วิทยาศาสตร์มวลสาร (Material Science) ในการศึกษาเนื้อพระสมเด็จ และพระเนื้อผง


เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ก็จะเริ่มเข้าใจว่าส่วนใดน่าจะเป็นธรรมชาติ และส่วนใดที่ “โรงงาน” พยายามทำให้ “คล้าย” เพื่อ “ดูดเงิน” จากกระเป๋าของคนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากได้พระ “หลง” “ราคาถูก” มาสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองและพวกพ้อง

หลังที่ผมใช้เวลาพิจารณามวลสารและวิวัฒนาการของพระเนื้อผง โดยเฉพาะพระสมเด็จจากวัดต่างๆมาระยะหนึ่ง ทำให้ผมเริ่มเข้าใจถึงปรากฏการณ์และความน่าจะเป็นของกระบวนการต่างๆทางเคมีและมวลสารที่เกิดขึ้นในพระสมเด็จ ที่เป็นการมองเชิงธรรมชาติธรรมดา ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมองเชิงอิทธิฤทธิ์ หรือ พุทธคุณใดๆ

จากการศึกษาข้อมูลที่มาของเนื้อพระตระกูลเนื้อผง

ส่วนใหญ่จะมาจากปูนเปลือกหอย และน้ำมันตังอิ๊วเป็นองค์ประกอบพื้นฐานเริ่มต้น และมีมวลสารอื่นๆที่เป็น “กาว” เพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ข้าวสุก หรือยางไม้ในรูปต่างๆ และสุดท้ายก็มีผงพุทธคุณที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของพระแต่ละวัด แต่ละกรุ

ที่มีให้มีลักษณะของเนื้อและมวลสารแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในรายละเอียด ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของเนื้อพระสมเด็จแต่ละองค์ แต่ละวัด

โดยเฉพาะวัดระฆัง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดนั้น ถือเป็นทั้งศิลปะที่งดงาม และพุทธคุณที่เลื่องลือ จนทำให้เกิดการผลิต “พระโรงงาน” ออกมาขายให้กับคนที่ไม่รู้เรื่อง และเสียเงินเป็นแสน เป็นล้านกับพระโรงงานเหล่านี้โดยไม่ได้อะไร อย่างมากก็เก็บไว้”ถมบ้าน” แบบแพงที่สุดในโลก

ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่าย และจำได้ง่าย ผมจึงใคร่ขอวิเคราะห์พระเนื้อผง โดยเฉพาะพระสมเด็จในเชิงวิทยาศาสตร์ของมวลสาร ดังนี้

พระสมเด็จที่ได้อายุ จะมีการ “ตกผลึก” ของเนื้อปูนเปลือกหอยเป็นเนื้อหินอ่อน ที่มองแล้วใสปนขุ่นแบบเนื้อหินอ่อน เป็นเกล็ดๆ อยู่ในเนื้อ

ดังนั้นจึงควรดูจากความแกร่งของเนื้อ ที่พิจารณาได้จากผิวบางจุดที่เปิดของพระว่า "มีผลึกในเนื้อแบบ หินอ่อน หรือไม่"

เท่าที่ทราบ พระโรงงานส่วนใหญ่เนื้อจะด้านๆ แบบ “เนื้อไม่ได้อายุ” จากผงปูนอัดหรือไม่ก็อาจจะใช้สารสังเคราะห์จำพวกเรซิน ที่มักจะมีสีขาวด้านๆ ไม่มีเกล็ดข้างใน หรือแม้จะมีเกล็ดก็จะทำผิวยุ่ย ผิวฉ่ำ ผิวแบบเนื้องอก รอยแยกแบบริ้วเล็กๆ บ่อน้ำตา หรือรอยปูไต่ได้ไม่เนียน

เมื่อมีการตกผลึกของเนื้อปูน ก็จะมีการแยกมวลสารอื่นให้เกิดผลึกของตัวเองขึ้น หรือ “ปูด” ไหลออกมาตกตะกอน

  • เป็น “ฟองเต้าหู้ เป็นจุดๆ บนผิวขององค์พระ ที่ดูเป็นเสมือน “เนื้อเกิน” แบบธรรมชาติ ที่มีลักษณะแตกต่างจากร่องรอยการ “โปะ” วัสดุต่างๆไปบนผิว

มวลสารจำพวกน้ำปูนที่ไหลออกมาเคลือบตามผิว และรอยแยก เป็นคราบหินอ่อนงอกสีขาวๆ ที่จะค่อยๆแห้งเป็นสีเทา หรือเหลืองเทาขุ่นๆ

มวลสารจำพวกที่มีน้ำมันมากก็จะไหล หรือซึมออกมาเคลือบด้านนอก เป็นสารเคลือบผิวสีน้ำตาลหรือสีเทา อย่างที่เห็นในพระเนื้อ “เดิมๆ”

แบบเนื้อใน(ถ้ายังมองเห็น)แห้ง เนื้อนอกฉ่ำ

ทำให้ ดูไกลๆแห้ง ดูใกล้ฉ่ำ

  • พระสมเด็จที่มวลสารถูกต้อง ผ่านการสร้างตามวิธีการปกติ และมีอายุกว่า ๑๐๐ ปี จะมีผิวในแห้ง ผิวนอกฉ่ำ เป็นคลื่นแบบหินงอก
  • แต่ในบางองค์ที่น้ำปูนในองค์พระหมด ก็จะเกิดการแยกกร่อนเป็นร่องแบบผิวปูนแตกระแหง
  • บริเวณที่น้ำปูนไหลออกมา จะมีสภาพเป็นหลุม และมีร่องรอย "นุ่มหนึก" นวลตา ของ “ธรรมชาติ” ตามอายุ มากกว่าร่องรอยกระด้างและรอยการตกแต่งผิว
  • พระผิวธรรมชาติจะมีผิวนวลของ "ผงแป้งปูน" แบบเดียวกับคราบเกลือบนดินหน้าแล้ง

การกร่อนของเนื้อใน กับการเคลือบของผิวนอก บางทีก็เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในจุดเดียวกัน หรือต่างจุดในองค์เดียวกันตามสภาพการใช้งานของพระ

พระที่ถูกใช้มามากจะกร่อนมากและอาจมีผิวเคลือบเมื่อมีการนำไปเก็บรักษาไว้อย่างดีในภายหลัง

แต่พระที่ไม่ใช้งานเลย จะมีผิวในแห้งยุ่ย และมีผิวที่มวลสารไหลออกมาเคลือบอยู่ด้านนอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมวลสารตั้งต้น ว่าเป็นเนื้อที่มีของเหลวมาก (ปากครก) มีน้ำมันมาก หรือมีปูนมาก

ส่วนการวางตัวของก้อนผงพุทธคุณนั้น แม้จะมีอายุของก้อนผงไม่ต่างจากเนื้อพระมากนัก แต่เนื่องจากผ่านการ “ตากแห้ง” มาก่อน จึงมักมีร่องแยกจากมวลสารหลักที่เป็นองค์พระอย่างชัดเจน

ในกรณีที่มวลสารมีความชื้นมาก เมื่อแห้งก็จะมีการหดตัวดูย่น ยุบ หรือแยกออกจากกันเป็นรอย “ปูไต่”

สำหรับมวลสารที่สลายตัวง่ายเช่นข้าว และผลไม้ที่บดปนเข้าไป ก็จะเกิดการสลายตัวเกิดเป็นหลุมว่างๆ หรือหลุมที่มีซากมวลสารยุบตัวอยู่ภายใน

เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ก็จะเริ่มเข้าใจว่าส่วนใดน่าจะเป็นธรรมชาติ

และส่วนใดที่ “โรงงาน” พยายามทำให้ “คล้าย” เพื่อ “ดูดเงิน” จากกระเป๋าของคนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากได้พระ “หลง” “ราคาถูก” มาสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองและพวกพ้อง

การมองพระสมเด็จในเชิงวิทยาศาสตร์ของมวลสาร ก็จะทำให้เรามั่นใจในตัวเอง และปลอดภัยในการ “หยิบ” พระสมเด็จมากขึ้น

และแม้จะมี “เซียนวิชามาร” มาตีเก๊พระเรา เพื่อจะกดราคารับซื้อ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว และปล่อยไปง่ายๆ

จำไว้เลยครับ

“ไม่มีใครหลอกคนที่ไม่โลภได้”

ขอให้โชคดี รู้เท่าทันพวก เซียนวิชามาร และได้หยิบพระแท้ๆ ราคาสมเหตุสมผลกันทั่วหน้าครับ

หมายเลขบันทึก: 432234เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมคนหนึ่งละครับ ที่ไม่เคยบูชาแพงๆ มาถมที่

เก่งมากครับ

ผมก็โดนมาบ้าง แต่เปิดทางถอยไว้ก่อน และก็ถอยกลับไปหมดแล้ว

ไม่เจ็บบ้างก็เรียนรู้ช้าครับ แต่เจ็บมากไปก็เรียนช้ากว่าเสียอีก

คนที่เก่งกว่าคือ เจ็บน้อย เรียนเร็วครับ

การเรียนเร็วนี่ช่วยได้มากจริงๆครับ

และการอยู่กับความรู้ ยังไงก็ดีกว่าอยู่กับความไม่รู้ครับ

สวัสดีครับอาจารย์แสวง

         ขอบพระคุณมากครับสำหรับความรู้  โดนมาเยอะพอสมควร  อิอิ

พระพิมพ์ลักษณะพระสมเด็จของปู่โต 2องค์ข้างต้นเป็นพระแท้ มีอายุ104ปี สร้างประมาณพ.ศ.2451 โดยเจ้าคุณชั้นราชฯ วัดระฆัง

จำเป็นไหม พระ 1 องค์ จะต้องมีมวลสารครบนะครับ 

ไม่จำเป็น อิอิอิ และ แม้จะมี ส่วนใหญ่ก็มองไม่เห็นครับ เพราะอยู่ในเนื้อ ถ้ามวลสารโผล่มากๆ มักจะเก๊ครับ อิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท