนเก่ง คนดี ผู้มีประสบการณ์อย่างไร ผู้ใหญ่อาคมก็บอกว่า ก็ใช้การติดตาม เยี่ยมเยียนลูกบ้าน การประชุมลูกบ้าน การอาศัยข้อมูลการพัฒนาที่หน่วยงานต่างๆมาทำในหมู่บ้านแล้วทิ้งร่อยรอยไว้ และเสียงพูดต่อๆกันไปแบบปากต่อปากของลูกบ้านว่าใครเก่ง ใครดี ใครมีประสบการณ์เรื่องอะไร
  •  ค้นหาประกายความสำเร็จ

  • การขยับสู่เป้าหมายแก้จนที่วางไว้ จำต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใครคือผู้ที่ควรแก่การมานำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีวิธีการค้นหาคนเก่ง คนดี ความสำเร็จเล็กๆของผู้คนในหมู่บ้านให้พบ แล้วนำสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างไร
  • นายอาคม สุวรรณปากแพรก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลบางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช หรือผู้ใหญ่คม หนุ่มไฟแรง ในฐานะแกนนำหมู่บ้าน หรือคุณอำนวยหมู่บ้าน เป็นผู้นำที่มีทักษะและความสามารถในการเป็นผู้นำ เป็นนักพัฒนา และเป็นนักจัดการความรู้ที่ ดังที่ผมจะเล่าต่อไปนี้
  • เมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2549 ที่วัดมัชฌิมภูมิ บ้านมะขามเรียง หมู่ที่ 1  ตำบลบางจาก เป็นเวทีแก้จนครั้งที่ 3 ของหมู่บ้าน ผมได้เข้าร่วมในเวทีด้วย เวทีวันนั้นหลังจากที่ทีมคุณอำนวยตำบล ประกอบด้วยคุณจุรี บันเทิงจิตร พัฒนากร คุณกนต์ธร พงศ์กระพันธุ์ หรือน้องจักร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อบต.บางจาก น้องมนัสชนก จันทิภักดิ์ หรือน้องแต้ว ครูอาสาฯ และสมทบด้วยน้องสำราญ เฟื่องฟ้า ครูอาสาฯ (รายหลังสุดชอบช่วยเพื่อนเพราะมีประสบการณ์เยอะมาก.....ถ้าประกวดยอดคุณอำนวยตำบล น่าจะเข้าป้ายได้...หยอกเล่นครับ) ได้กล่าวทบทวนเวที 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งคุณอำนวยกระตุ้นให้ทุกคนในกลุ่มได้ร่วมกันทบทวน และบอกเป้าหมายของเวทีวันนี้ว่าเพื่อร่วมกันค้นหาคนเก่งคนดีของหมู่บ้าน เพื่อให้บุคคล /กลุ่มบุคคลดังกล่าว เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นผู้รู้ นำการแลกเปลี่ยน ให้เป้าหมายแก้จนที่ได้กำหนดไว้ สู่การปฏิบัติกันอย่างจริงจังและเข้มข้น
             ผู้ใหญ่ อาคม สุวรรณปากแพรก หรือผู้ใหญ่คม ม.1 ต.บางจาก
  • จากนั้นผู้ใหญ่อาคม ก็ทำหน้าที่ของคณอำนวยหมู่บ้าน ทบทวนบทเรียนสองเวทีที่ผ่านมา แต่ผมจะไม่กล่าวถึงตรงจุดนี้นะครับ เพราะผมสนใจเรื่องความสามารถของผู้ใหญ่อาคมในการ ค้นหาคนเก่ง คนดี คนที่มีประสบการณ์แก้จน ในหมู่บ้าน นอกหมู่บ้านเพื่อนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงเรียนรู้ของหมู่บ้าน
  • ผู้ใหญ่อาคมบอกว่า ประสบการณ์การทำงานพัฒนาของท่าน ก็ส่งเสริมลูกบ้านในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ปฏิบัติการแก้จนอยู่แล้ว จึงมีลูกบ้านที่จะจะนำมาสู่การแลกเปลี่ยนแก้จนในโครงการนี้ได้หลายคน จากนั้นก็ตั้งประเด็นให้แต่ละคนระดมความคิดกันมาว่าใครเก่ง มีประสบการณ์เรื่องใด ทั้งในหมู่บ้านตัวเองและหมู่บ้านใกล้เคียง
  • เท่าที่ผมบันทึกได้นะครับ เวทีเรียนรู้นั้นเขาพูดกันว่า.......
  • ถ้าเรื่องการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวก็ได้แก่น้องผู้ชายคู่แฝด คือ น้องเสกสรรค์ คองอ่อน หรือชื่อเล่นบ่าว  ซึ่งจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร กับน้องเสกสิทธิ์ คองอ่อน หรือ หรือชื่อเล่นน้อง ซึ่งจบจากเพาะช่าง เปอร์โทร 01-5588751 ซึ่งในวันนั้นก็ได้มาปรากฏตัวที่เวทีเรียนรู้ด้วย
  • ถ้าเป็นประเภทเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ก็ เช่น คุณสำเร็จ ศรีสง มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงเป็ด จาก หมู่ที่ 1 คุณสรินทร์ธร มิตรปล้อง มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงไก่จาก หมู่ที่ 1 คุณเฉลิมพร สุวรรณปากแพรก มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงไก่จาก หมู่ที่ 2 คุณพิตรา จินพล  มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงเป็ด  จาก หมู่ที่ 5 คุณเสวียน ชุมจันทร์ มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงไก่จาก หมู่ที่ 1คุณนิกร ชุมจันทร์ มีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงไก่จาก หมู่ที่ 1
  • ถ้าเป็นเรื่องปลูกผัก ปลูกพืช ก็เช่นคุณสุจินต์ คงแดง และนายวัชรินทร์ คงแดง เบอร์โทรศัพท์ 04-6612005  สองพ่อลูก บ้านเลขที่ 121/7 หมู่ที่ 1 มีประสบการณ์ด้านการปลูกมะเขือ พริกขี้หนู และคุณสุเมธ บุญทองจันทร์ มีประสบการณ์ด้านการปลูกบวบ เป็นต้น
  • ค้นหากันต่อไปว่าใครในหมู่บ้านที่ไปดูงานหรืออบรมอะไรมาจากที่ไหน ในที่สุดได้รู้ร่วมกันว่า เช่น หมอดินอาสาฯ ประมงอาสาฯ ของหมู่บ้านเป็นใคร
  • เมื่อระดมความคิดว่าผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์เป็นใครอยู่ที่ไหน มีประสบการณ์ในเรื่องใด ก็ร่วมกันคิดวางแผนว่าจะไปศึกษาเรียนรู้ถึงที่ตรงนั้น ครัวเรือนที่มีประสบการณ์นั้นวันไหน แผนการเรียนรู้ ผู้ใหญ่ทำการนัดหมาย และไม่ลืมบอกว่าให้นำบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอนไปด้วย ตอนที่ไปศึกษาเรียนรู้
  • ผมแอบถามผู้ใหญ่อาคมเมื่อตอนพักย่อยว่า ผู้ใหญ่มีวิธีการค้นหาคนเก่ง คนดี ผู้มีประสบการณ์อย่างไร ผู้ใหญ่อาคมก็บอกว่าก็ใช้การติดตาม เยี่ยมเยียนลูกบ้าน การประชุมลูกบ้าน การอาศัยข้อมูลการพัฒนาที่หน่วยงานต่างๆมาทำในหมู่บ้านแล้วทิ้งร่องรอยไว้  และเสียงพูดต่อๆกันไปแบบปากต่อปากของลูกบ้านว่าใครเก่ง ใครดี ใครมีประสบการณ์เรื่องอะไร 
  • ผมคิดว่าประสบการณ์การค้นหาคนเก่ง คนดี และผู้มีประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาคม จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ของเวทีเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน เป็นบรรยากาศที่คึกคัก น่าอยู่น่าเรียน ชาวบ้านเข้าใจกระบวนการเรียนรู้แก้จนได้ดี เพราะมีพี่เลี้ยงอย่างทีมคุณอำนวยตำบลคอยประสาน อำนวยความสะดวกให้  สังคมเรียนรู้ย่อมๆ ในครัวเรือน ในหมู่บ้าน เกิดขึ้นได้ไม่ยากครับ

 

หมายเลขบันทึก: 43532เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Dear Teacher Nong

 Tacit knowledge from our tour_guide in HK,the government here will takecare all poor people,they will give a chance for them.

นำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวมาฝากคะ...

ไปที่นี่..ได้เลยคะ "กะลา DM"

  • ของดีๆ มีอยู่มากมายแล้วนะครับ
  • ใช่เลยครับ คนค้นคน ยอมรับความรู้และให้โอกาส นำสิ่งดีๆ มาส่งเสริม/ลปรร

เรียน อ.หมอ JJ

อาจารย์มาเป็นภาษาต่างประเทศอย่างงี้ ผมต้องรบกวนคนที่บ้านช่วยแปลครับ ดีครับมาอย่างนี้บ่อยๆจะได้สร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัว เป็นครอบครัว KM ไปเลย รัฐบาลที่ฮ่องกงเขาส่งเสริมคนจนเขาดีกว่าที่รัฐบาลไทยส่งเสริมอีกหรือครับ อาจารย์ช่วยเล่าหน่อยครับ จะได้ดึงมาปรับใช้ ขอบคุณครับ

Dr.Ka-Poom    ครับ ขอบคุณที่ลิ้งข้อมูลมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรียน คุณสิงห์ป่าสัก

กระบวนการค้นหา ทำงานแล้ว ค้นพบแล้วว่าคนเก่งคนดีคนมีประสบการณ์อยู่ที่ครัวเรือนไหน หรือที่หย่อมบ้านไหน จากนั้นจะจูงใจอย่างไรให้เขามีใจแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ เพราะถ้าเขาไม่มีความสุขที่จะเล่าหรือแบ่งปัน มันก็ไม่ควรทำใช่ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท