เราจะช่วยเหลือกันได้อย่างไรเมื่อภัยน้ำท่วมมาเยือน


คณะผู้จัดทำ นางสาวจารุณี กิตโร, นางปฐมามาศ โชติบัณ, นางอุทุมพร ทันตานนท์ และนางศิริอร ภัทรพฤกษา

     จากประสบการณ์เมื่อ ปี 2543 พวกเราพบว่าเพื่อนบ้านและคนในชุมชน คือบุคคลที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุด  เดิมหลายคน อยู่บ้านใกล้กัน แต่แทบจะไม่เคยได้คุยกันเลย ปกติเพียงแค่ส่งยิ้ม เมื่อครั้งที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วยกันทุกคน มีหัวอกเดียวกัน ร่วมทุกข์ด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น อาหารที่มีอยู่ก็แบ่งปันกันกิน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน หลังน้ำลดก็ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน รถ  ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน  ทำให้เห็นว่า “ในความทุกข์ยากก็ยังมีน้ำใจที่ดีแก่กัน”

     การช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านจะช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเราได้ ควรมีการประชุมร่วม กันในกลุ่มเพื่อนบ้าน และชุมชน เพื่อวางแผนเตรียมรับภัยน้ำท่วมเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดความเสียหารได้ เนื่องจากเพื่อนบ้านแต่ละคนทักษะพิเศษต่างกัน เช่น บางคนเป็นแพทย์, พยาบาล, วิศวกร, ช่างเทคนิค  เป็นต้น แต่ละคนรู้ว่าจะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือผู้สูงอายุ และสามารถวางแผนการดูแลเด็กในกรณีที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้านได้อย่างไร ทุกคนควรทราบจำนวนผู้อยู่อาศัย ของแต่ละบ้าน และมีการตรวจสอบจำนวนทีชัดเจนเมื่อเคลื่อนย้ายผู้คน

     ขั้นตอนการอพยพออกจากบ้าน

1. ติดตามข่าวสารทางวิทยุ เพื่อรับทราบสถานการณ์ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
2. สวมเสื้อผ้าที่ปกป้องร่างการและรองเท้าที่ทนทาน
3. นำชุดอุปกรณ์ที่จำเป็น (รายละเอียดตามเอกสาร ชุดที่ 1) ติดตัวไปด้วย
4. ปิดประตูบ้าน
5. ควรใช้เส้นทางที่เชื่อถือได้ จากการ รายงานข่าว อย่าใช้ทางลัด เพราะอาจเป็นเส้นทางที่อันตราย และการช่วยเหลือจะเป็นไปด้วยความลำบาก
6. ควรปิดน้ำ แก๊ส และเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อนออกจากบ้าน
7. ควรเขียนบันทึกบอกคนอื่นว่าคุณออกไปอยู่ที่ไหน
8. ขนย้ายสัตว์เลี้ยงไปอยู่ที่ปลอดภัย

     หากมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วม ขอให้คุณเตรียมปฏิบัติตามแผนที่ครอบครัวได้ตกลงกันไว้ อย่านิ่งนอนใจหรือชะล่าใจในระดับน้ำ มิฉะนั้น คุณและครอบครัวจะไม่สามารถอพยพออกจากที่อยู่อาศัยได้ทัน ความสูญเสียที่เกิดแก่ชีวิต เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ไม่สามารถประเมินค่าได้ การรักษาชีวิต เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าในสถานการณ์ใด

     ด้วยความปรารถนาดี กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่

     เอกสารอ้างอิง
     อมร  รอดคล้าย. (2543). การพึ่งพาตนเองและพึ่งพาอาศัยกันทางสาธารณสุข บทเรียนร่วมกันของอุทกภัยหาดใหญ่, 2543 – 2544. โรงพยาบาลชุมชน, 2(5), 15-20.
     The American National Red Cross. (2001).  Disaster Services. Mimeographed.

     ปล.เป็นความรู้จากเอกสารที่ผมได้รับมาจาก นพ.อมร รอดคล้าย ตามบันทึก ก็เพราะ GotoKnow.Org อีก(ครั้ง) ครับ

หมายเลขบันทึก: 43016เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

   ผมดูข่าวน้ำท่วม บางสะพาน  ชุมพรและที่อื่นๆในภาคใต้  ช่วงนี้แล้วไม่สบายใจ   ปีนี้น้ำมาเร็วและอาจเกิดซ้ำหลายรอบ  เราอาจมีประสบการณ์  แต่อยากจะให้ประสบการณ์นั้นเปลี่ยนเป็นบทเรียนที่ไม่สิ้นสุด  เพราะบ่อยๆที่พบว่าเราเคยประสบแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันหรือแ้ก้ปัญหาวิบัติภัยที่เกิดขึ้น

   ส่งข้อมูลมาให้ตามต้องการ  แต่เมื่อมีน้ำท่วมบางสะพาน  ที่ผมเห็นที่หาดใหญ่คือมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี เคลื่อนพลไปช่วยแล้ว

อาจารย์หมออมร

     ใช่ครับมีมากมายหลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะนำประสบการณ์มาป้องกันและแก้ปํญหาวิบัติภัยไม่ได้ หรือได้ก็ไม่ค่อยดีนัก ประสบการณ์ในแต่ละครั้งจึงน่าจะเป็นบทเรียนที่ไม่สิ้นสุด
     "มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี" คงคล่องตัวและมีการดำเนินงานที่ดี จริง ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท