การมีองค์การ


ความจำเป็นของการมีองค์การ

ความจำเป็นของการมีองค์การ

องค์การเป็นที่รวมของคนและงาน ความจำเป็นที่จะต้องมีองค์การมีอยู่หลายประการดังนี้

ประการแรก แนวความคิดพื้นฐานในการจัดตั้งองค์การ ไม่ว่าเป็นองค์การธุรกิจ องค์การราชการ หรือองค์การศาสนา ได้แก่ สมมติฐานที่ว่าศูนย์กลางของอำนาจในการสั่งการนั้นมีที่มาอันชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย ในทางการเมืองถือว่าศูนย์กลางอำนาจคือเจตนาโดยรวมของประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปบริหารประเทศ ในทางธุรกิจยอมรับกันว่าศูนย์กลางแห่งอำนาจมาจากผู้ถือหุ้นซึ่งรวมกันเข้าเป็นที่ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการเพื่อเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจ จึงเป็นการชัดแจ้งว่าการจัดองค์การมิได้มอบหมายการงานให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นการกระจายอำนาจหน้าที่ให้แก่ฝ่ายต่างๆ ซึ่งต้องทำงานประสานกัน

ประการที่สอง องค์การแบบเป็นทางการกำหนดตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบแน่นอน เมื่อผู้ใดดำรงตำแหน่งนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามที่ระบุไว้สำหรับตำแหน่งนั้นๆ จะปฏิบัติตามใจตนเองไม่ได้ จึงเป็นการผูกคนไว้กับงาน

ประการที่สาม องค์การจะเป็นเครื่องควบคุมและส่งเสริมให้คนทำงานและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ องค์การมีการจัดแบ่งงานออกเป็นกลุ่มๆ และกำหนดสาย

 

การควบคุมบังคับบัญชาด้วยการตรวจสอบการปฏิบัตงานให้เป็นไปอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ

องค์การมิได้เกิดขึ้นเองและสมรรถภาพหรือสัมฤทธิผลขององค์การก็มิใช่ว่าเกิดขึ้นได้เอง จะต้องจัดทำให้เกิดขึ้นและดูแลให้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป การจัดการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์การ

องค์การอรูปนัย

การรวมกลุ่มของบุคคลเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นอาจรวมกันแบบไม่เป็นทางการหรือไม่มีแบบแผนที่แน่นอนก็ได้ การรวมกลุ่มประเภทนี้เรียกว่าองค์การอรูปนัย ซึ่งเฮอร์เบิร์ด ไซมอน (Herbert Simon) ให้ความหมายไว้ว่า องค์การอรูปนัยหมายถึงความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการในองค์การใดองค์การหนึ่ง ซึ่งจะมีผลสะท้อนต่อการตัดสินใจ และบางครั้งอาจจะมีผลทำให้การดำเนินงานตามลักษณะแห่งองค์การรูปนัยต้องเปลี่ยนแปลงไปได้

1. ลักษณะขององค์การอรูปนัย โดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้

    1. เป้าหมายขององค์การอรูปนัยไม่แน่นอนตายตัว มักขึ้นอยู่กับผู้นำ
    2. การรวมตัวของสมาชิกถือเอาความพึงพอใจเป็นสำคัญ ส่วนมากรวมตัวกันขึ้นโดยความสมัครใจ
    3. การดำเนินงานขององค์การและสัมฤทธิผลขององค์การขึ้นอยู่กับผู้นำ
    4. ความสัมพันธ์ในองค์การอรูปนัยมีลักษณะเป็นไในทางส่วนตัวคำนึงถึงประโยชน์ของอกลุ่มมากวก่าประโยชน์ขององค์การรูปนัยที่กลุ่มของตนแฝงอยู่
    5. องค์การอรูปนัยยึดถือความสำคัญของตัวบุคคลและอำนาจบารมีมากกว่าอำนาจบังคับบัญชา
    6. องค์การอรูปนัยยึดถือความสำคัญของตัวบุคคลและอำนาจบารมีมากกว่าอำนาจบังคับบัญชา
ในองค์การบางแห่ง องค์การอรูปนัยที่แฝงอยู่มีอิทธิพลมาก เพราะมีบุคคลที่มีอิทธิพลหรือมีบารมีเป็นหัวหน้ากลุ่ม ดังนั้น หากผู้บริหารต้องการให้งานสำเร็จต้องติดต่อกับบุคคลผู้นี้ให้เห็นชอบเสียก่อน แม้จะไม่ใช่อยู่ในสายงานบังคับบัญชาก็ตาม

2. กลุ่มในองค์การรูปนัย คืออกลุ่มซึ่งมีลักษณะเป็นองค์การนอกแบบ (องค์การอรูปนัย) ที่แฝงอยู่ในองค์การที่เป็นทางการ (องค์การรูปนัย) เกิดขึ้นโดยบุคคลรวมตัวกันเป็นกลุ่มด้วยความสมัครใจ กลุ่มในองค์การรูปนัยจำแนกได้ดังนี้ กลุ่มเครือญาติ เกิดจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติ กลุ่มประเภทนี้รวมตัวกันได้ง่าย กลุ่มวิชาชีพ เกิดจากการรวมตัวของผู้มีวิชาชีพเดียวกัน กลุ่มประเภทนี้มีอิทธิพลมากในการบริหารงาน เช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มศาสนา เกิดจากการนับถือหรือมีความเชื่อแบบเดียวกัน กลุ่มสถาบันการศึกษา เป็นการรวมตัวกันโดยยึดเอาสถาบันที่สำเร็จมาเป็นแกน กลุ่มความสนใจเกิดจากการรวมตัวของบุคคลที่มีความนิยมชมชอบในเรื่องเดียวกัน เช่น กลุ่มนักเล่นกล้วยไม้ กลุ่มนักเล่นนกเขา เป็นต้น กลุ่มเพื่อนฝูง กลุ่มเพื่อนฝูงรวมตัวกันเพราะเคยเป็นเพื่อนนักเรียนกันมาก่อนหรือเคยเป็นเพื่อนเพราะอยู่หมู่บ้านเดียวกัน เป็นต้น

3. บทบาทขององค์การอรูปนัย ช่วยส่งเสริมการบริหารงานหลายประการ กล่าวคือ

    1. ช่วยให้การทำงานลุล่วงไปด้วยความรวดเร็ว เพราะความร่วมมือกัน เข้าใจและเห็นใจกัน
    2. ช่วยสร้างขวัญและความพึงพอใจในการทำงาน มีความพอใจที่จะทำงานร่วมกลุ่มของตนเอง
    3. ช่วยส่งเสริมการประสานงานและการติดต่องานให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
    4. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะด้านการช่วยฝึกและแนะนำแก่ผู้มาปฏิบัติงานใหม่
ในทางตรงกันข้าม องค์การอรูปนัยก็มีผลเสียไม่น้อย เช่น ทำให้เกิดความแตกแยกในองค์การ ถ้าองค์การอรูปนัยต่อต้านการบริหารย่อมทำให้เกิดปัญหามากมาย และองค์การอรูปนัยทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ได้ง่าย เป็นต้น

สรุป

องค์การคือกลุ่มบุคคลที่มาร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันภายใต้ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ องค์การมีหลายประเภท อาจจำเแนกโดยโครงสร้างเป็นองค์การที่เป็นทางการและองค์การไม่เป็นทางการ หรือจำแนกองค์การตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งออกเป็น องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาชิก องค์การทางธุรกิจ องค์การเพื่อบริการ และองค์การเพื่อสวัสดิภาพของประชาขน วัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งขึ้นนอกจากเพื่อบริการประชาชนในกรณีที่เป็นองค์การของรัฐหรือเพื่อแสวงหากำไรในกรณีที่เป็นองค์การของเอกชนแล้ว อง์การทุกประเภทจะต้องสร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้สังคมสนองตอบความต้องการของสมาชิกและเพื่อความเจริญเติบโตขององค์การเองด้วย

องค์การแบบไม่เป็นทางการหรืองอค์การนอกแบบเป็นกลุ่มคนที่แฝงอยู่ในองค์การที่เป็นทางการทุกแห่ง องค์การนอกแบบจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การไม่น้อย ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องสนใจองค์การนอกแบบด้วย

ความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติขององค์การจะช่วยให้ผู้บริหารนำความรู้นี้ไปประยุกต์ในการบริหารองค์การให้เกิดประสิทธิผลและเกิดประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ถ้ามององค์การในแง่ของกลุ่มคนก็จะบริหารโดยเน้นมนุษยสัมพันธ์ ถ้ามององค์การในรูปของระบบก็จะเน้นความสำคัญของทุกส่วนขององค์การ อย่างไรก็ตาม องค์การต้องประกอบด้วยคนและงาน ดังนั้นในการบริหารองค์การจะต้องเน้นทั้งคนและงาน

คำสำคัญ (Tags): #ปานไพร
หมายเลขบันทึก: 43121เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท