แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ครูโยคะ ควรจะต้องเลือกแนวเดียว? by กอง บ.ก.



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 
 ครูโยคะ ควรจะต้องเลือกแนวเดียว?

 

กอง บ.ก.
คอลัมน์ เทคนิคการสอน
โยคะสารัตถะ ฉ.; ก.ย.'๕๒

 

ถาม โยคะในปัจจุบันมีหลายแนวทางมาก การเป็นครูสอนโยคะควรจะต้องเลือกแนวเดียวเลยหรือเปล่า เพราะบางแนวออกจะขัดกันนะ

ตอบ เห็นด้วยครับ ที่ว่าโยคะในปัจจุบันมีหลายแนวทางมาก เมื่อสองปีก่อน วารสารโยคะในอินเดียฉบับหนึ่ง รวบรวมไว้ตั้ง 10 กว่าแบบ อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาจริงๆ มันจะเหลือกี่กลุ่ม?

ดร.กาโรเต้ เขียนในหนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งโยคะ ท่านแบ่งโยคะทั้งหลายออกเป็น 2 กลุ่มเท่านั้นเอง ภาวนาโยคะ กับ ปราณาสัมยามะโยคะ

กลุ่มแรกคือ พวกที่เน้นการพัฒนาจิตให้เจริญก้าวหน้าไปท่ามกลางการดำเนินชีวิต (ภาวนา) จนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย

กลุ่มที่สองคือ พวกที่เน้นการจัดการ พลังปราณ ภายในตน ให้มันไหลเวียนได้ดี ไปตามช่องทางที่กำหนด ทำให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายแห่งโยคะ คือ จิต (ปุรุษะ) และ สิ่งที่ถูกรู้ (ประกฤต) ไม่สับสนปนเป ต่างคืนสู่สภาวะเดิมแท้ของมัน

ตัวอย่างของโยคะกลุ่มแรกคือ กรรมโยคะ ภักติโยคะ ชญานโยคะ ฯลฯ

ตัวอย่างของกลุ่มที่สองได้แก่ หฐโยคะ ราชโยคะ กุณฑลินีโยคะ ฯลฯ


พึงสังเกตว่า ดร.กาโรเต้ ไม่ได้ระบุถึงโยคะอีกแนวหนึ่งที่พวกเราคุ้นกัน เช่น พาวเวอร์โยคะ ฯลฯ ไว้ในตำราของท่านเลย เพราะถ้าเราพิจารณาที่เป้าหมายของมัน เราไม่แน่ใจว่า ควรจะเรียกมันว่าโยคะไหม ด้วยซ้ำ

เมื่อเราพิจารณาโยคะอันหลากหลายที่เป้าหมาย จะเห็นเลยว่า ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะต่างก็มุ่งไปสู่การทำลายความเข้าใจผิดของจิต ที่ตู่เอาว่า กายนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต ดังนั้น ที่ผู้ถามรู้สึกขัดแย้ง น่าจะเป็นเพราะไปนำเอา อีกแนวทางหนึ่งมารวมด้วยต่างหาก ซึ่งต้องขัดกันแน่ๆ เพราะ เป้าหมายสุดท้ายต่างกันโดยสิ้นเชิง

ประเด็นสุดท้าย เราเป็นครูสอนโยคะ จะทำอย่างไรดี ผมมองเป็น 2 ประเด็น

ประเด็นที่ 1) หากเรามุ่งมั่นที่จะสอนโยคะเพื่อนำพานักเรียนไปสู่การพัฒนาจิตให้สูงสุด เอานักเรียนเป็นตัวตั้ง เมื่อมีนักเรียนหลายคน เราอาจจะสอนหลายแนวทาง เนื่องจากจริต นิสัย ของนักเรียนต่างกัน ครูจึงสรรหาแนวทางที่สอดคล้องกับผู้เรียนที่สุด เพื่อให้เขาบรรลุเป้าหมายให้ตรง ลัด สั้นที่สุด

ประเด็นที่ 2) ทุกวันนี้ เป็นเพราะครูเองมีข้อจำกัด คือครูถนัดอยู่แนวทางเดียว ฝึกอยู่แนวทางเดียว มีประสบการณ์ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญอยู่แนวทางเดียว ทำให้ครูสอนได้แบบเดียว ซึ่งถ้านักเรียนที่จริตตรงกันมาเรียน ก็จะได้ผล บรรลุเป้าหมายเช่นเดียวกับที่ครูบรรลุไปแล้ว ส่วนนักเรียนที่จริตไม่ตรง มาฝึกตาม ก็จะได้ผลช้า หรือ อาจไม่ได้ผล ซึ่งถ้าครูหลงทาง ก็จะจ้ำจี้จ้ำไชให้นักเรียนทำตามครูให้ได้ แล้วหวังลมๆ แล้งๆ เอาว่าสักวันหนึ่งนักเรียนจะประสบผล แต่ถ้าครูตระหนักถึงข้อเท็จจริงในข้อจำกัดของตัวเอง ครูก็จะแนะนำให้นักเรียนไปแสวงหาครูที่สามารถสอนแนวทางอื่นที่ตรงจริตกับตัวนักเรียนมากกว่า

ไม่เพียงแต่พิจารณาเรื่องแนวทางเท่านั้น ครูโยคะ ยังควรจะต้องพิจารณาเรื่องเป้าหมาย และเรื่องเจตนาในการสอนโยคะของตนด้วย ก็จะตอบโจทย์ได้ดีขึ้น 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431036เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท