KM น้อย ๆ ท้ายการประชุม แต่ได้ผลเยี่ยม


KM ไม่ใช่งานอีกชิ้นที่เราต้องทำ แต่เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ในการเอาความรู้ไปใช้ทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ(วางไว้)

        เมื่อวันศุกร์ ที่ 4 ส.ค.49 สำนักงานผมได้ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือน  ผมดูวาระการประชุมแล้ว  งานช่างมากมายจริง ๆ ทั้งงานเดิมที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง  งานใหม่(ด่วน)  ที่เข้ามาเป็นระยะ ๆ เราเองผู้รับผิดชอบงานที่ตำบลต้องทำทุกงาน  ที่หลัก ๆ ผมดูแล้ว ดังนี้

  • งาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • งาน กรมส่งเสริมการเกษตร(สายตรง)
  • งาน จังหวัด (CEO) หลายโครงการ
  • งาน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
  • งาน โครงการสำนักงานเกษตรจังหวัด
  • งาน บูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร ฯ เช่น ประมง พัฒนาที่ดิน ปศุสัตว์
  • งาน โครงการอำเภอ(งบ CEO)
  • งาน โครงการลุ่มน้ำปากพนัง
  • งานอื่น ๆ ที่ไม่มีหลักจับแน่นอน แบบสายฟ้าแลบ สั่งลงมาต้องทำก่อนใครเพื่อน แผนเดิมที่วางไว้จะแหว่งพับงอไร้ทิศทาง
           นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมสรุปแบบรวมเรื่องใหญ่  แต่ละเรื่องใหญ่ก็มีเรื่องปลีกย่อยอีกมากมาย งานแต่ละงานพวกผมต้องเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา  โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง(ใช้กับรถส่วนตัวนะครับ)  ต้องควักกระเป๋าครับ ไม่ไปงานมันไม่เสร็จ เมื่อไม่เสร็จผลมันออกมาว่าเราทำไม่เสร็จไม่มีใครรับผิดชอบให้เรา เราจึงต้องทำให้เสร็จ  ท่านเกษตรอำเภอบอกพวกเราว่า  เราต้องตั้งสติให้ดี เรียงลำดับงานให้สอดคล้องกัน 

  
                ขอเล่าส่วนนี้ไว้แค่นี้  มีโครงการหนึ่งที่สำนักงานเกษตรเป็นกองเลขา คือ โครงการพระพรหมเกษตรอินทรีย์  (คลิ้กดูรายละเอียดได้ครับ)  โครงการนี้มีเป้าหมายการอบรมเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ  50 กลุ่ม 1,000 คน  การอบรมได้กำหนดไว้ 10 รุ่น ๆ 100 คน ซึ่งก็ครบรุ่นแล้ว  แต่สมาชิกกลุ่มบางรายก็ยังมาไม่ได้ครบ  เพราะมาอบรมสรุปแล้ว 83 %  จำเป็นต้องมาอบรมให้ครบทุกคน เพราะไม่เช่นนั้นจะสร้างปัญหาความไม่เข้าใจต่อการบริหารงานของกลุ่มและแนวทางของเกษตรอินทรีย์  (โครงการนี้ต้องการพัฒนาคนเป็นสำคัญ)

       เมื่อถึงตอนเริ่มพูดคุยเรื่องนี้  ผมก็รีบหาวิธีการดึงเข้ามา ในกระบวนการ แลกเเปลี่ยนเรียนรู้  โดยเป้าหมายตั้งที่ ให้สมาชิกทุกคนได้ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรม(เพื่อพัฒนาคนที่ใจ) ให้ได้ จึงคิดหาโจทย์ ตั้งคำถาม  ให้ผู้รับผิดชอบประสานกลุ่มองค์กร  ได้เล่ารายละเอียดการอบรมที่ผ่านมา   ข้อมูลของเกษตรกรรายที่ไม่ได้มาอบรมว่าเขามีความจำเป็นอะไรบ้างแยกออกมา  เพื่อให้การอบรมที่เก็บตกรุ่นสุดท้ายจะได้มาครบทุกคน และโดยที่เขาไม่กังวลเมื่อมาอยู่ในห้องเรียนรู้ซึ่งจะได้เรียนรู้ด้วยความมีสมาธิ  

        จากข้อมูลที่ได้รับเราก็ได้เรียนรู้ วิถีชีวิตความรับผิดชอบแต่ละครอบครัวว่าไม่เหมือนกัน  การที่เขาไม่มาตามแผนเดิมเราได้รู้ว่าเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้าที่เขาเองไม่สามารถหลีกได้  เช่นบางคน ลูกป่วย ญาติป่วย  ไปทำธุระที่โรงเรียนให้ลูก  หน่วยงานอื่นนัดหมายไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว  นัดรังวัดที่ดิน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นทุกวันในหมู่บ้าน/ตำบล  ในที่สุดเราก็ได้สรุปการดำเนินงานและกำหนดแผนรายละเอียดในการจัดอบรมรุ่นสุดท้าย  คาดหมายไว้ว่าครั้งนี้สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์คงได้มาอบครบทุกคน

         ผมก็ได้บอกกับเพื่อนร่วมงานว่า  เมื่อกี่เราเข้ากระบวนการ KM แล้วโดยเราทุกคนไม่รู้ตัว   พวกเราผู้รับผิดชอบตำบลเป็นคุณกิจ/คุณเล่า  ท่านเกษตรอำเภอเป็นคุณ เอื้อ/อำนวย   ให้เรา  ส่วนน้องพนักงานธุรการทำหน้าที่คุณบันทึก/ลิขิต วัตถุประสงค์ของผมที่เอามาบอกกับเพื่อน ๆ ก็เพื่อให้เรารู้กันว่า KM ไม่ใช่งานอีกชิ้นที่เราต้องทำ แต่เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ในการเอาความรู้ไปใช้ทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ(วางไว้)

คำสำคัญ (Tags): #เรารักในหลวง
หมายเลขบันทึก: 42984เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

KM ไม่ใช่งานอีกชิ้นที่เราต้องทำ แต่เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ในการเอาความรู้ไปใช้ทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ(วางไว้)

งานมากมายดังที่เล่าข้างต้น คุณชาญวิทย์ใช้KM จัดการอย่างไรครับ?

เรียน อ.ภีม

         ผมเองพยายามเรียนรู้กระบวนการ KM เพื่อหวังจะจัดการกับงานอันมากมายเหล่านั้นครับ  ด้วยเป้าหมายคือพยายามค้นหาองค์ความรู้  จากการเล่าประสบการณ์ของหลาย ๆท่านที่บันทึกไว้ใน Blog และทดลองปฏิบัติ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตัวเอง เมื่อทดลองและพบเห็นผมก็เปรียบเทียบ  และเขียน Blog เพื่อหวังให้ท่านอื่น ๆ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและเป็นตัวชี้วัดความเข้าใจไปในตัวครับ 

        - ส่วนในตอนนี้การจัดการกับงานนั้น  การปฏิบัติที่ทำอยู่จะผ่านทางกลุ่มองค์กร(กลุ่มอาชีพ,กลุ่มองค์กิจกรรมทางสังคม)เป็นหลัก  ซึ่งแล้วแต่กิจกรรมของงาน เช่น ถ้าเป็นกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร  ผมจะใช้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จ  ค้นหาภูมิปัญญา  บางครั้งหากได้ไม่พอก็หาองค์ความรู้สำเร็จรูป(โดยวิทยากร)เข้าเสริม

        - ส่วนอีกช่องทางหนึ่งประเภทงานพัฒนาที่ต้องการการตัดสินใจของชุมชน  จะจัดเวทีผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วมครับ  เพราะในชุมชนนั้นไม่มีใครรู้ดีไปกว่าคนในชุมชน  ให้เขาเสวนาโดยเราตั้งโจทย์ขึ้นมาครับ

         ขอบคุณนะครับ  อยากให้ อ.ภีม ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย 

  • มีอีกวิธีหนึ่งค่ะ คือ "เพื่อนช่วยเพื่อน" โดยให้คนที่ผ่านการอบรมแล้วและดูหน่วยก้านดีๆ มีความมุ่งมั่น  ไปช่วยสานต่อถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอบรมมาก่อนให้กับเพื่อนผู้ไม่สะดวกมาค่ะ 
  • คุณชาญวิทย์ทำ KM เนียนในเนื้องานจริงๆค่ะ 
ชาญวิทย์ - นครศรี ฯ

ขอบคุณพี่เหม่ยมากครับ  ที่กรุณาแลกเปลี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท