โครงการจิตอาสาพัฒนาอย่างยั่งยืน


"จิตอาสา"

        คำนี้คนจำนวนหนึ่งคงได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกมากมายหลายล้านคน ไม่เคยได้ยินหรือรู้ความหมายของคำเล็กๆ คำนี้เลย
        จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง

จิตอาสา...ทำไม?

            หลายคนมีคำถามกับสังคมว่าทำไมความวุ่นวายของสังคมจึงมากนัก การแข่งขันที่ร้อนแรงในทุก ๆ ด้าน การทำลายสิ่งแวดล้อม การเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส การปล่อยมลพิษสู่สังคม การว่าร้ายเสียดสี การแก่งแย่งชิงดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากสาเหตุเบื้องต้นคล้าย ๆ กันคือ ความเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ได้ในส่วนตนเป็นหลัก ใช่หรือไม่

          ทำอย่างไรจะลดความเอาแต่ได้ลงบ้าง ตรงกันข้ามกับการเอาเข้ามาใส่ตัวก็คือ " การให้ " แก่คนอื่นออกไป เมื่อคนต่าง ๆ เริ่มมองออกไปสู่ภายนอก แค่นอกจากตัวเองเท่านั้นเอง มองเห็นผู้อื่นอย่างลึกซึ้งแท้จริงมากขึ้น เริ่มเข้าใจมุมมองของคนอื่น เขาต้องการอะไร เขาอยู่ในสภาพไหน เราช่วยอะไรได้บ้าง มองเห็นสังคม เห็นความเป็นไป เห็นแนวทางที่จะช่วยกันลดปัญหา เริ่มให้ เริ่มสละสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เวลา แรงงาน เงิน สิ่งของ อวัยวะหรือแม้กระทั่งสละความเป็นตัวเราของเรา ซึ่งนั่นเป็นหนทางการพัฒนาจิตใจแต่ละคนได้อย่างเป็นรูปธรรม

              จิตสาธารณะตรงนี้ที่มองเห็นผู้อื่นเห็นสังคมดังนี้เองที่เราเรียกกันว่า " จิตอาสา " จิตใจที่เห็นผู้อื่นด้วย ไม่เพียงแต่ตัวเราเอง เราอาจจะยื่นมือออกไปทำอะไรให้ได้บ้าง เสียสละอะไรได้บ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แบบเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ใช่ผู้เหนือกว่า มีน้ำใจแก่กันและกันไม่นิ่งดูดายแบบที่เรื่องอะไรจะเกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับฉันฉันไม่สนใจ สามารถแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการให้รูปแบบต่างๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม

ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 เป็นปีแรก และในหลักสูตรนี้มีคุณลักษณะพึงประสงค์สำหรับนักเรียน 8 ข้อ  ในข้อที่ 8 นักเรียนมีจิตสาธารณะ  จึงได้ทำโครงการจิตอาสาพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำรงชีวิตให้แก่นักเรียนอย่างยั่งยืน

 โครงการจิตอาสาพัฒนาอย่างยั่งยืน
 โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร

...........................................

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ :    นางสคราญ วิเศษสมบัติ

กำหนดการจัดโครงการ:  ปีการศึกษา 2553

สถานที่จัดโครงการ :      โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม    อำเภอเมืองฯ   จังหวัดชุมพร

ความเป็นมาของโครงการ 

ด้วยคณะครูของโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่มและชุมชน  ได้เล็งเห็นความสำคัญของนักเรียนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ ในอนาคต    จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมตามโครงการจิตอาสาพัฒนาแบบยั่งยืน ขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำรงชีวิตให้แก่นักเรียนและเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์  สังคมและสติปัญญาและมีคุณธรรม  สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ดังนั้นคณะครูของโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม  กำหนดจัดกิจกรรมบูรณาการการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช 2554  วิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  จะมีการแทรกกิจกรรมสันทนาการแบบต่าง ๆ  เพื่อสร้างความผ่อนคลาย และไม่ทำให้การเรียนการสอนเน้นวิชาการมากนัก   เป็นการสอนที่สนุกแต่แฝงไว้ด้วยความรู้ที่น่าจดจำ ส่วนระเบียบวินัยของเด็ก ๆ  จะเน้นไปที่ในวิชาพลศึกษา  ศิลปะและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โดยสอดแทรกจิตวิทยา ให้เด็ก ๆ ได้รู้ถึงระเบียบวินัย ความสามัคคี รู้จักหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข   เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศชาติ  การจัดกิจกรรมนี้  นอกจากจะมีการจัดหลักสูตร     การเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้นแล้ว  ยังเป็นการช่วยสร้างความใกล้ชิดระหว่างครู  นักเรียนและชุมชน  ให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ ในการสร้างกิจกรรมที่ดีต่อส่วนรวมต่อไป

โครงการจิตอาสาพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีจิตอาสาเพื่อกระตุ้นให้แต่ละคนได้ลุกขึ้นมาทำความดีกันเพื่อโรงเรียนและชุมชนของเราจะได้ งดงาม  สะอาด และ เรียบร้อยยิ่งขึ้น         

      เช่นเพียงเราร่วมกันบริจาคทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ทำความสะอาดพื้นที่ตามบริเวณโรงเรียน ห้องเรียน  และห้องต่างๆ   บริเวณวัด  เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของโครงการ 

  1. เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับชุมชน
  2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการเสียสละเพื่อสังคม
  3. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
  5. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีน้ำใจและจิตสาธารณะ
  6. เพื่อสร้างความสามัคคีกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  7. เพื่อเป็นการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้แก่ โรงเรียน สังคม

 เป้าหมายของโครงการ 

 เชิงปริมาณ 

          บุคลากรรับผิดชอบโครงการและนักเรียนโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่มอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 340 คน

เชิงคุณภาพ

          บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม   อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพรเป็นผู้มีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ

 สถานที่ดำเนินงาน

โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม   อำเภอเมืองฯ    จังหวัดชุมพร

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนที่ร่วมโครงการ มีคุณลักษณะที่ดีขึ้น มีน้ำใจ เสียสละต่อส่วนรวม

2. นักเรียนมีความสามัคคีกัน สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

          นักเรียนโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่มมีคุณลักษณะมีน้ำใจ มีจิตสาธารณะในชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

  

ส่วนหนึ่งของภาพกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนาอย่างยังยืน

นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน

 

นักเรียนร่วมกันจัดห้องสมุด และจัดหมวดหมู่หนังสือ

นักเรียนพัฒนาบริเวณโรงเรียนห้องน้ำห้องส้วม

 ทำความสะอาดห้องคอมพิวเตอร์

ทำความสะอาดบันไดถ้ำเขาถล่มและบริเวณวัด

นักเรียนร่วมทำสหกรณ์โรงเรียนเป็นการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

นักเรียนทำบุญในโอกาสวันสำคัญ

 

 นักเรียนทัศนศึกษาสถานที่ในประวัติศาสตร์

จังหวัดระนอง

ประโยชน์ที่ได้รับกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนาอย่างยั่งยืน

1. เสริมสร้างด้านสวยสะอาดบริเวณโรงเรียน

          เด็กนักเรียนทุกระดับชั้นช่วยกันดูแลบริเวณโรงเรียน ห้องเรียน และบริเวณวัด ให้งดงาม  สะอาด  เรียบร้อย ส่งเสริมนักเรียนให้มีจิตอาสาพัฒนาอย่างยั่งยืน

 2. เสริมสร้างการเสียสละบริจากหนังสือและจัดบรรยากาศห้องสมุด

          เด็กนักเรียนได้อ่านหนังสือในระหว่างทำการจัดหนังสือเป็นการเสริมสร้างให้เด็ก รักการอ่าน ทำให้เด็กสามารถอ่านหนังสือได้ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้กับนักเรียน

3. เสริมสร้างด้านสุขอนามัยโรงเรียนพัฒนาห้องน้ำห้องส้วมและสนามเด็กเล่น

          เด็กนักเรียนเรียนรู้การใช้เครื่องมือในการทำความสะอาด และสารเคมีในการล้างห้องน้ำ อย่างถูกวิธี เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในกลุ่มการงานและเทคโนโลยี

 4. เสริมสร้างด้านคุณธรรม เสียสละ และการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

          เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การดำเนินงานสหกรณ์ นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริง เรียนรู้การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

5. สร้างเสริมความรู้ทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์

          นักเรียนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ทำให้เด็กนักเรียนตระหนักหวงแหนแผ่นดินบ้านเกิด มีความรู้ในรายวิชากลุ่มสังคมศึกษาและวัฒนธรรม

 

 

หมายเลขบันทึก: 428605เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ใช้ได้ดีมากๆละครับ ครูแอ๋ม  ที่ครูแอ๋มขอผมเรื่องตัวชี้วัดของเด็กนักเรียน และครู  รอวันจันทร์นะครับ เพราะติดเสาร์-อาทิตย์  ผมศึกษาให้เข้าใจจะได้พูดได้ถูกต้องละครับ

ขอบคุณคุณครูเล็ก ที่แวะมาให้กำลังใจ

ครูจารีย์ บุณยวรรต

ขอบคุณจริง ๆ ครูแอ๋ม เยี่ยม!

ชมกันเองนี่นะ อยู่ด้วยกันทำด้วยกัน ขอบคุณมาก

ครูบนเขาภูพานทอง...หนองบัวลำภู

ชอบจังโครงการนี้.....ขอทำตามด้วยนะคะปี 54นี้

ชอบก็เอาไปได้เลย แต่โครงการนี้ไม่ได้เอาขั้นตอนการดำเนินการขึ้นไปด้วย  ไปเขียนเพิ่มเอาก็แล้วกัน โครงการนี้ครูก็ปลูกฝังเด็กอยู่ตลอดนะ  เพียงแต่เราไม่ได้เก็บข้อมูลให้เป็นระบบเท่านั้น  ลองไปรวบรวมข้อมูลดูจะได้มีไว้อวด สมศ. ว่าเราก็ปลุกฝังจิตอาสา/จิตสาธารณะ ..จ้ะครูตุ๊

ขอชื่นชมโครงการนี้

จิตที่คิดจะให้นั้นเบา และสุขใจ

ขอบคุณครับ..

ขอบคุณค่ะ  คงเพราะเราเป็นครูจึงมองเห็นว่าเด็กสมัยนี้ขาดตรงส่วนนี้ จึงคิดว่าเราต้องปลูกฝังเขาแบบยั่งยืนให้ติดตัวตลอดไปค่ะ

อยากเข้าร่วม โครงการ เพื่อเเบ่งปันเเละสร้างสิ่งต่าง ร่วมถึงอยากดูเเลสิ่งดีๆ อาจาย์มีทางเเนะนำหรือโครงการดีๆบ้างใหมคราบ

ID. 0810791497

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท