เวทีชุมชนที่ท่ากระเบา


ย้อนกลับไปมาช่วงทำงานในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ณ จังหวัดอยุธยา
การอบรมครั้งนั้นเป็นการอบรมแบบ On the Job Training
โดยที่ปรึกษาโครงการ นำโดย ท่าน ดร.ปรีชา อุยตระกูล และ รศ.ดร.มารุต ดำชะอม

โดยทีมงานภาคเหนือของเรา
ประกอบไปด้วยสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏลำปาง และสถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ซึ่งผมได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น
ทีมที่ปรึกษาได้ตั้งโจทย์ให้พวกเราลงไปทำงานกับชุมชน
โดยให้ลงไปในพื้นที่จริง ณ บ้านท่ากระเบา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

กิจกรรมเริ่มต้นตั้งแต่การแนะนำตัวทีมงานจากสถาบันราชภัฏภาคเหนือและทีมวิจัยชุมชน

ที่ปรึกษาของเรา รศ.ดร.มารุต ดำชะอม

ร่วมสังเกตการณ์การทำงานของพวกเราครั้งนี้โดยตลอดครับ

หลังจากแนะนำตัวและละลายพฤติกรรมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

กิจกรรมถัดมาก็คือการจัดทำ Time Line

ผังชีวิตชุมชน หรือ ผังชุมชน

เพื่อร่วมกันค้นหา ร่วมกันคิด และร่วมกันย้อนกลับไปถึง "ทุน" ของชุมชนทางด้านต่าง ๆ

 

การได้ร่วมย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน

ก็เป็นการจัดการ "ทุน" ความรู้ และทุนประสบการณ์ที่อยู่ในหัวสมองเราครับ

นอกจากนั้นยังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ให้คนที่อยู่ในเวที

ซึ่งเป็นคนในชุมชนร่วมกันฟังประวัติความเป็นมาของชุมชนตนเองด้วยครับ

ดร.ปาจรีย์ ผลประเสริฐ อาจารย์ของผมเองครับ

ท่านสอนวิชาวิจัยธุรกิจให้กับผม เมื่อครั้งที่เรียนปริญญาที่ที่สถาบันราชภัฏกำแพงเพชรครับ

ตอนนี้เรียนจบแล้ว ได้มาเป็นอาจารย์เหมือนท่าน ดีใจมาก ๆ เลยครับ

และยิ่งได้มีโอกาสทำงานร่วมกับท่านยิ่งดีใจเป็นที่สุดครับ

ในช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มครับ เพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยครับ

ทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีในวันนั้นสามารถแสดงความคิดเห็น และร่วมจัดการความรู้กันได้มากขึ้น

 

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ

ได้ร่วมการแสดงความคิดเห็น อภิปราย แลกเปลี่ยน เกี่ยวกับความเป็นมาและเป็นไปของกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่ากระเบาครับ

 

ประธานกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่ากระเบา ได้อธิบายความเป็นมาผ่าน

Mind Mapping

เมื่อร่วมกันคิดย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไปของชุมชน

ทำให้ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เคยทำผ่านกันมา "ตกผลึก" แบบมีส่วนร่วม

จากการตกผลึกนั้น ทำให้วิสัยทัศน์ในการร่วมกันทำงานชัดเจนมากยิ่งขึ้นไปด้วยครับ

และนี่แหละครับ ครั้งหนึ่งในชีวิต

ครั้งหนึ่งที่ชีวิตนายรักษ์สุขได้ไปร่วมสัมผัสกับสิ่งดี ๆ กับทั้งทีมงาน คณาจารย์และชุมชนที่น่ารักมาก ๆ นามว่า

"ท่ากระเบา"

หมายเลขบันทึก: 43196เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเห็นชื่อ "ท่ากระเบา" แล้วนึกไม่ออก ว่าคล้ายๆอ่าน จากไหนสักแห่ง ...ว่า แต่ตรงนี้มีอะไรเด่นๆบ้างครับ

น่าสนใจนะครับ

แล้วผลการศึกษา เป็นยังไงครับ การบริหารจัดการเป็นเรื่องที่ชุมชนต้องเรียนรู้ และหาจุดที่เหมาะสมแต่ละชุมชน...เพราะจุดแข็งแต่ละที่ไม่เหมือนกัน

คาดว่าอาจารย์ปภังกร จะเขียนบันทึกเรื่องนี้ออกมาเป็นระยะๆนะครับ 

  • "ท่ากระเบา" ที่เด่น ๆ ก็คือภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในชุมชนครับ
  • โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกันกับ "น้ำท่วม" ครับ
  • หมู่บ้านนี้น้ำท่วมทุกปีครับ แต่ทุก ๆ คน ทุก ๆ บ้านก็มีภูมิปัญญาในการจัดการกับชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทุก ๆ คนไม่ทุกข์ครับ
  • สำหรับผลการศึกษานั้น ถ้าเป็นในส่วนรายละเอียดของชุมชน "มิสามารถเปิดเผยได้ครับ" เพราะเป็นสิทธิของชุมชนครับ
  • ผมสามารถนำรอยเท้าและย่างก้าวที่สัมผัสมาเล่าสู่กันฟังได้อย่างเดียวครับ
  • แต่ถ้าเป็นองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการที่ดี อันนี้สามารถเปิดเผยได้ครับ
  • สุดท้าย จะพยายามเขียนบันทึกเรื่องนี้ออกมาให้มากที่สุดครับ เพราะตอนที่ทำงานในโครงการวิจัยกองทุนหมู่บ้านฯ นั้น เป็นไดอารี่ที่เต็มไปด้วยคราบน้ำตา ความรู้ และปัญญามาก ๆ เลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท