คณบดีกับการวิจัย


คณบดีจะต้องทำหน้าที่สนับสนุนหัวหน้าภาควิชาในกิจการทางวิจัยชนิดต่าง ๆ และจะต้องวางนโยบายให้อาจารย์ได้ทำงานสอน งานวิจัยและงานทั่วไปที่มีสัดส่วนพอดีที่จะให้อาจารย์มีเวลาทำงานวิจัย คณบดีต้องเตรียมงบประมาณช่วยจากเงินของคณะหรือจากมหาวิทยาลัย คณบดีต้องมีทางเชื่อมโยงงานวิจัยกับสถาบันอื่นทั้งในและนอกประเทศ

         เช้าวันพุธที่ 21 ก.ย. 48 มีการประชุมรองอธิการบดี ตามด้วยการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในตอนบ่ายเช่นเคย วันนี้ท่านอธิการบดีสำเนาบทความ “มหาวิทยาลัยวิจัย” มาแจกให้ทุกท่านได้อ่านกันทั้งช่วงเช้าและบ่าย เป็นบทความที่เขียนโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “อนุสรณ์แห่งชีวิต” ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าของบทความเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47 

         บทความมีความยาว 5 หน้ากระดาษ A4 ผมขออนุญาตเผยแพร่เจตนารมณ์ของท่านเจ้าของบทความที่ต้องการจะ “ผลักดัน” ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาให้หันมาสนับสนุนงานวิจัยอย่างจริงจัง โดยการอ้างอิงข้อความจากบทความของท่านทีละเล็กทีละน้อยในชุมชน NUKM blog ในโอกาสอันควรเป็นระยะ ๆ

         สำหรับวันนี้ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศภายใน มน. ที่กำลังมีการสรรหาคณบดีคณะต่าง ๆ พร้อม ๆ กันถึง 8 คณะ ผมจึงขอตัดทอนบางส่วนจากบทความดังกล่าวมาให้ท่านว่าที่คณบดีใหม่อ่านกัน ส่วนท่านคณบดีเก่าหรือท่านที่สนใจทั่วไปจะอ่านก็ไม่ผิดกติกาอะไรครับ ท่านเจ้าของบทความเขียนไว้ดังนี้ครับ

                  “คณบดีเป็นบุคคลอีกระดับหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ในการบริหารการวิจัย 
        แม้คณบดีจะมีงานมากมายของคณะที่จะต้องทำอยู่แล้ว แต่คณบดีก็มีบทบาท
        ทางการบริหารงานวิจัยอยู่ไม่น้อย

                  คณบดีจะต้องทำหน้าที่สนับสนุนหัวหน้าภาควิชาในกิจการทางวิจัย
        ชนิดต่าง ๆ และจะต้องวางนโยบายให้อาจารย์ได้ทำงานสอน งานวิจัยและ
        งานทั่วไปที่มีสัดส่วนพอดีที่จะให้อาจารย์มีเวลาทำงานวิจัย คณบดีต้องเตรียม
        งบประมาณช่วยจากเงินของคณะหรือจากมหาวิทยาลัย คณบดีต้องมีทาง
        เชื่อมโยงงานวิจัยกับสถาบันอื่นทั้งในและนอกประเทศ

                  ในสุดท้ายคือ คณบดีต้องมีทัศนะที่สนับสนุนงานวิจัย

         สุดท้าย ผมขอฝากเป็นการบ้านให้ช่วยกันคิดอีกหนึ่งเรื่องคือ เรื่อง “คณบดีกับ QA และ KM” ครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 4280เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2005 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในเรื่องนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านงานวิจัยนั้น  การทำความเข้าใจและกำหนดข้อตกลง ระหว่างผู้บริหารคณะ, คณะกรรมการวิจัยของคณะ, และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ ผมอยากให้มีการกำจัด วัฒนธรรมที่ไม่ส่งเสริมผู้อื่นที่มีผลงานให้มีความก้าวหน้าออกไปให้หมดในสถาบันการศึกษา

การตัดสินใจในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องการงานวิจัยของคณะ บางครั้งต้องอาศัยรูปแบบคณะกรรมการ หรือเปิดโอกาสให้ผุ้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถถูกตัดสินได้อย่างเป็นธรรม มิใช่เพียงเจ้าหน้าที่ เป็นคนตัดสินโดยพูดว่าว่า "ไม่แน่ใจจะดำเนินการได้ อย่าส่งคณะกรรมการดีกว่านะ" ซึ่งน่าเศร้าใจกับพฤติกรรมแบบนี้ที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยที่กำลังจะเป็น research-based university จริงๆ ครับ

     วัฒนธรรมที่ไม่ค่อยจะส่งเสริมด้านการวิจัยนั้น ผมยอมรับว่ามีอยู่มากจริง ๆ ครับ คงเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะต้องหันหน้ามาพูดคุยและหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มันค่อย ๆ หมดไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท