Km เมืองนคร


หาวิธีการทำงานภายใต้ข้อจำกัดให้สำเร็จ

เมื่อวาน(7 ส.ค.) ทีมจัดการกลางโครงการKMเมืองนคร(ทีมกศน.)   แวะมาคุยกำหนดการประชุมวันที่11ส.ค.นี้
เริ่มด้วยข้อกังวลเรื่องการประเมินจากสนง.ตรวจเงินแผ่นดิน เพราะเท่าที่เห็นมา มีความเข้มข้นมาก จะประเมินผลโครงการจากวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับอย่างละเอียด ซึ่งเมื่อดูแล้ว KM แก้จนเมืองนครตั้งเป้าหมายไว้400หมู่บ้านจำนวน25,600คน ด้วยงบประมาณ14.9ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 5,820 บาท จะถูกประเมินว่านำไปซื้อลูกวัว ปั้มน้ำ ฯลฯให้ชาวบ้านไม่ดีกว่าหรือ ?(เปรียบเทียบให้เห็นเป็นตัวอย่าง จากโครงการที่ได้ฟังมา) แต่แม้ว่าจะซื้อของแจกชาวบ้านก็ต้องมีงบบริหารจัดการ เช่น ค่าดำเนินการรวบรวมรายชื่อ ประมูลสินค้า อื่นๆอีก คงเหลือแจกเป็นเงินซื้อของให้ชาวบ้านคนละประมาณ 4,000 บาท    (ก็ยังดีกว่ารึปล่าว?)

แนวคิดนี้ เป็นที่มาของหลายๆนโยบายทั้งที่ต่อท่อตรง เช่นกองทุน   หมู่บ้าน เอสเอ็มแอล และโครงการแจกวัว หรือเปล่า?

ข้อที่ทีมรับผิดชอบโครงการต้องตระหนักคือ แนวคิดและเป้าหมายของโครงการที่ต้องการพัฒนากระบวนการประชาคมให้มีความเข้มแข็งสมบูรณ์เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง นั่นคือ พัฒนาให้วิถีชีวิตของครัวเรือนเป้าหมายมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ ทำการอย่างมีเหตุผล ด้วยความรู้และคุณธรรมโดยการเรียนรู้จากกันและกัน

แต่เราจะทำให้เกิดผลอย่างนั้นขึ้นได้อย่างไรกับช่วงเวลาสั้นๆและข้อจำกัดอื่นๆอีกมากมาย

โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาการเรียนรู้ตามปรัชญาการศึกษาทั้งในส่วนของชุมชนและหน่วยงานสนับสนุน ดังที่สรุปกันว่า ทุกคนเป็นนักเรียน จึงไม่ใช่เรื่องที่จะหวังผลสำเร็จ และมีตัวชี้วัดการประเมินง่ายๆ หากเราจะพัฒนาเป็นสังคมฐานความรู้

เราคิดว่าจะต้องร่วมกันทำทั้งระบบ แต่ก็ทำได้ตามที่ตั้งใจไว้ค่อนข้างยาก บันทึกของคุณชาญวิทย์ จากอ.พระพรหมบอกให้ทราบว่า
หน้างานของเรามีมากเหลือเกิน และต่างก็ลงไปที่ชุมชน จนบางท่านบอกว่าชุมชนถูกกระทำย่ำยี

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และพยายามแก้ปัญหานี้ แต่ก็ทำได้ไม่มาก ผมเห็นว่า งบบูรณาการควรกองรวมกันเป็นกองเดียวเพื่อทำโครงการจัดการความรู้โดยใช้งบโครงสร้าง(ที่แยกกันทำ)เป็นฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกัน

ที่ผมบอกว่า1+1+1+1เท่ากับ0
ผมเข้าใจว่าท่านผู้ว่าก็คงทราบดี แต่ท่านก็ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยน ก็น่าจะเป็นประเด็นเรียนรู้เพื่อปรับแก้ไขกันในปีต่อๆไป

สำหรับเวทีคุณอำนวยกลางและอำเภอวันที่11ส.ค. เรามีเวลา4ชั่วโมง สรุปกันว่า เริ่มรายการให้ฝ่ายจัดการนำเสนอแนวทางการประเมินโครงการของหน่วยงานตรวจสอบ เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ ตัวชี้วัดกันให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

จากนั้นจะแบ่งกลุ่มย่อยเป็น5โซนเพื่อสรุปบทเรียนใน3เวทีที่ผ่านมา โดยให้อำเภอเล่าตัวอย่างรูปธรรมความสำเร็จของกลุ่มเป้าหมายระดับ ครัวเรือนที่ลงไปดำเนินการ
จากนั้นนำเสนอกลุ่มใหญ่โดยคุณลิขิตประจำกลุ่มซึ่งทีมกลางจัดไว้ให้

ภาคบ่ายจะหารือยุทธวิธีเพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และตัวชี้วัดต่างๆ จากสภาพจริงในพื้นที่ ที่ทีมงานรู้อยู่เต็มอก
สรุปคือ หาวิธีการทำงานภายใต้ข้อจำกัดให้สำเร็จ

สำหรับการแก้ไขปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดสำคัญ จะนัดหารือท่านผู้ว่า      คุยกันในวงเล็กๆอีกครั้งหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #km#เมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 43318เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • จะให้เขาประเมินว่านำเงินจำนวนนี้ไปซื้อลูกวัว ปั้มน้ำ ฯลฯให้ชาวบ้านดีกว่าหรือไม่ ไม่ได้ ต้องช่วยกันพูด ตรวจสอบเป้าหมายโครงการอีกทีดีไหม
  • เงินจำนวนนี้ลงทุนกระบวนการเรียนรู้ให้ครัวเรือนที่ี่ี่เข้าร่วมโครงการมิใช่หรือ  น่าจะกำหนดตัวชี้วัด และวัดกระบวนการเรียนรู้
  • พูดกันจนเป็นที่เข้าใจแล้วมิใช่หรือว่า KM แก้จนเมืองนคร ลงทุนทุนความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ให้ชาวบ้าน ส่วนทุนแก้จนอาศัยทุนดำเนินการจาก ทุนของครัวเรือนเอง บูรณาการ เชื่อมการพัฒนา หรือต่อท่อ กับท้องถิ่น ส่วนราชการ ฯลฯ
  • รูปธรรมการแก้จนได้หรือไม่ เช่น เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หรือออม น่าจะเป็นเป้าหมายรองจากรูปธรรม / นามธรรม ความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึกหรือ เคล็ดวิชาที่เกิดขึ้นในคน

 

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่ง
แต่ทราบว่าเขาจะสุ่มตรวจทีมงานและกลุ่มเป้าหมาย อาจารย์คิดดูครัวเรือนเป้าหมาย 25,600 คน
ทีมงานคุณอำนวยตำบล อำเภอ จังหวัด ? คน
เข้าใจแนวคิด กระบวนการของโครงการนี้มากน้อยเพียงไร ทีมจัดการกลางหวั่นเรื่องปริมาณนะครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ไม่ทราบว่าอาจารย์ยังจำผมได้อยู่หรือเปล่าครับ ได้เจออาจารย์ครั้งที่อาจารย์มาเป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยกองทุนหมู่บ้านฯ กับ ดร.ปรีชา และดร.มารุตน่ะครับ
  • ผมเข้ามาติดตามอ่านบันทึกของอาจารย์เรื่อย ๆ ครับ แต่ยังมิได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของอาจารย์สักทีต้องขออภัยด้วยครับ
  • ต่อไปจะเข้ามาติดตามบันทึกของอาจารย์เรื่อย ๆ ครับ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท