หัวหน้าภาควิชากับการวิจัย


หัวหน้าภาควิชาจะต้องเป็นผู้นำทิศทางการวิจัยของภาควิชา และเป็นผู้ผสมผสานระหว่างความสนใจของบุคคล และทิศทางของภาควิชา เป็นผู้หาทางควบคุมหัวข้อการวิจัยของอาจารย์แต่ละคนให้เหมาะสม ทั้งยังต้องเป็นผู้นำในการตีพิมพ์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ

ข้อความต่อไปนี้ ผมอ้างอิงจากบทความ “มหาวิทยาลัยวิจัย” ครับ < Link >

                  “หัวหน้าภาควิชาจะต้องเป็นผู้นำทิศทางการวิจัยของภาควิชา และ
         เป็นผู้ผสมผสานระหว่างความสนใจของบุคคล และทิศทางของภาควิชา
         เป็นผู้หาทางควบคุมหัวข้อการวิจัยของอาจารย์แต่ละคนให้เหมาะสม ทั้งยัง
         ต้องเป็นผู้นำในการตีพิมพ์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ
โดยพยายามทำตัวอย่าง
         ในการใช้มาตรฐานสากลในการทำงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน

                  หัวหน้าภาควิชาจะต้องมุ่งสร้างการวิจัยและอาจารย์ที่สามารถใช้เงิน
         ปีละ 1 ล้านบาทอย่างมีผลดี นักวิจัยระดับนี้จะต้องรวมทีมนักวิจัยผู้ช่วย และ
         นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยเข้าด้วยกันได้

                  หัวหน้าภาควิชาต้องสนับสนุนนักวิจัยระดับกลางให้ใช้เงินปีละ
         100,000 - 400,000 บาท อย่างมีผลดีเช่นกัน แล้วยังต้องสนับสนุนนักวิจัย
         ชั้นเยาว์ที่ใช้เงินปีละ 20,000 – 100,000 บาทให้ได้ผลดีอีกด้วย

                  หัวหน้าภาควิชาจะต้องทำหน้าที่นักวิชาการในการเตรียมโครงการวิจัย
         สามารถช่วยอาจารย์ในการเตรียมโครงการเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร มีความรอบรู้
         ว่าเงินที่จะใช้ในโครงการวิจัยอยู่ที่ไหน และแสดงความเป็นผู้นำในการบริหาร
         จัดการ การรับผิดชอบทางวิชาการและการเงิน และเป็นผู้นำในเรื่องจริยธรรม
         อีกด้วย”

สุดท้าย ผมขอฝากคิดเป็นการบ้านเรื่อง “หัวหน้าภาควิชากับ QA และ KM” อีกหนึ่งเรื่องด้วยครับ

         วิบูลย์  วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 4281เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2005 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์คะ

หัวหน้าภาคที่ดิฉันรู้จัก ส่วนใหญ่จะวุ่นกับงานบริหารจนไม่มีเวลาทำวิจัยหรือไม่มีเวลาในการพัฒนางานด้านวิชาการเลยคะ เคยมีอาจารย์หลายท่านบอกว่า ถ้าจะมาทำงานบริหาร ต้องทำใจว่างานวิจัยจะลดลงคะ

ไม่ทราบว่าทางมน. จะจูงใจให้อาจารย์หัวหน้าภาคทำวิจัยควบคู่กับงานบริหารอย่างไรบ้างคะ

ขอบคุณคะ
จันทวรรณ

อาจารย์ครับ เรื่องงบประมาณสนับสนุนนักวิจัยแต่ละระดับที่กล่าวมา เป็นนโยบายของทางมหาวิทยาลัยนเรศวรหรือครับ

โดยทั่วไปบทบาทของคณบดีและผู้ช่วยฯ ฝ่ายวิจัย มักจะส่งผลต่อการทำวิจัยของบุคลากรได้มากกว่าหัวหน้าภาควิชา เนื่องจากคณะกรรมการวิจัยของคณะดำเนินการภายใต้สายงานดังกล่าว

นอกจากนี้โดยภาพรวมแล้ว ผมว่าทางคณะมีอิทธิพลมากกว่าทางภาควิชา ในเรื่องของการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยของบุคลากรในคณะ เนื่องจากภาควิชาต้องรับนโยบายด้านการวิจัยมาจากผุ้บริหารคณะอยู่ดี

หัวหน้าภาควิชาต้องเป็นผุ้แนะนำทิศทางการทำวิจัยของภาควิชา ส่วนการคาดหวังให้หัวหน้าภาควิชาเป็นผู้นำในการตีพิมพ์  คงขึ้นอยู่กับสถานภาพปัจจุบันของภาควิชาและตัวบุคคล   เนื่องจากงานด้านบริหารก็เป็นตัวจำกัดเวลาเรื่องการทำวิจัยอยู่แล้ว ดังนั้นผมว่าการสร้างทีมวิจัยที่ประกอบด้วยหัวหน้าภาคและบุคลากร ก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้บรรลุแนวความคิดนี้ได้

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยและคณะมีงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยที่ได้เผยแพร่ทางการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ ในรูปของค่าใช้จ่าย  ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่นักวิจัยเหล่านั้นและทำให้เกิดความภูมิใจต่อผลงานที่ได้ทำ

     ผมเคยตอบท่านอาจารย์จันทวรรณ ไปครั้งหนึ่งแล้ว เสียดายที่ไม่ได้ตอบไว้ในบันทึกนี้ แต่สามารถอ่านได้ที่ <Link>

     สำหรับ คุณเก็บดิน นั้น ผมขอเรียนชี้แจงว่า บทความที่อ่านนี้ มิใช่ นโยบายของมน. เป็นบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่ผมอ้างอิงไว้ในบทความ แล้วเอามาลงใน blog เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นนั้น ๆ ส่วนใครจะนำไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ก็คงแล้วแต่บริบท และวัฒนธรรมของแต่ละที่ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท