KM ที่รัก ตอนที่ 39 "Grouded Theory" ทฤษฏีจากฐานราก


เราต้องการอะไรจากงานวิจัยของเรา

        "การสร้างความรู้" เป็นพลอยได้ของการวิจัย Methodology เป็นกระบวนการที่จะเป็นพาหะไปสู่ความรู้ ที่เราต้องการค้นหา Grounded Theory เป็น Methodology แบบหนึ่งที่จะทำให้สู่กระบวนการ สร้างทฤษฏีจากส่วนมาก

        การสร้างความรู้ มีวิธีการสร้างอยู่ 2  แนวทาง คือ

       1.การสร้างความรู้จากข้อมูลที่เราเห็น

       2.การพิสูจน์โต้แย้งทฤษฏี เพื่ออธิบายว่าไม่ใช่ ไม่เป็นไปตามทฤษฏี เพราะอะไรอย่างไร

          ทั้ง 2 อย่างนี้ต้องหาข้อมูลมากพอ อย่างเป็นระบบ และการลงความเห็นที่ไม่มีข้ออคติ  เราก็จะได้ความรู้ ซึ่งก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ

        1.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์(จริงแท้)

         2.ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ ความรู้เองเราจะนำไปเพื่อเอางานวิจัยของเราไปนำเสนอต่อสาธารณะชนในสิ่งที่เราทำ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น

        1. เพื่ออธิบาย What   Where When Why  How

       2.เพื่อทำนายจะมีอยู่ 3 ส่วน 1).ข้อมูลจริงที่มีอยู่ในพื้นที่ในเวลานั้น

                      2).สิ่งที่เรากำหนดขึ้น(ตัวแปร) 3).ผลที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน

        3.เพื่อทำความเข้าใจ ( How   What )

             ลักษณะทั่วไปของการแสวงหาความรู้จะประกอบไปด้วย Methodology  ความถามวิจัย,จุดมุ่งหมายในการวิจัย (เพื่ออธิบาย,เพื่อทำนาย,หรือเพื่อทำความเข้าใจ) วิธีการที่ดีที่สุดที่จะนำไปสู่การใช้ Grounded  Theory จะต้องหาผู้ที่จะให้ข้อมูล ,วิธีการที่จะวิเคราะห์ข้อมูล,การค้นหาคำถามวิจัย และการตั้งคำถามและการค้นหางานวิจัย เราคงจะต้องย้อนกลับไปในชุมชน ถามเขาว่าเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง เกิดปัญหาจริงหรือเปล่า ชุมชนจะได้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยหรือไม่ การเลือกตัวอย่าง ( Sample) ตัวอย่างจะมีมากน้อยไม่ใช่สาระสำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ ตัวอย่างที่สามารถบอกเรื่องนั้นได้มากที่สุด ครบถ้วนที่สุด, แค่ 5 คนก็เพียงพอแล้ว    ในทางตรงกันข้ามแม้มีมากข้อมูลมากแต่ไม่ได้บอกความสำคัญของเรื่องก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อเราสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย  เมื่อเกิดการตอบซ้ำเป็นประเด็นเดียวกันหลายๆคน ก็สามารถหยุดเก็บข้อมูลแหล่งนั้นได้เลย นำคำตอบแต่ละคนมาเปรียบเทียบและตีความหมาย

      สรุปแล้วขึ้นอยู่กับตัวเราเองสำคัญที่สุดคือคำถามของหลักของเราว่าเราอยากรู้ในเรื่องที่เราทำการวิจัยคืออะไรซึ่งก็เป็นหัวใจหลักของการทำวิจัยจริงๆ               

หมายเลขบันทึก: 43451เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท