พุทธพัฒนา


สืบเนื่องจากคำถามอันมีประโยชน์อย่างยิ่งของนายบอน

ที่ได้บอนได้ถามว่า

"เป็นคำศัพท์ใหม่เลยนะครับเนี่ย เป็นศัพท์ในงานพัฒนาหรือเปล่าครับ ไม่คุ้นเลย"

 จากบันทึกในเรื่อง ชนธจักร 

คำว่า ชนธจักร ผมเคยได้ยินประมาณ 2 ปี ครับ แต่ส่วนใหญ่ผมจะเป็นคนที่ไม่ค่อยจะจำคำทับศัพท์สักเท่าไหร่ จำได้แต่วิธีการที่จะลงไปทำงานกับชุมชนได้ครับว่ามี 3 ข้อ ครับ คือ

 

1.   ต้องการให้พหุชนได้รับความสุข

2.   ต้องการให้พหุชนได้รับประโยชน์

3.   ต้องการช่วยให้สังคมหรือโลกนี้มีความสวยงามน่าอยู่

ซึ่งผมก็ได้ยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการปฏิบัติงานตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นชุมชนจริง ๆ คือท้องถิ่นที่ลงไปทำงานวิจัย ชุมชนที่ทำงานอยู่ด้วย คณะวิทยาการจัดการ ชุมชนครอบครัว ชุมชนเพื่อน หรือในตอนนี้ก็คือชุมชน "พัฒนบูรณาการศาสตร์" ผมยึดหลัก 3 ข้อนี้เสมอครับ

หลังจากที่ได้รับคำถามจากนายบอนทำให้ผมคิดถึงคำ ๆ หนึ่งได้เลยครับ

"พุทธพัฒนา"

ซึ่งตอนนี้ในหัวของผมคิดว่า การพัฒนาที่มีรากฐานมาจาก "พุทธ" และ "พุทธธรรม" น่าจะเป็นสมมติฐานที่เป็นไปได้สำหรับบริบทสังคมไทยในทุกวันนี้ครับ

เพราะหลังจากที่ได้เรียนเรื่อง "พุทธเศรษฐศาสตร์" กับ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน

มีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า

"เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ" เราได้มาได้อย่างไร และมีไว้จะมีประโยชน์อะไรบ้าง

เพราะหลังจากที่ได้ได้เรียนวิชา "พุทธเศรษฐศาสตร์" 

อาจารย์อภิชัย ได้ถามว่า "เศรษฐศาสตร์" หมายถึงอะไร

"เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการนำทรัพย์กรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด มาผลิตเป็นสินค้า และบริการเพื่อการบริโภครวมถึงการกระจายผลผลิตหรือสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภคด้วย วิชานี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อการมีความเป็นอยู่ที่ดี หรือคุณภาพชีวิต ให้แก่ประชาชนของทุกประเทศ"

คำตอบที่ได้นั้น ผมงงมาก ๆ เลยครับ ว่าทำไมความหมายถึงเหมือนกับคำว่า การจัดการ (Management) เลยล่ะ

เพราะความหมายที่เด็กเกียรตินิยมอย่างผมร่ำเรียนมาและสอนนักศึกษามาสามสี่ปี ท่องขึ้นใจไว้เสมอว่า

การจัดการ หมายถึง การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

เป็นประเด็นปัญหาแรกที่ทำให้ผมต้องขบคิด

ประเด็นที่สองพอได้ฟังความหมายของเศรษฐศาสตร์ ของ ศ.ดร.อภิชัย แล้วนั้น

โอ้โห เป็นทุกรายวิชาทางการบริหารธุรกิจเลยนี่หน่า

ตั้งแต่การบริหารการผลิต องค์กรและการจัดการ การจัดการเชิงกลยุทธ์  จริยธรรมทางธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอยู่ในเศรษฐศาสตร์หมดเลยเหรอ

ตกลงที่เราเรียนมาเราเรียนอะไรกันแน่เนี่ย

และโดยเฉพาะมาเจอคำว่า "เศรษฐศาสตร์เอ๋อ (Autistics Ecnomics) เข้าไปอีก ยิ่งงงหนักเลยครับ

จากนั้นผมก็เลยไปเอา Transcript ทั้งหมดตั้งแต่ ปวช. (บัญชี) ปริญญาตรี (บริหารธุรกิจ) และปริญญาโท บริหารธุรกิจ มานั่งนับดู  ว่าผมนั่งเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาทั้งหมดกี่ตัว

นับแล้วรวมกันได้ 5 ตัวครับ ตั้งแต่เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 2 รอบ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ตกลงพวกนั้น "เอ๋อ" หมดเลยเหรอ

แน่นอนครับ ผมคงจะไม่เชื่อง่าย ๆ หรอกครับ เพราะตามหลักการ "กาลามสูตร" สิบอย่างที่ยังไม่ควรเชื่อ อย่างน้อยขอลองคิดและลองปฏิบัติดูก่อนครับ

จากนั้นผมก็เริ่มลองคิดย้อนกลับไปดูว่า เอ๊! ที่เรียน ๆ เศรษฐศาสตร์มา คำนวณโน่นคำนวณนี่แทบตาย มาถึงก็วาดกราฟ ๆ ๆ ๆ ๆ แล้วก็กราฟ

กราฟกับประเทศไทย ไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ

เพราะประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและสรรพสิ่งมากที่สุดในโลก ไม่มีตัวแปรใดที่จะควบคุมให้หยุดนิ่งเหมือนกับหลักการสมมติทางเศรษฐศาสตร์ได้เลย

พอคิดถึงข้อนี้ก็เริ่มเชื่อขึ้นมาหน่อยครับ

จากนั้นผมก็มีโอกาสได้ย้อนกลับไปดูเอกสารและรูปภาพต่าง ๆ ที่จะนำลงบันทึกทั้งในส่วนของ "ความรู้คือพลัง" และที่สำคัญคือบล็อค "ไดอารี่" ชีวิต

ก็ได้คำตอบว่า หลักการที่สามารถทำงานกับชุมชนอย่างเป็นสุขได้อย่างยั่งยืนก็คือ "พุทธรรม"

ต้องขอบคุณนายบอนอีกครั้งครับที่ทำให้ผมเกิดความคิดเรื่องของ "พุทธรรมกับการพัฒนา" แว๊บขึ้นมาจิตและสมองครับ

เป็นการจุดประกายที่สำคัญที่จะทำให้ผมเริ่มเขียนเริ่มเก็บ เริ่มเขียน และเริ่มเก็บ เรื่องพุทธรรมที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในเชิง "พัฒนบูรณาการศาสตร์" 


"บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พัฒนาชุมชน จิตวิทยา"

"พุทธเศรษฐศาสตร์ การจัดการความรู้"

"วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์"

"ทุนนิยม ปัญญานิยม"

นำทั้งหมดมาบูรณาการเข้าด้วยกัน

อยู่บนฐานของ "พุทธรรม"

น่าจะออกมาเป็น.................

หมายเลขบันทึก: 42998เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เย้ทำรายงานได้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท