ข้อเสนอโครงการวิจัย ของคนบนดอย ; Proposal from Mountain


การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เหมือนเราเป็นศิลปินวาดภาพ เราต้องบรรจงวาดภาพให้รายละเอียดทุกแง่มุม ให้สวยงาม มองแล้วเข้าใจ เป็นภาพที่มีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งความสวยงาม มิติของภาพ

เจ้าหน้าที่ห้องสมุดยื่นจดหมายซองสีน้ำตาลให้ผม...จ่าหน้าซองถึงผม แต่ไม่ยักจะมีที่อยู่

 

ผมเปิดดู เป็นกระดาษ เอ๔ เก่าๆ สองสามแผ่น ข้างในบรรจุด้วยลายมือ อ่านง่ายเป็นระเบียบ เรียบร้อยดี บ่งบอกถึงความตั้งใจของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี

ผมเปิดดูเอกสารข้างใน จดหมายจาก "จะคือแน"  หนุ่มลาหู่ดำ(มูเซอดำ) คนนั้น นั่นเองครับ

หาอ่านเรื่องของ "จะคือแน" ที่บันทึก "ต้นกล้าน้อยบนดอยสูง" (Click)

ดูจากรูปแบบการเขียนแล้ว ผมชื่มชมเขามากครับ แสดงว่า "จะคือแน"มีความคิดรวบยอดอยู่ในหัวเรียบร้อยแล้ว จึงร้อยเรียงลงในกระดาษ เป็นสื่อเพื่อส่งมาให้ผมอ่านให้ข้อเสนอแนะก่อนที่จะนำเข้าไปที่ สกว.

(ผมไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เขาควรจะเขียนอย่างไร อยากให้เขาอะไรก็ได้ที่อิสระเพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการทำข้อเสนอการศึกษาวิจัยในพื้นที่เท่านั้น)

รูปแบบ การเขียนข้อเสนอโครงการของ "จะคือแน "

มีโครงสร้างดังนี้ครับ

  • ชื่อโครงการ
  • ความเป็นมา และปัญหา
  • วัตถุประสงค์
  • แผนงานศึกษา วิจัย
  • นักวิจัย(รายชื่อ)
  • ที่ปรึกษา(รายชื่อ)
  • งบประมาณ
  • ระยะเวลา
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ข้อมูลของ จะคือแน
  • กรอบแนวคิดของการเสนองานวิจัยครั้งนี้
  • แถมมาด้วย อภิธานศัพท์บางคำที่ น่าสนใจ

เห็นมั้ยครับ ว่า "จะคือแน" ไม่ธรรมดา ในความคิดของผม ตรงที่ผมเสนอเป็นเพียงโครงร่างที่เขาเขียนมาเท่านั้นนะครับ

หากเรามาดูเนื้อหา และวิธีการเขียนของเขาแล้ว น่าสนใจมากขึ้นกว่ารูปแบบที่เขาสร้างขึ้น การถ่ายทอดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ อ่านแล้วเห็นภาพและเข้าใจงานของเขาที่พยายามนำเสนอ

ส่วนตัวผมมองว่า "ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา"เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด การเขียนต้องใช้ทักษะการเขียน และเขียนให้ครอบคลุม ให้เห็นภาพ

 

ผมเปรียบให้น้องๆ และนักวิจัยชาวบ้านใหม่ๆ ฟังบ่อยๆว่า

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เหมือนเราเป็น "ศิลปินวาดภาพ" เราต้องบรรจงวาดภาพให้รายละเอียดทุกแง่มุม ให้สวยงาม มองแล้วเข้าใจ เป็นภาพที่มีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งความสวยงาม มิติของภาพ

"จะคือแน"

ผ่านครับ  ผ่านฉลุย....ในความคิดของผม

ผมในฐานะ Research Counselor  : RC จะให้ข้อเสนอแนะในกระบวนการบางอย่าง และจะนำข้อเสนอที่ว่า ไปนั่งคุยกันใน "เวทีชุมชนคนวิจัยที่แม่ฮ่องสอน" และในวันนั้นจะพา "จะคือแน"ไปด้วย 

 


ผมมีหน้าที่ช่วยเพาะพันธุ์กล้าไม้ ต้นใหม่ๆรดน้ำ ใส่ปุ๋ย(อินทรีย์) คอยผลักดันและให้กำลังใจ หากเป็นพันธุ์กล้าไม้ท้องถิ่นก็จะดีมาก เพราะไม้ท้องถิ่นจะขึ้นและเติบโตได้ดี ให้ประโยชน์ได้เต็มที่ในพื้นที่ของเขา ต้นไม้ต้นนั้นจะเข้มแข็งและไม่ตายง่ายๆ

 

บันทึกต่อๆไป ผมจะนำเสนอสิ่งที่ี่"จะคือแน"คิด  

ว่า เขาคิดจะทำงานวิจัยในแง่มุมใด ที่จะพัฒนาชุมชนลาหู่บนดอย ของเขา น่าสนใจทีเดียวครับ

 

หมายเลขบันทึก: 43064เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
คงจะได้งานที่น่าอ่านมากค่ะ ชื่นชมค่ะ :)

จากประสบการณ์ที่ทำงานกับคนชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ เขาถ่ายทอดงานออกมาได้เป็นธรรมชาติมากเลยครับ

คนจียนยูนนาน ทำ mind Map  เป็นภาษาจีน น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ ครับ  ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจ นักวิจัยบนดอย

ในภาพเขาทำอี่หยังคุณจตุพร บอกแน่เด้อเป็นตาน่าสนใจ

คุณออต

ภาพเป็นของเล่นลาหู่ที่เอาไม้ใผ่มาสอดติดกันและให้เราเอาออก

มาให้ได้ครับ...ผมทำไม่ได้ เลยให้ผู้อาวุโสคนนี้สอนครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท