ชีวิตอินเทอร์น : พูดถึงศิลปะและ AI ไปด้วยกัน


             ตั้งแต่ได้รับโอกาสให้ไปอ่านบทความเรื่อง  From Deficit Discourse to Vocabularies of Hope :  The Power of Appreciation ของ James  D.  Ludema  ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของหนังสือ เนื่องจากเป็นน้องใหม่ของสคส.   ดิฉันก็นั่งคิดว่าถ้านำเสนอเฉพาะตัวเนื้อหา ผู้ฟังก็จะได้รับประโยชน์จากการลปรร.ครั้งนี้น้อย แต่ถ้าจะนำเสนอสิ่งที่ผู้ฟังควรทำความเข้าใจก่อน เพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาของบทความนั้น จะทำได้ด้วยวิธีใด  

          เนื่องจากดิฉันมีความรู้ทางด้านวิจิตรศิลป์ และมานุษยวิทยา เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจต่อเรื่องราวต่างๆ  ประกอบกับว่ามีประเด็นสำคัญที่ผู้ฟังน่าจะได้รับทราบก่อน คือ· 

  •  ศิลปวิทยาการของโลกตะวันตกมีการจัดการความรู้ด้วยการสั่งสม การนำกลับมาใช้ใหม่กันข้ามยุค ข้ามสมัย 
  •  ศาสตร์ต่างๆที่เกิดขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน มีการ สนทนาระหว่างกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ที่ส่งผลกระทบไปถึงวิธีปฏิบัติ และการยกระดับความรู้ของสังคมสู่กระบวนทัศน์ใหม่ ·      
  •   AI อยู่ในกระบวนทัศน์ของ Postmodern ที่เป็นภาคสลาย โต้แย้ง และเป็นการจัดรูปใหม่ของยุค Modern หรือยุคอุตสาหกรรม 
  •  Postmodern เชื่อว่า ความจริง (สมมติสัจจะ) สร้างขึ้นจากภาษา  หากผู้คนในสังคมใช้ภาษาเช่นไร ตัวคน องค์กร และสังคม ก็จะเป็นไปเช่นนั้น  มีวิธีคิด วิธีพูด และการกระทำที่ส่งผลเช่นนั้น   

         บทความนี้เป็นภาคสลาย โต้แย้ง วิธีคิดที่เรียกว่า “Deficit Discourse” ซึ่งเป็นผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมที่เน้นการมองหาข้อบกพร่อง เพื่อนำไปสู่การแก้ไข (ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง ซ่อมแซมเครื่องจักร แต่นำมาใช้กับคนไม่ได้)  ผู้เขียนได้แนะนำให้ใช้ถ้อยคำที่สร้างให้เกิดความหวัง และได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Hope และ AI ที่มีต่อกัน เพื่อสร้างกระแสให้เกิดการคิดเชิงบวก และใช้พลังจากความชื่นชมยินดีนั้นผลักดันให้เกิดการสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยพลังชีวิต (นำสู่การทำดี พูดดี คิดดี )           ดิฉันจึงมีความคิดที่จะใช้งานศิลปะในยุคสมัยต่างๆ มาเป็นสื่อเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ ในประเด็นที่ได้กล่าวมาแล้ว 

 ภาพแรก   Impression Sunrise ของ Monet, 1872  เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ                   

          เป็นภาพที่ศิลปินถ่ายทอดความประทับใจในแสงและสียามเช้า ด้วยการป้ายสีแต่เพียงหยาบๆ เพื่อเก็บรักษาบรรยากาศในขณะนั้นเอาไว้     

             วิธีวาดภาพเช่นนี้ ทำให้แนวการวาดภาพเหมือนจริงที่มีมาก่อนหน้านี้ กลายเป็นสิ่งเก่า ล้าหลัง เพราะจำกัดขอบเขตของการถ่ายทอดผลงานเอาไว้เฉพาะแค่สิ่งที่ตาเห็น                  

         สิ่งที่ทำให้ศิลปิน และผลงานของเขาเปลี่ยนไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่คือ ความรู้เกี่ยวกับจักษุประสาท ในเรื่องสี และแสง ที่ก่อให้เกิดรูปทรงต่างๆขึ้น  ศิลปินกลุ่มนี้เห็นด้วยกับหลักทฤษฎีเรื่องสี และแสง ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ  และได้ทดลองนำเอาความรู้นี้ไปสร้างสรรค์เป็นผลงานรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยปรากฏขึ้นบนโลกนี้มาก่อน                   

          งานศิลปะที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เป็นงานที่ต้องการความละเอียด ประณีต ดังตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นดังต่อไปนี้

www.sunsite.sut.ac.jp/wm/paint/auth/monet/first/impression/impression.jpg

    ภาพที่สอง   Study of head of Leda ของ Leonardo da Vinci, c.1505 – 7  เทคนิคดินสอบนกระดาษ                   

           ดาวินชี เป็นศิลปินที่นำเอาความรู้ในเรื่องกายวิภาคของมนุษย์ เข้ามาช่วยให้งานศิลปะมีความสมจริงมากขึ้น แม้ว่าภาพนี้จะเป็นเพียงภาพร่างที่เข้าวาดขึ้นเพื่อการศึกษา แต่ก็จะเห็นได้ว่ามีความละเอียดงดงามตามแบบฉบับของงานในยุคคลาสสิคทุกประการwww.visi.com/~reuteler/leonardo.html

  ภาพที่สาม   Discobolos (คนขว้างจักร) ของ Myron, c. 450 B.C. ประติมากรรมรูปหล่อสัมฤทธิ์                   

           กรีกเป็นชนชาติที่นิยมในความเป็นมนุษย์ ไม่มีผลงานของมนุษย์ในยุคสมัยใดที่จะให้อิทธิพลต่อสมัยหลังอย่างมากมายเช่นผลงานของชนชาติกรีก ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียน  ที่เรียกตนเองว่า เฮเลนนิส (Helenes)   

          ศิลปะกรีกนำความงามบริสุทธิ์ของร่างกายมนุษย์ ไปสร้างให้เป็นความงามของเทพเจ้าผู้ไม่มีตัวตน และได้สร้างกติกาของความงามขึ้นมา เพื่อบอกว่าความงามในอุดมคติเป็นความงามที่อยู่เหนือโลก ความงามที่ศิลปะจำลองไว้ได้ก็ยังเป็นความงามที่จำลองมาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งไม่มีวันที่จะงดงามเท่า ความงามในสายตาของกรีกเป็นสิ่งที่ต้องการสัดส่วนเฉพาะ ต้องการความประณีต ต้องการมุมมองที่จะแสดงความงามนั้นออกมา ดังตัวอย่างที่นำมาเสนอwww.mlahanas.de/Greeks/Arts/Discobolos.htm

  ภาพที่สี่   One Hundred  Cans ของ Andy Warhol, 1962  เทคนิคภาพพิมพ์บนกระดาษ                   

          วอร์ฮอล์เป็นผู้นำเอาความธรรมดาที่มีอยู่ทั่วไปในยุคอุตสาหกรรม เช่น กระป๋องโลหะมาให้คุณค่าใหม่ว่า นี่คืองานศิลปะ  ภาพกระป๋องที่เกิดจากการผลิตซ้ำ ที่มีฉลากที่เกิดจากการผลิตซ้ำ กลายมาเป็นโปสเตอร์ที่สามารถผลิตซ้ำได้  สร้างขึ้นมาจากความงามที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับยุคอุตสาหกรรมwww.artcyclopedia.com/artists/warhol_andy.html     

       (แตกต่างจากความงามของยุคคลาสสิคที่มุ่งนำเสนอความเป็นเลิศ  และความเป็นหนึ่งเดียว ที่ต้องอาศัยความพากเพียรในการสร้างงานอย่างสูงยิ่ง เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวชิ้นงานให้มีความหาค่ามิได้ ดังเช่นรูปประติมากรรมที่นำมาแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง) 

         ปัจจุบันนี้ กลุ่มของผู้ที่เป็นผู้นำทางวิธีคิดของโลกกำลังอยู่ในกระบวนทัศน์ของ Postmodern ที่มองว่า ไม่ต้องหาอะไรใหม่ เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรใหม่ นอกจากการตีความของมนุษย์  เพราะความจริงบนโลกนี้ล้วนสร้างขึ้นจากภาษา 

        นักคิดชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Foucault เขียนหนังสือ The Order of Things และ Archeaology of Knowledge ขึ้นมาเพื่อบอกว่า ความจริงสร้างขึ้นมาอย่างไร 

           AI จึงเป็นภาษาในชุดของการสร้างพลังและความหวังให้แก่ผู้ใช้  รวมไปถึงองค์กร และสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นเพียงหนทางหนึ่งของการสร้างความจริงขึ้นบนสมมติเท่านั้น                                               

 

                                               

หมายเลขบันทึก: 43188เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ถ่ายทอดมาให้นะคะ พออ่านบทความของครูใหม่แล้ว เห็นได้เลยว่าตัวเรายังมีความรู้ที่ต้องค้นคว้าอีกมาก จะพยายามศึกษาค้นคว้าต่อไปค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณมองเพลิน ขอให้เพลินกับการศึกษาค้นคว้านะคะ จะคอยเป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท