"ปราชญ์ชาวบ้าน" ปราชญ์แห่งชีวิต


“เกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น พึ่งตนเองได้อย่างมีความสุข

พวกเราเดินทางมาถึงจังหวัดขอนแก่นเวลาประมาณ 10.30 น. 

การประชุมวันนี้มีขึ้นที่ห้องประชุมชั้น 4 วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรครับ

พ่อผาย สร้อยสระกลาง กล่าวเปิดการประชุม "เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน"

จากนั้นพ่อผายและทีมงาน ได้เริ่มนำเสนองานวิจัยเป็นชุดแรก

"การขยายพันธุ์ไก่พื้นบ้านด้วยเทคนิคภูมิปัญญา เลี้ยงและขยายตามเทคนิคของพ่อผาย ชุดความรู้ฉบับไทบ้าน" ครับ

เทคนิคการวัดไก่ภูมิปัญญาแบบพ่อผาย

"ไก่แม่พั้นธุ์ดี๋ สิต้องมีตะเขียงกั้ง 2 นิ้ว จังสิไห่ไข่ด๊ก ปีนึงสิได้ประมาณสิบเทือ ไคแต่ละเทือ สิได้สิบหกทึ๊งสิบแปดไค"

เห็นเทคนิคการวัดไข่โดยใช้ภูมิปัญญาของผายแล้ว ผมทึ่งมาก ๆ เลยครับ เพราะสิ่งที่ท่านพูดนั่นแฝงไปด้วย "ทุน" และ "ประสบการณ์" ที่นักวิชาการแทบชิดซ้ายไปเลยครับ ไม่ต้องใช้ไม้บรรทัดอะไรให้วุ่นวายครับ ใช้สิ่งที่มีติดตัวเรามาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

และเมื่อได้พบเจอกับสิ่งที่พ่อเชียง  ไทยดีได้พูดเกี่ยวกับประชุมปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน ก็ยิ่งทำให้เชื่อมั่นในความเป็นปราชญ์ของทุก ๆ ท่านครับ

พ่อเชียงกล่าวว่า

การทำงานทุกอย่างต้องมีแผน และต้องประชุมเพื่อวางแผนกฎกติกาและมารยาทในการทำงานร่วมกัน ที่พวกเราประชุมกันผ่านมา ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำงานที่ดีมากมีความโปร่งใส ที่ทำให้งานมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ มีความขัดแย้งกันไม่มาก และสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งด้วยแผนและกฎ กติกา มารยาท ในการทำงานดังกล่าวข้างต้น จึงขอให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ช่วยกันทำงานต่อไปให้เกิดประโยชน์สุขต่อเครือข่ายและประชาชนที่สนใจตลอดไป

จากนั้นพวกเราก็ได้ชื่นชมกับความสามารถของ "พ่อชาลี มาระแสง"

ซึ่งท่านทำวิจัยเรื่อง

"งานวิจัยและพัฒนาการเพาะลูกหมูพันธุ์พื้นเมือง"

ท่านเป็นนักวิจัยมืออาชีพมาก ๆ ครับ ท่านเก็บข้อมูลและนำเสนอข้อมูลความเป็นไปของแม่หมูและลูกหมูที่ท่านเลี้ยงได้เยี่ยมมาก ๆ เลยครับ

และพ่อชาลียังได้กล่าวถึงเรื่องของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไว้อย่างน่าสนใจมาก ๆ เลยครับ พ่อชาลีกล่าวว่า

เกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น พึ่งตนเองได้อย่างมีความสุข ซึ่งต้องมีกล้วย ผัก ผลไม้ สมุนไพร ไม้ใช้สอย ร่วมกับต่อยอดด้วยกล้าไม้ วัว หมูกระโดน


อะไรหรือคือโอกาส?

นี่แหละครับ คือโอกาสอันหนึ่ง ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาเก็บเกี่ยว ซึมซับ ความรู้และความสามารถจากปราชญ์แต่ละท่าน ความทรงจำนี้จะมิมีวันลืมครับ

ภาพแห่งความประทับใจ ครั้งหนึ่งในชีวิต ร่วมถ่ายภาพกับปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานครับ

หมายเลขบันทึก: 42970เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เก็บรายละเอียดได้ดีมากครับ เสียดายจัง นายบอนรู้รายละเอียดช้าไปนิด ไม่งั้นจะแวะไปแจมด้วยครับ

เสียดายเช่นเดียวกันครับ

วันนั้นนั่งรถผ่าน มมส. ด้วยครับ

วันนั้นถ้ามีเบอร์นายบอนติดอยู่ในมือ ต้องโทรชวนไปด้วยกันให้ได้ครับ

  • เป็นการรวมภูมิปัญญาที่เยี่ยมที่สุดในภาคอีสานนะครับ
  • ถ้ามีครูบาและเหล่ามหาวิชชาลัยมาร่วมจะดีมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับที่เล่าให้ฟัง

เบอร์โทร..นายบอนครับ..016615526

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท