ผลงานวิจัยกับการพัฒนายุทธศาสตร์ยาเสพติด


ผลงานวิจัยกับการพัฒนายุทธศาสตร์ยาเสพติด

เอกสารประกอบการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)

ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่สำคัญ

 

สถานการณ์/ตัวยาเสพติด 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

มูลค่าการค้ายาเสพติด

ของโลกและประเทศไทย [๑]

-มูลค่าการค้ายาเสพติด (ตามราคาตัวยา) ในตลาดโลก รวม ๔๑๑.๔๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ แยกตามรายตัวยาพบว่ากัญชาเป็นอันดับ ๑ (๑๔๑.๘๐ พันล้านเหรียญฯ) รองลงมาคือโคเคน (๘๘ พันล้านเหรียญฯ) ยาตามใบสั่งแพทย์ (prescription drugs) (๗๒.๕ พันล้านเหรียญฯ) เฮโรอีน (๖๕ พันล้านเหรียญฯ) แอมเฟตามีน (๒๘.๒๕ พันล้านเหรียญฯ) และเอ็กซ์ตาซี (๑๖.๐๗ พันล้านเหรียญฯ) ตามลำดับ  เมื่อดูมูลค่าการค้ารายประเทศพบว่าประเทศที่มีมูลค่าการค้ายาเสพติดสูงสุด ๕ อันดับแรกคือ สหรัฐอเมริกา (๒๑๕ พันล้านเหรียญฯ)  สเปน (๙๕ พันล้านเหรียญฯ) อิตาลี (๘๓ พันล้านเหรียญฯ) แคนาดา (๔๔.๕  พันล้านเหรียญฯ) และเม็กซิโก  (๔๐ พันล้านเหรียญฯ) ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยถูกจัดในลำดับที่ ๑๙ จากทั้งหมด ๓๗ ประเทศที่ปรากฏในรายงาน โดยมีมูลค่า ๒.๙ พันล้านเหรียญฯ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชีย ไทยมีมูลค่าการค้ายาเสพติดสูงกว่าลาว (๕๒๕ ร้อยล้านเหรียญฯ) และพม่า (๑๐๔ ร้อยล้านเหรียญฯ)  แต่มีมูลค่าการค้าต่ำกว่าจีน (๑๗ พันล้านเหรียญฯ)  ญี่ปุ่น (๙.๓ พันล้านเหรียญฯ) ฟิลิปินส์ (๘.๔ พันล้านเหรียญฯ) และอินโดนีเซีย (๔ พันล้านเหรียญฯ) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้มีความแตกต่าง หลากหลายในการประเมินราคา แต่สามารถเปรียบเทียบให้เป็นพื้นฐานในขั้นต้นได้

-ข้อมูลราคายาเสพติดในประเทศไทย แยกรายตัวยา พบว่า โคเคน ๘๖.๙ เหรียญฯ/กรัม เอ็กซ์ตาซี ๔๐.๕ เหรียญฯ/เม็ด เฮโรอีน ๑๐๕ เหรียญฯ/กรัม กัญชา ๑.๔ เหรียญฯ/กรัม และไอซ์ (Meth) ๘๓.๓ เหรียญฯ/กรัม

 

 

 

 

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

สถานการณ์ภาพรวม

-สถานการณ์ยาเสพติดของประเทศระหว่างปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๒ มีปัญหาการผลิต การค้า/ลำเลียง และการแพร่ระบาด โดยตัวยาหลักคือ ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน เอ๊กซ์ตาซี่ และสารเสพติดประเภทวัตถุออกฤทธิ์บางชนิด ปัจจุบันปัญหาที่ยังรุนแรงคือยาบ้า ซึ่งแพร่ระบาดในวงกว้างโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา สำหรับโคเคน เอ๊กซ์ตาซี และยาเค การแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชน ผู้ใช้ในสถานบันเทิง และกลุ่มวัยรุ่นที่มีฐานะดี สารระเหยแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กนอกสถานศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[๒]

ตัวยาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษไอซ์

-ตัวยาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ ไอซ์ มีการนำเข้าจากต่างประเทศในปี ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบันมีการจับกุมลักลอบผลิตโดยการใช้วัตถุดิบในประเทศในลักษณะห้องทดลองขนาดเล็ก ในระยะแรกไม่บริสุทธิ์มีสารเจือปนอยู่มาก เช่น สารส้ม ผงชูรส เป็นต้น มีการจัดเกรดของไอซ์เป็นเอ บี และซี ตามคุณภาพ สถิติการจับกุมคดีไอซ์เพิ่มสูงขึ้นจาก ๗๐ คดี ในปี ๒๕๔๖ เป็น ๑,๕๓๘ คดี ในปี ๒๕๕๑ สาเหตุหนึ่งที่คนนิยมเสพไอซ์เนื่องจากพกพาง่าย ไม่มีกลิ่น และออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า เมื่อจัดกลุ่มช่วงอายุแล้วพบว่ากลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคืออายุ ๑๕ – ๑๗ ปี กลุ่มผู้มีประสบการณ์เสพไอซ์จากการศึกษานี้ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนนอกระบบการศึกษา มีอาชีพอิสระ[๓]

-ไอซ์ที่ถูกจับกุมได้ในประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า) เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ นำเข้าผ่านทางชายแดนไทย รวมถึงพบการผลิตแบบ kitchen lab ในประเทศโดยการหาสูตรทางอินเทอร์เน็ต  พบการลักลอบนำเข้าทางสนามบินสุวรรณภูมิโดยชาวต่างชาติ พบไอซ์ในรูปผลึกใสไม่มีสี  มีสีเหลือง และผสมแอลกอฮอล์เพื่อหลบหนีการตรวจสอบ และพบการจับกุมยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีฟรีดรีน (ใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตยาบ้าและไอซ์) จำนวน ๒ ล้านเม็ด   ขึ้นไปซึ่งเป็นยาแก้หวัดที่ลักลอบนำเข้าจากเกาหลีใต้ ชนิดยาเสพติดที่ผู้เข้าบำบัดรักษาใช้มากที่สุด ยังคงเป็นยาบ้า ร้อยละ ๘๓ รองลงมา คือกัญชา สารระเหย ไอซ์ และฝิ่น ร้อยละ ๔.๗, ๔ , ๒.๕  และ ๒ ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนของตัวยาที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คือ ไอซ์ และฝิ่น กัญชา มีการกระจายในทุกภาค ผู้เข้ารับการบำบัดไอซ์ มาจาก ๔๖ จังหวัด จำนวน ๓๓๔ คน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่พบผู้เข้าบำบัดรักษาไอซ์มากที่สุด คือ กทม. รองลงมา คือ     

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

จ.ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา  นครศรีธรรมราช นนทบุรี และปทุมธานี[๔]

-จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย[๕] เกือบทั้งหมดมีความเชื่อว่าไอซ์เป็นยาเสพติดของคนมีระดับเพราะราคาแพงและหายาก ดูไฮโซ โดยสถานที่เสพ      เสพที่บ้านเพื่อน (ร้อยละ ๕๙.๕) บ้านตนเอง (ร้อยละ ๒๐.๓) หอพัก บ้านเช่า  (ร้อยละ ๘.๑) จัดปาร์ตี้ในโรงแรม บังกะโล (ร้อยละ ๘.๑) อื่นๆ เช่น บ้านญาติ  สถานบันเทิง โต๊ะสนุ๊กเกอร์ เป็นต้น (ร้อยละ ๔) เนื่องจากไอซ์มีราคาแพง กลุ่มตัวอย่างจึงใช้ยาเสพติดอื่นร่วมกับไอซ์ ได้แก่ ยาบ้า (ร้อยละ ๙๗.๓) กัญชา (ร้อยละ ๗๑.๐) สารระเหย (๑๗.๖) ยาอี (ร้อยละ๘.๑) กระท่อม (ร้อยละ ๘.๑) ยาเค (ร้อยละ ๒.๗) ฝิ่น (ร้อยละ ๑.๔) เฮโรอีน (ร้อยละ ๑.๔)

-ข้อมูลการเปรียบเทียบราคา ไอซ์ (Meth) พบว่าราคาไอซ์ในประเทศไทยประมาณ ๘๓.๓ เหรียญสหรัฐ/กรัม ในขณะที่เปรียบเทียบกับประเทศอื่นพบว่าสูงกว่าราคาไอซ์ในลาว  พม่า และจีนอยู่มาก โดยในลาวราคา ๑ เหรียญฯ/กรัม พม่าราคา ๓.๙ เหรียญ/กรัม และจีน ๖ เหรียญ/กรัม แต่เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย (๙๓.๖ เหรียญฯ/กรัม) ฟิลิปินส์ (๑๑๙.๓ เหรียญฯ/กรัม) สหรัฐอเมริกา (๑๒๗.๕ เหรียญฯ/กรัม) และญี่ปุ่น (๕๐๐ เหรียญฯ/กรัม) ราคาไอซ์ในประเทศไทยยังคงต่ำกว่ามาก[๖] ดังนั้นแนวโน้มคาดว่านักค้าจะใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเพื่อส่งไอซ์ไปยังประเทศปลายทางที่ราคาสูงกว่ามากขึ้น นอกจากการมีประเทศไทยเป็นตลาดโดยตรง

พืชกระท่อม/กระท่อมผสม

-สี่คูณร้อยเป็นสิ่งเสพติดที่เกิดจากการผสมของสารหลายชนิด ที่เป็นส่วนผสมหลักคือ น้ำต้มใบกระท่อม ยาแก้ไอ โค้ก และ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือ ยากันยุง แต่เดิมสารเสพติดชนิดนี้มีการระบาดมากในกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้เพียงพื้นที่เดียว แต่ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ปรากฎการจับกุมและบำบัดรักษาในพื้นที่ กทม. จ.ชลบุรี บุรีรัมย์ หนองคาย นครปฐม และปทุมธานี แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาด สี่คูณร้อย ได้กระจายจากภาคใต้สู่ภาคอื่นๆแล้ว ดังนั้นการให้ข้อมูลเรื่องโทษพิษภัย ควรจะต้องดำเนินการในทุกพื้นที่เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาการแพร่ระบาดทั้งในเรื่องของการปลูกพืชกระท่อม และการเสพสี่คูณร้อย ขยายตัวไปมากกว่านี้[๗] นอกจากนี้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดหาสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติดพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

สำนักงาน ป.ป.ส. ผู้ร่วมประชุมจากพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่าปัญหาผู้เสพยาเสพติดที่เป็นปัญหาหลักในพื้นที่คือการเสพน้ำต้มใบกระท่อมผสม ซึ่งกระบวนการให้การบำบัดยังใช้รูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพบว่าเยาวชนจะกลับไปเสพซ้ำเมื่อพ้นการบำบัดกลับสู่สภาพแวดล้อมเดิม

 

 

 

 

นโยบาย/การบริหารงาน

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

การบริหารงาน

ที่ผ่านมา

เนื่องจากปี ๒๕๔๖ – ๒๕๕๒ มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายชุด แต่ไม่ว่านโยบายยาเสพติดจะเหมือนหรือต่างกัน ทรัพยากรการบริหารที่สำคัญคืองบประมาณที่ส่วนราชการต้องใช้ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ข้อมูลบ่งชี้ว่างบประมาณได้ถูกจัดวางไว้แล้วล่วงหน้า ๑ ปี หน่วยงานต่างๆ ทำงานตามคำของบประมาณจึงมิได้นำยุทธศาสตร์ของรัฐบาลมาพิจารณา หน่วยปฏิบัติมักนำโครงการที่ได้รับงบประมาณตามคำของบประมาณมาจัดกลุ่มให้สอดคล้องกับแนวทาง

ตามยุทธศาสตร์ ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายใด หน่วยปฏิบัติยังคงปฏิบัติเช่นเดิม สำหรับจังหวัดที่สามารถบูรณาการงบประมาณและมาจัดสรรใหม่ตามลำดับความจำเป็นตามสถานการณ์และนโยบายมีจำนวนน้อย ส่วนมากใช้วิธี “แบ่งเค้ก” ด้วยหวังในสัมพันธภาพและการประสานงานที่ดีต่อกันในอนาคต[๘]

 

 

 

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

แนวคิดการพัฒนาการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการพัฒนานโยบาย[๙]

หลักการฯ เดิม พยายามลดอุปสงค์และอุปทานของยาเสพติดโดยใช้มาตรการความร่วมมือทางกฎหมาย มองว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็น “อาชญากรรม” แต่ไม่สามารถทำให้ปัญหายาเสพติดลดลง โดยก่อให้เกิด

-ระบบการควบคุมยาเสพติดมีผลเชิงลบมากขึ้น เช่น เพิ่มผลกำไรให้ผู้ค้า เพิ่มจำนวนการเข้าถึงความเป็นอาชญากรรม

-ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเกี่ยวพันกับปัญหาสุขภาพโดยตรงและมีหลักฐานสนับสนุนว่ามีผลมาจากความเป็นอาชญากรรมและความเป็นคนชายขอบ

-สหประชาชาติมีความสนใจและกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการควบคุมปัญหายาเสพติด

รัฐบาลจึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบกฎหมายด้านยาเสพติด กลยุทธ์ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุวัตถุประสงค์พื้นฐานของนโยบายยาเสพติด คือ “เพื่อเพิ่มความมั่นคงของมนุษย์ สุขภาพ และการพัฒนา” โดยเสนอแนวทางพัฒนานโยบาย ดังนี้

   ๑)  ยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ ด้านยาเสพติด จะต้องพัฒนามาจากกระบวนการประเมินโครงสร้างนโยบายและวัตถุประสงค์โดยผ่านการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่างๆ และมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนอย่างเพียงพอ กรอบด้านเป้าประสงค์ต้องครอบคลุมชนิดของยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อเนื่องและมีแนวโน้มเป็นอันตรายต่อสังคม และให้ความสำคัญกับการลดความรุนแรงและองค์กรอาชญากรรม ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน การติดเชื้อเอดส์ และเชื้ออื่นๆ เป็นต้น กรอบยุทธศาสตร์และมาตรการต้องสอดคล้องกับเป้าประสงค์ และกรอบด้านหน่วยงานต้องมีการประสานความร่วมมือในทุกระดับ เช่น กระทรวง กรม องค์กรท้องถิ่น ชุมชน และกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย รวมทั้งกรอบด้านทรัพยากร เป้าหมาย เวลา และพันธกิจ

   ๒)  กิจกรรมทุกอย่างควรดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

 โดยบุคคลต้องไม่ถูกจำกัดสิทธิ์เพราะเป็นผู้เสพ ผู้เพาะปลูกยาเสพติด หรือมีเชื้อ HIV/AIDS ต้องมีสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องไม่ถูกคุกคามต่อสิทธิการมีชีวิตอยู่ ไม่ถูกวิสามัญฆาตรกรรม อาจไปถึงการพิจารณาไม่มีโทษประหารชีวิต ไม่ถูกคุกคามโดยเป็นผู้ถูกกักบริเวณ ถูกทารุณกรรม ไม่ตกเป็นทาส  ได้รับการดูแลด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ไม่มีการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ถูกแปลกแยกจากคนอื่น ตราบาป มลทินที่เกิดจากการ

บังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ โดย

-ให้ความสำคัญกับสุขภาพด้วยการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน การป้องกัน บำบัด และดูแลสุขภาพผู้เกี่ยวข้อง และการพัฒนามาตรการลดอันตราย

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

-การให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างรอบด้านไม่เพียงแต่ทางเลือกในการพัฒนาเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจน การศึกษา การจ้างงาน และความมั่นคงทางสังคม

-การให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายสำคัญมากกว่ากลุ่มผู้ค้ารายย่อย ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และประชากรกลุ่มเสี่ยง

๓)  นโยบายด้านยาเสพติดควรเน้นการลดผลกระทบที่เป็นอันตรายมากกว่ามุ่งลดขนาดของอุปสงค์และอุปทาน

นโยบายที่ให้ความสำคัญกับการลดอันตรายมีประสิทธิผลดีกว่านโยบายปลอดยาเสพติด มาตรการต่างๆ มักมุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ เช่น โครงการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาเสพติด การป้องกันยาเสพติด การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อลดอันตรายต่อตัวบุคคล ชุมชน  และประชากรโดยรวม ดำเนินการโดยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุข สวัสดิการสังคม และสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการการเพิ่มศักยภาพผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพื่อเพิ่มผลผลิตทางสังคม ภาครัฐจึงควรเริ่มประเมินอันตรายจากการใช้ยาเสพติดอย่างจริงจัง และวางนโยบายที่เหมาะสมเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงเป้าหมาย

๔)  ยุทธศาสตร์และมาตรการด้านยาเสพติดและกิจกรรมต่างๆ ควรดำเนินการในลักษณะเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มทางสังคมของกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนด้อยโอกาส ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน ที่อยู่อาศัย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นสิ่งอ่อนไหวอันจะนำสู่การติดยาเสพติด รัฐจึงต้องผลักดันมาตรการต่างๆ อย่างระมัดระวัง เช่น

-มาตรการลดมลทินทางสังคม เพิ่มการยอมรับของชุมชนให้ผู้มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้

-มาตรการลงโทษเยาวชนที่เป็นผู้เสพและครอบครองเพื่อเสพโดยไม่ให้ต้องออกจากระบบการศึกษา หรือออกจากงาน

-ดำเนินการให้เหมาะสมในมาตรการที่เน้นการจำคุก ทั้งนี้ เนื่องจากการลงโทษรุนแรงต่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยหวังให้หลาบจำ เนื่องจากจะส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น และใกล้ชิดกับองค์กรอาชญากรรมมากขึ้น

-มาตรการบังคับใช้กฎหมายจะผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหลบลงใต้ดินและมาตรการทางสังคมไม่ได้ผล

 

 

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

๕) รัฐบาลควรสร้างความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับภาคประชาชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และส่งมอบภารกิจพร้อมสนับสนุนกลยุทธ์ของภาคประชาชนเป็นเจ้าของดำเนินการได้เอง ภาคประชาสังคมควรเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบายจนถึงการขับเคลื่อนนโยบาย ด้วยการวางโครงสร้างและเงื่อนไขต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ สนับสนุนให้มีการสื่อสารระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน รับรู้ในมาตรการ และโครงการต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อตนเอง ค้นหาหุ้นส่วนและผู้รับประโยชน์จากองค์กรภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ร่วมปฏิบัติงานและขับเคลื่อนงาน กระตุ้นเครือข่ายภาคประชาสังคมให้สนับสนุนนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงาน

 

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

ข้อเสนอการบริหารจัดการ

ด้านตัวยาและการเฝ้าระวัง

 

 -ด้านตัวยาที่แพร่ระบาด พบว่าหน่วยงานรัฐให้ความสำคัญกับตัวยาหลักโดยมิได้สนใจยารักษาโรคที่ใช้ในทางที่ผิดและการนำสารเคมีทางอุตสาหกรรมมาใช้เสพอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่งและเมื่อรัฐกดดันด้านการปราบปราม ผู้เสพผู้ติดยาเสพติดจะหันไปใช้ยาในทางที่ผิดมากขึ้น ดังนั้นการติดตามแนวโน้มของสารเสพติดจึงควรขยายความให้ครอบคลุมแนวโน้มของแพร่ระบาดที่ปรากฏในกฎหมายอันประกอบด้วย พรบ.ยาเสพติดให้โทษฯ พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ พรบ.สารระเหย และ พรบ.โภคภัณฑ์ควบคุม และควรมุ่งเน้นอธิบายปัญหาของตัวสารที่แพร่ระบาดใน ๓ มิติ คือ กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง พื้นที่แพร่ระบาด และช่วงเวลาแพร่ระบาด แล้วจึงทำการวิเคราะห์สาเหตุของการแพร่ระบาด ประเด็นแหล่งผลิต ช่องทางการไหลออกจากแหล่งผลิต วิธีการเคลื่อนย้ายมายังพื้นที่เป้าหมาย และหนทางที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด ซึ่งจะสามารถบ่งชี้ได้ว่ามาตรการ และปฏิบัติการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนั้นได้ก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ต้องการเป็นอย่างไร ทั้งนี้ระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศทุกระดับ และมีเนื้อหาของการเฝ้าระวังครอบคลุมไปถึงอุปทาน อุปสงค์ และผลกระทบ

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

ข้อเสนอด้านกฎหมาย

กระบวนการยุติธรรมใช้ระยะเวลานานตั้งแต่การจับกุม จนถึงการส่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมไม่ใช่เจ้าหน้าที่ผู้สืบสวนส่งฟ้อง จึงเกิดช่องว่าง และเกิดความคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญของคดีเป็นจุดอ่อนของระบบให้ผู้กระทำผิดหลุดพ้นจากข้อกล่าวหา นอกจากนี้ยังมีความสับสนระหว่างอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอาญา และกฎหมายยาเสพติด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานวิตกกังวลจึงควรดำเนินการทบทวนให้มีความสอดคล้องกันเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ

 

การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้น จับกุม สกัดกั้น การข่าวพื้นที่ 

 

-การสกัดกั้นในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพเกิดจากเจ้าหน้าที่มีทักษะในการตรวจค้นสูง ดังนั้นการวางกำลังสกัดกั้นควรพิจารณาถึงศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่เดิม           ไม่ควรให้มีการเพิ่มศักยภาพในทุกด้านของเจ้าหน้าที่

-สำหรับประสิทธิภาพในการจับกุมในพื้นที่ขึ้นอยู่กับระบบการข่าวข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นการวางสายข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางสายข่าวเพื่อทราบข้อมูลก่อนยาเสพติดจะถูกนำเข้าและสายข่าวเพื่อเข้าถึงเครือข่ายผู้ค้ายา โดยความถูกต้อง น่าเชื่อถือเกิดจากการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และเป็นวิทยาศาสตร์

 

ข้อเสนอด้านลดอุปสงค์และลดผลกระทบ

 

-ในด้านการป้องกันพบว่าผู้ปฏิบัติขาดความรู้ในด้านการป้องกันที่มีประสิทธิผล จึงไม่สามารถบ่งชี้ว่าสิ่งที่จัดให้กลุ่มเสี่ยงจะสามารถป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้ดีเพียงใดและคุ้มค่าหรือไม่ ผู้ปฏิบัติจึงเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดความรู้และสุขศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบเท่านั้น งบประมาณที่ได้รับจึงนำไปใช้ในโครงการเดิมโดยขาดตัวชี้วัดถึงประสิทธิผลการดำเนินงาน

-ในด้านการบำบัด บุคลากรที่ให้การบำบัดรักษามีการโยกย้ายสับเปลี่ยน มีบุคลากรกว่าร้อยละ ๑๐ ที่ต้องให้การบำบัดฯ ผู้ป่วยโดยไม่ผ่านการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ และกว่าร้อยละ ๒๐ ที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ยังขาดทักษะในการบำบัด และยังมีข้อสงสัยด้านมาตรฐานการบำบัดและการติดตามผลการบำบัดรักษา ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการป้องกันและบำบัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงปัญหางบประมาณด้านความพอเพียงและความเป็นธรรมของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

-ด้านลดผลกระทบ ต้องพิจารณาถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อตัวผู้เสพเอง ต่อชุมชน คนรอบข้าง ซึ่งควรมีมาตรการลดผลกระทบทั้งในแง่ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน อาชญากรรม ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และอื่นๆ

 

มิติด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด

ประเด็น

ข้อค้นพบ

แนวทางการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายเยาวชน

-การแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยอันเป็นสาเหตุของการเสพยาเสพติด โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัจจัยเฉพาะของแต่ละช่วงอายุ เพื่อกำหนดกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัจจัยสี่ยง ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนมีทั้งปัจจัยตัวเยาวชน ครอบครัว สภาพแวดล้อม ซึ่งการป้องกันต้องดำเนินการไปควบคู่กัน

ข้อเสนอในการป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด[๑๐] เช่น

๑) ควรมีการกําหนดแนวทางการปองกันและแกไขปญหายาเสพติดในกลุมเด็กและเยาวชนตามสภาพพื้นที่ บริบทสิ่งแวดลอม และชวงวัยที่เหมาะสมแกเด็กและเยาวชนในกลุมตางๆ โดยตองรณรงคและกระตุนใหครอบครัว ชุมชน ตระหนักถึงความสําคัญและความจําเปนในการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมดานการปองกันและแกไขปญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน

๒) การดําเนินการแกไขปญหายาเสพติดในแตละพื้นที่ ชุมชน ควรมีการศึกษาถึงปจจัยสาเหตุของการใชสารเสพติดในเด็กและเยาวชนกลุมตางๆ ในเชิงลึก เพื่อนํามากําหนดแนวทางที่ถูกตอง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

๓) ควรเพิ่มการมีสวนรวมของหนวยงานภาครัฐที่มีสวนเกี่ยวของ ภาคเอกชน ภาคประชาชน องคกรปกครองทองถิ่น โดยเฉพาะกลุมเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เชน การเสนอแนวทาง โครงการ ตามที่เด็กและเยาวชนสนใจ เปนตน

๔) ในการดําเนินโครงการ กิจกรรมปองกันและแกไขปญหายาเสพติด ควรมีการจัดอบรมใหความรูและเทคนิคการทํางานเพิ่มเติมแกเจาหนาที่ที่รวมดําเนินโครงการอยางตอเนื่อง และสม่ำเสมอ

๕) ควรมีการติดตาม ประเมินผลโครงการ กิจกรรม สื่อตางๆ เปนระยะ เพื่อนําผลการประเมินมาแกไขปรับปรุงแนวทางการดําเนินงานตอไป

๖) ควรมีการสํารวจ จัดทําสถิติรายงานผล หรือทําการศึกษาวิจัยในพื้นที่ชุมชน เพื่อนําขอมูลดังกลาวมาประกอบการกําหนดแนวทางในการแกไขปญหายาเสพติด

ซึ่งมีความซับซอน และเฉพาะเจาะจงในแตละพื้นที่

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

๗) ควรเรงปรับคานิยม ความเชื่อ ทัศนคติเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชน เปนลําดับแรกโดยใชมาตรการผานสื่อ และการเพิ่มเนื้อหาสาระ และทักษะ

ที่จําเปนลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแตปฐมวัย และชั้นอนุบาล

 

มิติด้านการบำบัดยาเสพติด

ประเด็น

ข้อค้นพบ

การกำหนดเป้าหมายการบำบัด

-จากการประเมินผลการดำเนินงานระบบบังคับบำบัด[๑๑] พบว่าการดำเนินงานตามระบบสมัครใจในพื้นที่ จะมีความยากลําบากที่จะทําใหไดถึงเปาหมายที่ถูกกําหนดมาจากสวนกลาง เพราะการที่ผูเสพ/ผูติดจะยอมรับวาตนเสพยาเสพติดไมใชเรื่องงาย ในขณะที่ระบบบังคับบําบัดนั้น เปาหมายที่สวนกลางกําหนดมาใหในแตละปตํ่ากวาสภาพการณแทจริงที่เปนอยูดังนั้นเพื่อที่จะไมให้งบประมาณลดลงตามเปาหมาย หนวยงานสาธารณสุขในระดับจังหวัดจึงตองหาคนหาวิธีการที่จะนําผูเสพ/ผูติดเขาบําบัดรักษาแบบกึ่งสมัครใจกึ่งบังคับ  ก็คือถูกบังคับมาจากพอแมผูปกครองญาติพี่นองหรือครอบครัว หรือการลงพื้นที่เจาหนาที่รัฐเพื่อประชา-สัมพันธ

-การกำหนดเป้าหมายจากส่วนกลางมุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพของกระบวนการบำบัด จึงทําใหการทํางานของเจาหนาที่ผูปฏิบัติเกิดความสับสนและไมชัดเจนในวัตถุประสงคของผูกําหนดนโยบาย  กระบวนการนําผูเสพ/ผูติดเขาสูระบบบําบัด  และผูที่ผานการบําบัดแลวจึงไมเกิดประสิทธิผลเทาที่ควร

การบำบัดรักษายาเสพติด

การดำเนินงานระบบบังคับบำบัด

-การจับกุมผูเสพ/ผูติดเขาสูกระบวนการบังคับบําบัดนั้นมาจากหลายชองทางทั้งจากการสืบประวัติของผูกระทําความผิดเอง  จากการซัดทอดของผูตองหาอื่น การ  สุมตรวจคนจากดานตรวจ  การแจงเบาะแสจากประชาชน  และสายของตํารวจที่เขาไปคลุกคลีกับคนในหมูบาน-ชุมชน จากการดำเนินงานตามระบบบังคับบำบัดพบว่าสถานบําบัดไมเพียงพอตอผูที่เขารับการบําบัดฟนฟูแบบควบคุมตัว  สถานบําบัดในแตละแหงสามารถรับได ๕๐-๑๐๐  เตียงเทานั้น เนื่องจากมีพื้นที่ที่จํากัด   ในขณะที่มีผูถูกวินิจฉัยใหเขาสูกระบวนการบําบัดฟนฟูแบบควบคุมตัวมีเปนจํานวนมากจึงเกิดการตกคางของผูที่เขาบําบัด ในบางพื้นที่มีวิธีการแกปญหาโดยการปรับลดระดับความรุนแรงของผูที่ตองบําบัดแบบควบคุมตัวใหอยูในแผนแบบผูปวยนอกการจัดคายระยะสั้น ๔-๗ วัน ซึ่งเป็นวิธีการที่หลายจังหวัดมีการนํามาใช

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

เพื่อลดปญหาของสถานบําบัดไมเพียงพอ ระยะเวลาในการจัดคายซึ่งสามารถจัดคายไดเพียงระยะสั้นเนื่องดวยงบประมาณจํากัดและภาระหนาที่ของเจาหนาที่    คุมประพฤติทุกคนที่มีปริมาณมากแตการบําบัดแบบควบคุมตัวนั้นตองใชในระยะเวลา ๑๒๐ - ๑๘๐ วัน ตามที่กรมฯ กําหนด  ดังนั้นการจัดคายบําบัดระยะสั้น

เพียง ๔-๗ วัน จึงไมสามารถใหการบําบัดไดครบทุกโปรแกรม  คุณภาพของการบําบัดฟนฟูแบบจัดทําคายระยะสั้นจึงไมเกิดประสิทธิภาพเทาที่ควร เกิดการกลับมาเสพซํ้าของผูติด ซึ่งถึงแมวาวิธีดังกลาวจะไมเกิดประสิทธิภาพเทาที่ควร แตกระบวนการบําบัดฟนฟูก็ตองคงดําเนินการตามขั้นตอนของระบบบังคับบําบัดตอไป

จึงนับวาเปนหนทางที่ดีกวาการปลอยใหผูเสพ/ผูติดตกคางอยูที่คุมประพฤติโดยมิไดกระทํากา

หมายเลขบันทึก: 431392เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไฟล์ใหญ่ค่ะวางไม่หมด จึงแตกเป็นประเด็นไว้แล้วตามมิติต่างๆ หวังว่าผู้สนใจจะได้ประโยชน์ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท