เส้นทางสู่ "ศีล"


จุดร่วมที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่ “ศีล สมาธิ และปัญญา” ได้นั้นก็คือ "การปฏิบัติ"

 

 

 

 

 พุทธเศรษฐศาสตร์

ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ศีล นั้นคือ การทำความดี

การทำความดี คิดดี ทำดี

เป็นโจทย์ที่ทำให้นายรักษ์สุขต้องขบคิดรวมถึงทดลองปฏิบัติว่า

เราจะไปถึง ศีล นั้นได้อย่างไร......

 


จากประโยชน์อันทรงพลังของ Gotoknow นั้น การที่ได้ปุจฉาและวิสัชนากับ อาจารย์จันทร์รัตน์ ทำให้นายรักษ์สุขมีโอกาสกลับมาสวดมนต์ไหว้พระเหมือนดั่งเช่นก่อนที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำเมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์

ในช่วงแรกเดินทางมาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายรักษ์สุขมิสามารถสวดมนต์ภาวนาได้ เพราะเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ที่จะต้องใช้ในการทำสมาธิและสวดมนต์

เนื่องจากได้ทราบจากผู้รู้ว่า การสวดมนต์ในห้องนอนนั้น เป็นสิ่งที่มิควรทำ

แต่หลังจากได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้แล้วทำให้นายรักษ์สุขสามารถกลับมาปฏิบัติได้อย่างเดิมอีกครั้งหนึ่ง

จากการที่นายรักษ์สุขได้เฝ้าและสังเกตตัวเองในช่วงก่อนและหลังจากการที่สามารถสวดมนต์ภาวนาทำสมาธิได้แล้ว ก็พบว่ามีความแตกต่างกันของสภาวะจิตค่อนข้างมาก

ช่วงแรกที่มาและไม่ได้สวดมนต์ภาวนานั้น รู้สึกว่าจิตใจและร่างกายดูไม่ค่อยสัมพันธ์กันเหมือนดังเช่นแต่ก่อนมา

บางครั้งก็เกิดอาการ จิตหลุด บ้างเป็นครั้งคราว

ส่งผลถึงลมหายใจ การคิด และการปฏิบัติที่ผ่องทางออกมาทั้งทางทาง วาจา และใจ

ไม่นิ่งเหมือนเดิม

 

จิตใจว้าวุ่น คิดคำนึงอยู่กับอดีตและพะวงอยู่กับอนาคต ทำให้ชีวิตในปัจจุบัน ณ ขณะนั้นต้องรันทดไปโดยไม่ได้อยู่เนื้อรู้ตัว

จนกระทั่งมาถึงวันนี้ ผ่านไปประมาณสองสัปดาห์ที่นายรักษ์สุขสามารถกลับมาสวดพระพุทธคุณ  พาหุงมหากา และพระคาถาชินบัญชร อย่างเป็นประจำนั้น

ทุกอย่างเริ่มกลับมา นิ่ง

และบางครั้งสามารถพูดได้ว่ามีการ  พัฒนา  มากขึ้นตามลำดับ

 

การพัฒนานี้อาจจะไม่สามารถจับต้องได้ในเชิงรูปธรรม แต่สิ่งที่นายรักษ์สุขสังเกตถึงผลจากการปฏิบัติได้นั้นก็คือ

 การมีสติที่จะคิดในแต่สิ่งถึงดี ๆ มากขึ้น

ส่งผลให้เราสามารถเปิดใจและพร้อมที่จะเข้าใจถึงเหตุถึงผล ความเป็นมาและเป็นไปของสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างตัว


เส้นทางสู่ ศีล หรือ การคิดดี ทำดี นั้นมีหลากหลายเส้นทาง ซึ่งขึ้นอยู่กับ

ทุน และ ความศรัทธา

ในวิถีทางความเชื่อและความเหมาะสมในแต่ละท่าน

แต่หลากหลายเส้นทางนั้นมีจุดร่วมที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่

 ศีล สมาธิ และปัญญา

ได้นั้นก็คือ

 การปฏิบัติ

 

หมายเลขบันทึก: 43087เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดด้วยนะครับ

ต่อเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ผมเคยอ่านงานท่านประยุตตฺ ประยุทโต ซึ่งท่านได้ปาฐกถาที่สนง.คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้น สวช.กำลังเคลื่อนงานที่เรียกว่า "จิตพิสัย" ซึ่งเป็นภาษาทางการศึกษาที่แปลมาจากคำ "Affective Domain" ที่เป็นหนึ่งในพิสัยสามพิสัยที่เสนอนานแล้วโดยนักการศึกษาคนสำคัญคนหนึ่งของอเมริกาคือ Benjamin Bloom แห่ง U of Chicago อีกสองพิสัยคือ "พุทธิพิสัย(Cognitive Domain)" และ "ทักษะพิสัย(Psychomotor Domain)"  ท่านประยุตตฺชี้ให้เห็นว่า "ศีล สมาธิ และปัญญา" ก็ตรงกับกรอบสามพิสัยนี้ คือ ปัญญา=cognitive domain สมาธิ=Affective Domain และ ศีล=Psychomotor Domain และอัตถาธิบายเพิ่มเติมว่า ลำดับกลับต่างกัน แนวคิดของ Bloom เริ่มจากปัญญา ในขณะที่ปรัชญาตะวันออกรวมทั้งพุทธด้วยเริ่มจากศีลซึ่งก็คือการกำหนดทางกาย ก่อนที่จะกำหนดทางจิต(สมาธิ) และเข้าสู่มิติของปัญญาในที่สุด พระพุทธเจ้ากำหนดทางกาย (อย่างพอเพียง) วันที่ท่านจะตรัสรู้ ระบบการเรียนวรยุทธของกังฟูก็เริ่มจากการฝึกลมปราณ ผมจึงคิดว่าถ้าจะนำมาประยุกต์เข้ากับเศรษฐศาสตร์โดยผ่านพุทธพจน์ทั้งสามคำนี้ น่าจะตีความว่า ศีลคือการปฏิบัติ (กำหนดตัวเองให้พอเพียง) เข้าสู่สมาธิ (ความแน่วแน่/หนึ่งเดียวทางอารมณ์)ที่ทำหน้าที่คล้ายแสงเลเซ่อร์ที่ส่องกระทบและขจัดอวิชาที่เคลือบครอบสถานการณ์อยู่จนเห็นตัวปัญญาที่อธิบายสถานการณ์นั้นได้ หากปล่อยให้ตัวเองอยู่ภายใต้ระบอบวัตถุของทุนนิยมโดยสิ้นเชิง ก็จะขาดสมาธิที่จะคิดเกี่ยวกับตัวเอง ว่าเป็น "อะไร" ขาดมิติทางจิตวิญญาณ ยากที่จะเข้าถึง "ความพอเพียง" ที่พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงมีเมตตาพระราชทานเป็นสติแก่พวกเรา

  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยครับคุณสามารถ
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นกันครับ
  • โดยเฉพาะเป็นการต่อยอดและเติมความเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญาให้กับผมและทุก ๆ ท่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ
  • ตอนนี้ผมกำลังฝึกปฏิบัติอยู่ครับ ถ้าคุณสามารถมีสิ่งใดแนะนำเชิญเลยนะครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท