โรคมือ เท้า ปากเปื่อย


โรคมือ เท้า ปากเปื่อย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามระบบรายงาน

ในช่วงนี้จะมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส อยู่  3 โรค คือโรคไข้เลือดออก , ไข้หวัดนก และ โรคมือ เท้า ปากเปื่อย ( Hand Foot  Mouth Disease )  ซึ่งโรคมือ เท้า ปากเปื่อย เป็นโรคใหม่ที่เจ้าหน้าที่ของเราควรทราบ เพราะสถาบันบำราศนราดูร ต้องมีระบบการเฝ้าระวังและรายงานโรค  พอดีได้อ่านพบในหนังสือหมอชาวบ้าน จึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากเปื่อย มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นความรู้

โรคมือ ปาก เท้าเปื่อย ( Hand Foot Mouth Disease ) สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายชนิดได้แก่ ค็อกแซกกีเอ , บี (Coxsackie A ,B) และ เอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นชนิดที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา เนื่องจากมีความรุนแรงเป็นสาเหตุการตายของเด็กเล็กในประเทศต่างๆ ซึ่งพบน้อย   เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอ ชนิด 16 ที่ทำให้เกิดอาการไม่รุนแรง หายเองได้ โรคนี้พบเป็นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ

อาการของโรค  หลังการติดเชื้อ 3 - 7 วัน จะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หลังจากนั้น 1 -2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม เด็กจะร้องงอแง ในปากจะพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ขึ้นตามเยื่อบุปากตามลิ้นและเหงือก ต่อมาจะกลายป็นแผลตื้นๆ เจ็บมาก จะมีผื่นขึ้นที่มือ เท้า หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า แกมก้น มักไม่คันไม่เจ็บ จะมีอาการไข้อยู่ประมาณ 3 - 4 วัน ก็ทุเลา ส่วนแผลในปากจะหายไปเองภายใน 7 วัน ตุ่มน้ำที่มือและเท้าจะหายไปภายใน 10 วัน ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หายใจเหนื่อยหอบ

การติดต่อ  จากการกินอาหาร  น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้ว หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย

การรักษา  รักษาตามอาการ  ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคัน และเกาจนติดเชื้อแบคทีเรีย กลายเป็นตุ่มหนอง พุพองได้ บางรายอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ไม่รุนแรง จะหายเองได้ภายใน 10 วัน

การป้องกัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันได้โดย

   1. ควรแยกเด็กป่วย ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นๆ ประมาณ 2 อาทิตย์

    2. ล้างมือทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม

   3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น เช่น แก้วน้ำ ขวดนม

       ช้อนชาม เสื้อผ้า ของเล่น เป็นต้น

   4. ฝึกเด็กให้มีสุขนิสัยที่ดี  ไม่ควรให้เด็กดูดนิ้ว หรือเอาของเล่น           ใส่ปาก

สรุปแล้ว โรคมือ เท้า ปากเมื่อย ก็ไม่น่ากลัวเท่าไร  แต่ก็ไม่ควรประมาท  ในแนวทางปฏิบัติของระบบการรายโรค   ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ส่วนใหญ่รายงานตามการวินิจฉัยของแพทย์ ไม่ได้ส่งตรวจหาเชื้อไวรัสเอนเทอโร 71   ส่วนผู้ป่วยใน จะซักประวัติ สอบสวนโรค แพทย์จะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสเอนเทอโร 71

คำสำคัญ (Tags): #สาระน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 43259เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
การป้องกันข้อที่ 4 ถ้าเป็นเด็กเล็ก คงยากนะคะ แต่ถ้าอยู่รพ.ต้องอยู่ห้องเดี่ยวแยกโรค และต้องสื่อสารข้อมูลกับคนเยี่ยมหรือผู้ดูแลเด็กให้เข้าใจ

ขอบคุณเรื่องเล่าเช้าวันนี้ค่ะ

เห็นด้วยกับการป้องกันข้อที่ 4  ค่ะว่าอาจจะทำได้ยากในเด็กเล็ก   คงต้องเป็นหน้าที่ของพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ต้องช่วยกันให้ความรู้ และแนะนำผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก ในกรณีที่มีเด็กป่วยและเข้ามารับการตรวจรักษา ในสถานบริการต่างๆ คิดว่าถ้าเข้าใจคงฝึกเด็กได้ไม่ยากนะ  ที่จะให้เกิดการเรียนรู้

ลูกผมอายุการเจ็บ 2 ขวบมีอาการเจ็บปากและเจ็บคอ ทานอาหารไม่ค่อยได้ แต่ไม่มีไข้ ไปหาหมอมา หมอสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโรคนี้ เพราะเริ่มมีตุ่มแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย หมอจึงให้ยาแก้ระคายคอและยาบ้วนปากมาให้ แล้วให้รอดูอาการที่บ้านไปก่อน ไม่ทราบพอจะมีคำแนะนำในการดูแลเขาในช่วงนี้ไหมครับ

ควรมีรูปประกอบลักษณะโรคมือ เท้า ปากเปื่อย

น้าเกียดมากๆควย

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลลูกดิฉันกำลังเป็นอยู่ขณะนี้

ตอนนี้น้องเป็นอยู่น่าสงสารมาก แต่น่าจะมีรูปประกอบอยากรู้ข้อมูลเยอะกว่านี้

ตอนนี้หลานเป็นอยู่เหมือนกันค่ะน่าสงสารมากหลานอายุ 5 ขวบเด็กผู้ชาย

พอมีอาการตุ่มขึ้นก็เลยไปหาหมอทันทีหมอบอกว่าเป็นโรคมือ เท้า ปากเปื่อย

มีอาการมีตุ่มขึ้น2บวกแต่ไม่มีไข้หมอให้นอน ร.พ. ทันทีและให้ยาเดกซ่า

1 โดส(ไม่ทราบมิลลิกรัม)ไม่ผสมน้ำเกลือ 5 ซีซีเด็กมีอาการแหวะออกมา

ผะอืดผะอม 1บวก หลังจากนั้นเด็กอาการดีขึ้นไม่งอแงไม่มีไข้แต่พอในคืน

ที่ 2 ประมาณ 3ทุ่ม มีไข้ประมาณ 38 c กินยาลดไข้อย่างเดียว เช้าวันที่ 3

มีไข้อยู่ให้ยาลดไข้ตลอดทั้งวัน(ตั้งแต่วันแรกจนวันนี้หมอให้เดกซ่า 1 โดส)

ประมาณ5โมงเย็นหมอมาตรวจพบว่าเด็กมีอาการยืนตรงหลับตาแล้วเซเดินเอียง

1 บวก ตลอดทั้งวันเริ่มมีอาการกระตุกที่ปลายมือนิดหน่อย เกรงเป็นบางครั้ง

หมอเลยให้เดกซ่าโดสที่ 2 ในวันนี้(วันที่3 คราวนี้ผสมน้ำเกลือ 5 ซีซี ยังให้ยาลด

ไข้ควบไปด้วย)เด็กไม่มีอาการเซต่อมาหมอเลยให้เดกซ่าอย่างต่อเนื่องทุกๆ

6 ชม. อีก 6โดส อาการกระตุกดีขึ้นตามลำดับไข้ไม่มี

(อยากทราบว่าการให้เดกซาตั้งแต่วันแรกมีผลต่ออาการทางประสาทของเด็ก

ไหมค่ะแล้วในการรักษาโรคนี้จำเป็นต้องให้เดกซ่ากับเด็กตั้งแต่แรกเลยรึป่าวค่ะ)

หลานชายเกือบจะโดน csf แล้วค่ะแต่ไม่โดนขอบคุณล่วงหน้านะค่ะพอดีแม่ของ

หลานเค้าสงสัยก็เลยมาโพสในนี้ค่ะเด็กเป็นกันเยอะค่ะในช่วงนี้เพราะเท่าที่อ่าน

ในเนตเป็นโรคที่หายเองได้ไม่น่าจะเป็นมากขนาดนี้ถ้าใครทราบช่วยตอบหน่อย

นะคะขอบคุณค่ะส่งมาที่เมลก็ได้ค่ะ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท