เรียนรู้จาก University Social Responsibility (USR) : ไม่ใช่ CSR


สอนเด็กๆ ให้รับผิดชอบต่อสังคม โดยเริ่มต้นจากตัวเองก็ได้แฮะ

         วันศุกร์ที่ผ่านมา อ้อ ได้มีโอกาสดีเรียนรู้เรื่อง "มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ USR : University Social Responsibility"   ได้ฟังวิทยากรที่ปลื้มมากๆ ค่ะ คือ อ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  และนอกจากนี้ยังได้ คุณศนินุช  สวัสดิศร มาเป็นวิทยากรเสริมด้วย     มีหลายประเด็นที่น่าสนใจมากกก  แต่ขอหยิบยกมาเล่าแค่บางประเด็นที่ชอบนะคะ

 

        เอ๊ะ!.... มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ University Social Responsibility (USR)  มันต่างจาก CSR (Corporation Social Reponsibility)  ที่ตอนนี้บริษัทต่างๆ เขาฮิตกันยังไง?   

         คุณศนินุช บอกว่า  CSR มักจะเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร แบบที่เริ่มต้นจากปัญหา (ปลายเหตุ) เช่น บริษัทออกไปดูแล หรือทำประโยชน์ให้ชุมชนรอบข้างที่มีปัญหา ไปบริจาคของ ไปร่วมสร้างโรงเรียน/ห้องสมุด  โครงการปลูกป่า ฯลฯ   แต่ USR เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย แบบที่เริ่มต้นที่ต้นเหตุ (ก็คือ ตัวนักศึกษา อาจารย์ บุคคลากรในมหาวิทยาลัย ระบบของมหาวิทยาลัย)  

         อธิบายให้ละเอียดมากขึ้น จากที่ฟัง อ.ไพบูลย์  เสนอสิ่งที่ท่านคิดนะคะ   ว่าถ้ามองความรับผิดชอบต่อสังคม  มุมมองนึงคือ ให้เอา "สังคม"  เป็นตัวตั้ง    สังคมของมหาวิทยาลัยก็หมายรวมถึง  สังคม (ที่รวมนักศึกษาด้วย)    

        ฉะนั้นถ้ามหาวิทยาลัย สามารถสร้าง/ ผลิตนักศึกษา หรือบัณฑิต ที่มีความดี (ทำสิ่งที่เป็นคุณ ไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ)     สร้างบัณฑิต ที่มีความสามารถ (คิด,ทำ,จัดการ, ปฏิสัมพันธ์ดี)   สร้างบัณฑิต ที่มีความสุข (กาย,ใจ,ปัญญา)    เราก็จะได้คน หรือบุคคลากรของสังคม ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  .....แล้วสังคมโดยรวมก็จะดี มีความสามารถ และสังคมเป็นสุข  ^_^ (ช๊อบ ชอบ ความคิดนี้ค่ะ)

 

        เอามาคิดต่อเองง่ายๆ ....งั้นก็แสดงว่า เราสามารถสอนเด็กๆ ตั้งแต่เล็ก ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมก็ได้สิ    คิดเอาเองนะคะ (อาจผิดก็ด้ายยยยย)  เอาหลานสาว 5 ขวบ และเด็กวัยอนุบาลเป็นกลุ่มเป้าหมาย    เช่น 

  • สอนให้เด็กน้อยกินข้าวให้หมด ไม่กินเหลือทิ้งๆ ขว้างๆ เพราะยังมีคนอีกเยอะอดอยากไม่มีอาหารกิน  
  • สอนให้เด็กรู้ว่าจะไม่ทิ้ง/สร้างขยะให้มาก เพราะจะลำบากคนเก็บ/กำจัด และสร้างมลภาวะให้โลก
  • สอนให้เด็กแบ่งของเล่นกับเพื่อน  แบ่งของกินให้เพื่อนบ้าง  ฯลฯ

 

        +5555 เอาง่ายๆ แค่นี้ก่อน  พอจะถือว่าสร้างเด็กน้อยให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Children Social Responsibility) ได้มั๊ยเนี้ยะ   พอจะเป็นคุณสมบัติของเด็กในอนาคต (ศตวรรษที่ 21) ที่เราอยากได้ไหมคะ   ^_^

  

คำสำคัญ (Tags): #csr#USR#University Social Responsibility
หมายเลขบันทึก: 433059เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2011 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอให้กำลังใจ
  • "สร้างเด็กน้อยให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม"ค่ะ

พี่อ้่อคะ ที่ว่ามานี้ พอจะเทียบได้กับโครงการเด็กไทย "โตไปไม่โกง" ได้ไหมคะ

เพราะต้องปลูกฝัง ความคิด ความเข้าใจหลายๆอย่างเลย .......กิ๊ก

ความเห็นส่วนตัว:น่าจะคล้าย "โตไปไม่โกง"  แต่ช่วยกันทำงานคนละส่วน

สำหรับ "งานครูเพื่อศิษย์" น่าจะเน้น ครูทำ  ดูผลลัพท์ที่เกิดในเด็ก แล้วย้อนไปให้รางวัลครูตัวจริง

ส่วน "โตไปไม่โกง" ต้องเน้นเปลี่ยนกระแสสังคม

อาจจะมีเรื่องซ้อนทับกันบ้าง  บางเรื่องช่วยกัน แต่ไม่พยายามทำเรื่องเดียวกัน

จะได้ไม่กลายเป็นแย่งกันทำงานด้วย ^_^

 ปล. ไปดึงมาเป็นภาคีมาร่วมงานกันด้วยได้มั๊ยนะ

ขอบคุณค่ะ อ.ลำดวน   ว่าจะชวนพื้นที่สุพรรณ  ทำเรื่อง "ครูเพื่อศิษย์"  ด้วยกันอยู่เชียว  เพื่อเด็กน้อย เด็กใหญ่ของสังคมค่ะ

 

  กิ๊ก, พี่โหน่ง

         โครงการ "โตไปไม่โกง"  ชื่อเจ๋งดีจัง  แล้วเขาทำกับกลุ่มเป้าหมายไหนอ่ะคะ     เออ....แล้วเขารู้ผลได้ยังไงอ่ะ (ว่าเด็กโตไปไม่โกง)???  หรือทำแนวสื่อเพื่อสร้างกระแส เหรอคะพี่โหน่ง 

          เดี๋ยวถ้าสะดวกแวะเข้าออฟฟิศวันไหน    น้องกิ๊ก หรือพี่โหน่ง เล่าให้ฟังหน่อยนะ ^_^

 

ในฐานะที่ผมสอนในระดับอุดมศึกษา และเริ่มจะคลุกคลีกับครูในระดับประถมมัธยมมากขึ้นนะครับ ซึ่งหลายคนมองว่าถ้าเราไม่เริ่มจากเด็ก กว่าจะถึงอุดมศึกษาก็สายเสียแล้ว ตรงนี้ผมอยากจะท้าทายว่าแม้ในระดับอุดมศึกษาเอง ผมก็เห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านจริยธรรม ในด้านความรับผิดชอบของผู้เรียนอยู่ อาจารย์ (ซึ่งจริงๆ มีวิญญาณครู) หลายท่านก็แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนที่พ้นวัยรุ่นแล้วเราก็ยังสามารถจะเป็นผู้ชี้นำทางความคิดและทัศนคติในชีวิตให้เขาได้ อย่างน้อยที่สุด เราควรจะสอดแทรกเอาจริยธรรมในวิชาชีพไปในชั้นเรียน (เช่นเป็นนักข่าวก็ไม่ควรลอกข่าวคนอื่น เป็นนักเขียนโปรแกรม จะลอกโปรแกรมคนอื่นก็ต้องให้เครดิตเขา เป็นนักบัญชีก็ต้องตรวจทานตัวเลขให้ดี) ด้ายการเอาใจใส่ในงานของผู้เรียน คอยให้คำชี้แนะบ่อยๆ นำเอาบุคคลตัวอย่างในสายงานมาพูดคุยในชั้นเรียน ก็ช่วยได้นะครับ

เห็นด้วยกับคุณแว้บเลยค่ะ ชั้นไหนก็แทรกเข้าไปด้วยได้ สำคัญคือ เริ่มจากที่ตัวเองรับผิดชอบต่อตัวเอง (เพราะคุณคือส่วนหนึ่งของสังคม) แล้วค่อยๆขยายไปสู่สังคม อย่างเช่น เด็กเรียนบางสายอาชีพ ก็ใช้ความรู้นั้นแหล่ะค่ะช่วยสังคม อย่างที่เราเห็นเยาวชนวิชาชีพเขาไปช่วยสร้างบ้าน ต่อไฟ (ประสบอุทกภัย) หรือ นัก IT บางโปรแกรม IT ก็ทำเพื่อช่วยสังคมอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท