EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

ความจริงของการดูแลจัดการสวนปาล์มน้ำมัน


เมื่อกล่าวถึงปาล์มน้ำมันเกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับพันธุ์ปาล์มน้ำมันมากกว่าการจัดการสวน พื้นปลูก มุ่งเน้นไปที่พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร เมื่อปลูกแล้วไม่เคยเอาใจใส่หรือเข้าสวนเลยสักครั้ง ลองคิดดูแล้วกันว่าจะได้ผลดีหรือไม่ ความเป็นจริงของการดูแลจัดการสวนปาล์มน้ำมันนั้นเริ่มตั้งแต่ก่อนลงมือปลูกด้วยซ้ำ ซึ่งพอกล่าวได้ต่อไปนี้

  1. ปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน กล่าวหยาบๆ คือทำไงก็ได้ให้ระดับน้ำต่ำกว่าระดับผิวดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ไม่ควรเกิน 1 เมตร
  2. วางระยะปลูกให้เหมาะสม ทุกวันนี้แนะนำส่งเสริมกันอย่างตะพึดตะพือว่า ระหว่างต้นต้อง  9 เมตร บางที่น้อยกว่า 9 เมตรด้วยซ้ำ เท่าที่ลงแปลงส่งเสริมแนะนำเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันในหลายพื้นที่พบว่ามีปัญหาดังกล่าวทุกสายพันธุ์ เนื่องจากระยะห่างน้อยเกินไปทำให้ทางใบสานกัน ต้นสูงเร็วเกินไป ส่งผลให้ผลิตน้อยกว่าปกติ กระทั่งปาล์มทางสั้นที่แนะนำให้ปลูกใน 9 เมตรก็ตาม อย่าลืมว่าปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่ ทางใบยาวเต็มที่ ทะลายใหญ่เต็มที่ อย่างเร็วปลูกไปแล้ว  6 ปี ปัญหาก็คือ 4 ปีแรก ทางใบจะดูสั้นๆ ซึ่งจะเกิดกับทุกพันธุ์กว่าจะรู้ตัวว่าปลูกชิดก็เข้าปีที่ 6  ยิ่งเกษตรกรเจ้าของสวนไม่เอาใจใส่ยิ่งไม่มีทางรู้เลย ระยะเวลา  9 -10 ปีแทบไม่มีทะลายให้เชยชมเลย นี่คือความเป็นจริงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่ไม่มีใครกล่าวถึง อยากแนะนำว่าควรปลูกระยะที่ 10เมตร ดินดีอาจต้องเพิ่มระยะห่างออกไปถึง 13 เมตร เคยมีบางหน่วยงานบางบริษัททดลองปลูกปาล์มในระยะ 9 เมตร เทียบกับกับระยะ 10 เมตร ในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน ดูแลจัดการเหมือนกัน อายุปาล์ม 6 ปีขึ้นไป เนื้อที่ปลูกเท่ากันตัดผลผลิตได้เท่ากัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ระยะปลูก 10 เมตร ใส่ปุ๋ยต่อไร่น้อยกว่า ดูแลต้นน้อยกว่า แต่งทางน้อยกว่า และเมื่อต้นปาล์มอายุ 10 ปีนับจากวันลงปลูก ส่วนสูงต่างกัน ประมาณ 1-1.5 เมตร นั่นแปลว่าแปลงที่ปลูกระยะ 9 เมตร ต้องโค่นก่อนแน่นอน
  3. การปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม มีชีวิตมีจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ปุ๋ยคอก(มูลโค มูลไก่ มูลสุกร) หรือปุ๋ยหมักร่วมกับพูมิชซัลเฟอร์ เนื่องจากเป็นหินแร่ภูเขาไฟ มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลดปล่อย เคลื่อนย้าย เพิ่มธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ให้ต้นพืชได้อย่างสมดุล ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืชต่างๆ ต่อไปนี้
  • ซิลิซิค แอซิค ( H4SiO4) : ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการเข้าทำลายของแมลง ไร รา ศัตรูโรค  * หากกรณีใส่ทางดิน ช่วยเพิ่มซิลิก้าในดิน ตรึงสารพิษไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช และช่วยอุ้มน้ำป้องกันดินแห้ง
  • แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ) : ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด  ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม  ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ  ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen)
  • แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3 ) : เป็นสารประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ ช่วยสร้างเม็ดสี (pigments)  และสารสีเขียว  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืชร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน ดูดซับฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช
  • ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในการสังเคราะห์แสง  สร้างแป้งน้ำตาล  ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค  ช่วยให้พืชแก่เร็ว  ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด  และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น
  • ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน (So42- ) : ช่วยการเจริญเติบโตของราก  เป็นส่วนประกอบของสารประกอบหลายชนิดเช่น วิตามินบี 1 และ บี 3 กรดอะมิโน ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง  เพิ่มไขมันในพืชและควบคุมการทำงานของแคลเซียม
  • เหล็ก  (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟิลล์และ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ สร้างโปรตีนและดูดซับธาตุอาหารอื่น
  • สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ เอนไซม์ ช่วยให้การทำงานของฟอสฟอรัสและไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติ สมบูรณ์เพศและมีส่งผลต่อการสุกแก่ของพืช

       ข้อดีที่กล่าวนี้ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจถามหานำไปใช้เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ปรับค่า pH ในดิน ช่วยสร้างเพิ่มจุลินทรีย์ในดินพร้อมๆ ส่วนการเพิ่มธาตุอาหารหลักอย่าง N P K ยังคงต้องพึ่งปุ๋ยเคมีเป็นหลัก เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ลูกมาก ใครคิดจะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกล้วนๆ จะต้องใส่ต้นละประมาณ 1 ตัน/ปี กันเลยจึงจะเพียงพอ ลองคิดดูแล้วกันว่าต้นทุนจะสูงขนาดไหน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกสักทีเดียว นั้นคือใช้พูมิชซัลเฟอร์ที่ว่าผสมปุ๋ยเคมี (1 : 1) ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (1 : 2) ผสมเป็นปุ๋ยละลายช้า

การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง ถูกสัดส่วน ถูกเวลา และถูกที่ กระทำได้ต่อไปนี้

  • ถูกต้อง นั่นคือแบ่งใส่น้อยแต่บ่อยครั้งดีกว่านานๆใส่ครั้งแต่ใส่หนักมือ
  • ถูกสัดส่วน พืชทุกชนิดต้องการธาตุอาหารหลัก คือไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) โดยในสัดส่วนของ N:P:K ที่ไม่เท่ากัน สำหรับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วต้องการในสัดส่วนประมาณ 2:1:4  ถึง 3:1:7 ขึ้นกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
  • ถูกเวลา กล่าวคือช่วงหน้าแล้งหรือฝนตกหนัก ห้ามใส่ปุ๋ยเด็ดขาด ให้ใส่ช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ มีฝนตกประราย
  • ถูกที่ การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน คือแรกปลูกใส่ห่างจากโคนประมาณ 1 คืบ เมื่อแตกพุ่มแล้ว ให้ใส่ราวช่วงระยะ 1 ใน 3 จากปลายใบเข้าไป ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพราะนั่นเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ยกเว้น โบรอนพืชให้ใส่ตามเงาปลายใบ อย่าใส่ที่โคนหรือกาบใบเป็นอันขาด

การแต่งทางใบให้จำง่ายๆ ว่าปลูกไปแล้วอย่างน้อย 36 เดือน จึงจะเริ่มแต่งทางใบได้ หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือทะลายล่างสุดต้องมีทางเหลืออยู่ 2 ชั้น ภาษาสวนปาล์มเรียก ทางเลี้ยง(ทางใบที่ติดกับทะลายกับทางรับ ถ้าแต่งมากกว่านี้จะทำให้ต้นปาล์มจะโทรม ส่วนปาล์มที่ใช้เคียวจึงจะแต่งเหลือแค่ทางเลี้ยงอย่างเดียว

การกำจัดวัชพืชในสวนปาล์ม ควรหลีกเลี่ยงเคมีประเภทดูดซึมเด็ดขาดหรือเลิกใช้เคมีได้ก็จะเป็นเรื่องดี ซึ่งจะส่งผลโดยตรงทำให้ต้นปาล์มจะชะงักการเจริญเติบโต

ให้พึงระลึกเสมอว่าการดูแลจัดการสวนมีความสำคัญ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว จะทำให้ดีหรือเลวสุดๆก็ยังได้ อย่าเชื่อคำโฆษณา  ผลงานในแปลงปลูกเป็นตัวประจานเจ้าของและสายพันธุ์ปาล์ม พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหาซื้อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้ที่คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร. 081-3983128

หมายเลขบันทึก: 429128เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2011 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมรวบรวมบล็อกของท่านเอาไว้ในรวมบันทึก "เกษตรบ้านบ้าน"   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท