หลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2553

      ขอนำเสนอหลักสูตรท้องถิ่น สาระเพิ่มเติม ที่จัดทำหลักสูตรตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ให้มีสาระท้องถิ่นเพื่อนักเรียนเกิดความรักษ์ท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

  20201 อาหารพื้นบ้านล้านนา

 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  เวลา   40  ชั่วโมง     จำนวน  1.0111     1หน่วยกิต      

                 บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ของอาหารพื้นบ้านล้านนา วิถีชีวิตพื้บ้านล้านนา ผักพื้นบ้าน การเลือกซื้ออาหารสด อาหารแห้ง การเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน เหมาะสมกับชนิดของอาหาร การประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา การแปรรูปอาหารพื้นบ้าน ขนมหวานล้านนา 

                ปฏิบัติงานเลือกซื้ออาหารสด อาหารแห้ง ใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ได้มาตรฐานเหมาะสมกับชนิดของอาหาร ประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา  การแปรรูปอาหาร ขนมหวานล้านนา ใช้ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า และถูกวิธีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                มีจิตสำนึกและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าเป็นคุณธรรมในการทำงาน โดยมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และสามารถ อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนได้

 ผลการเรียนรู้ 

1. บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์เกี่ยวกับการจัดอาหารพื้นบ้านล้านนา

2. บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์เกี่ยวกับวิถีชีวิตพื้นบ้าน และเครื่องใช้ในครัว

3. บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และวิเคราะห์ เกี่ยวกับผักพื้นบ้านล้านนา

4. ปฏิบัติงานการประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. ปฏิบัติงานการทำขนมหวานล้านนา ประเภทต่างๆ

6. สามารถปฏิบัติโครงงานการประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา

 รวมทั้งหมด  6  ผลการเรียนรู้

 

 ตารางวิเคราะห์หลักสูตร

 สาระที่ 1  การดำรงชีวิตและครอบครัว 

มาตรฐานที่ ง 1.1  เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว


ตัวชี้วัด /

ผลการเรียนรู้

สมรรถนะ 

คุณลักษณะ ฯ 

สาระการเรียนรู้แกนกลาง 

สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 

กิจกรรม/กระบวนการ 

1.  บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์เกี่ยวกับการจัดอาหารพื้นบ้านล้านนา

ความสามารถ

ในการคิด วิเคราะห์

-  ความหมาย ประโยชน์ ของอาหารพื้นบ้านล้านนา

-  อาหารพื้นบ้านประเภทต่างๆที่นิยมในครัวเรือน

-  คุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพร

-  ทักษะการแสวงหาความรู้

2.  บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์เกี่ยวกับวิถีชีวิตพื้นบ้าน และเครื่องใช้ในครัวไฟเมือง

ความสามารถ

ในการใช้ทักษะชีวิต

 

คุณลักษณะ ฯ

- ความซื่อสัตย์

-  ขั้นตอนการทำงาน

-  การทำงานโดยใช้  กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

-  การเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำอาหารพื้นบ้านล้านนา

-  การเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น

-  กระบวนการกลุ่ม

-  กระบวนการทำงาน

3 บอกความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และวิเคราะห์ เกี่ยวกับผักพื้นบ้านล้านนา

ความสามารถ

ในการคิด

 

คุณลักษณะ ฯ

ความประหยัด

-ความหมาย ประโยชน์ ของผักพื้นบ้านล้านนา

-  ผักพื้นบ้านที่มีในท้องถิ่น

-  คุณค่าทางยาสมุนไพร

-  ทักษะการแสวงหาความรู้

-  กระบวนการกลุ่ม

-  กระบวนการทำงาน

 

 

 

  

 

  

4.  ปฏิบัติงานการประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความสามารถในการแก้ปัญหา

 

คุณลักษณะ ฯ

ความประหยัด

ความอดทน

ความรับผิดชอบ

-  ขั้นตอนการทำงาน

-  การทำงานโดยใช้  กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

-  การประกอบอาหารพื้นบ้านประเภทต่างๆตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 -  คุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพร

-  กระบวนการกลุ่ม

-  กระบวนการทำงาน

5.  ปฏิบัติงานการทำขนมหวานล้านนา ประเภทต่างๆ

ความสามารถ

ในการแก้ปัญหา

 คุณลักษณะ ฯ

- ความประหยัด

- ความอดทน

- ความรับผิดชอบ

-  ขั้นตอนการทำงาน

-  การทำงานโดยใช้  กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

-  การทำขนมพื้นบ้านประเภทต่างๆ

 -  การทำขนมตามประเพณีท้องถิ่น

-  กระบวนการกลุ่ม

-  กระบวนการทำงาน

6.  สามารถปฏิบัติโครงงานการประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนา

ความสามารถ

ในการใช้เทคโนโลยี

 

คุณลักษณะ ฯ

ความประหยัด

ความอดทน

ความรับผิดชอบ

-  ทักษะการจัดการ

-  การทำงานโดยใช้  กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

-  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- การทำโครงงานอาหารหรือขนมที่นิยมในท้องถิ่น

-  การใช้พลังงานที่ถูกต้อง

-  ทักษะการแสวงหาความรู้

-  กระบวนการกลุ่ม

-  กระบวนการทำงาน

 โครงสร้างรายวิชา

หน่วยที่ 

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

สาระสำคัญ

ความคิดรวบยอด

เวลา

(ช.ม)

น้ำหนัก

คะแนน

ชิ้นงาน/ภาระงาน

1

ความสำคัญของอาหารพื้นบ้านล้านนา

-ความหมาย ประโยชน์ ของอาหารพื้นบ้านล้านนา

- การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

- การเลือกซื้ออาหารสดอาหารแห้ง

อาหารพื้นบ้านล้านนามีความสำคัญสำหรับคนในท้องถิ่นเพราะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นๆที่ดำรงชีวิตในสังคม

6

10

1.สรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด

2. ทำใบงานเรื่องการเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

3. ทำใบงานการเลือกซื้ออาหารสดอาหารแห้ง

2

ผักและสมุนไพรพื้นบ้าน

 

-ความหมาย ประโยชน์ ของผักพื้นบ้านล้านนา

- ผักสมุนไพรพื้นบ้าน

- สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ผักพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ผักแต่ละชนิดมีคุณค่าทางสมุนไพรสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท

4

10

1.สรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด

2. ทำใบงานเรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน

3. รายงานการประกอบอาหารที่ใช้ผักพื้นบ้านล้านนา

3

กระบวนการทำงาน

 

-  ขั้นตอนการทำงาน

-  การทำงานโดยใช้  กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

การประกอบอาหารพื้นบ้านตามลำดับขั้นตอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มสามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

20

50

1.วางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการปฎิบัติงาน

2. ปฎิบัติงานตามกระบวนการทำงาน

3. ทำความสะอาดภาชนะและสถานที่ปฎิบัติงาน

4. จัดตกแต่งอาหารและนำเสนอผลงาน

 

 

 

 

 

 

 

4

โครงงานอาหาร

-  ทักษะการจัดการ

-  การทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

-  การแก้ปัญหาในการทำงาน

-  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การเรียนรู้แบบโครงงานสามารถพัฒนาให้เกิดประสบการณ์การทำงานได้อย่างครบกระบวนการเน้นทักษะการจัดการที่ครบวงจร

10

30

-ทำโครงงานอาหารรายกลุ่ม

-ทำรายงานรูปเล่ม

- ทำผังโครงงานนำเสนอ

รวมคะแนนระหว่างภาค

 

90

 

 คะแนนปลายภาค

 

10

 

 รวม

 

100

 

     มีอะไรที่จะเพิ่มเติมให้เชิญท่านได้ให้ข้อแนะนำนะคะ เพราะการแบ่งปันกันทำให้เกิดการเรียนรู้  อิอิ  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

                         

                        

  ขอศึกษาวิธีการลงไฟล์ในบันทึกก่อนนะคะ เพราะไม่คล่องเรื่องตาราง ทำให้ไม่น่าอ่าน  และจะบันทึกต่อไปคงต้องปรับเยอะแยะค่ะ  ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมและให้ข้อแนะนำที่ดี นำไปสานต่อและพัฒนาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่ะ

บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้ค่ะที่นี่

ttp://www.gotoknow.org/posts/533861

http://www.gotoknow.org/posts/533969

http://www.gotoknow.org/posts/533815

หมายเลขบันทึก: 427887เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

อ้าวๆๆ  ไม่แก้แร่ววว.. ตารางไม่ออก อิอิ เท่ห์จังเนาะ   แนะนำการแก้ไขด้วยนะคะ ท่านผู้รู้ .... ง่วงๆๆๆๆ จังเลย  นอนเถอะเรา ..

เห็นหลักสูตรการศึกษาน่าสงสัย           40ชั่วโมงสอนไปให้ความรู้

อาหารพื้นบ้านล้านนาช่างน่าดู             เรียนแค่รู้ไม่สู่ทำให้นำไป

เป็นอาชีพ10ชั่วโมงคงดีแน่                โปรดช่วยแปรเปลี่ยนใหม่จะได้ไหม

นี้คือหนึ่ง"นโยบายเรียนฟรี-มีรายได้"   ครู-เด็กไทยได้โอกาสความมั่นคง

ได้ชีวิตที่ดี...มีโอกาส                          ได้ฝึกหัดเรียนรู้ครูเสริมส่ง

เด็กเรียนจบพบอาชีพไปได้มั่นคง         เรียนรู้ตรงดำรงชีพได้ไทยเจริญ

เชิญนักปราชญ์พื้นบ้านอาหารอร่อย     ท่านมาคอยสอนสั่งตั้งสรรเสริญ

เคล็ดลับดีมีอย่างไรไม่ขาดเกิน            เด็กเรียนเพลินมีฝีมือคือเรียนเป็น

 

  • ต้องไปคลิกสร้างตารางครับ
  • ฮ่าๆๆ
  • เด็กๆๆได้ทำอาหารจริงๆด้วยใช่ไหม
  • รอดูการสอนเลยครับ
  • เย้ๆๆ

สวัสดีครับคุณครู  ดีนะครับเด็กๆจะได้สืบทอดวิถีชีวิตพื้นบ้านของบรรพบุรุษไว้ ซึ่งนับวันจะหมดไปแล้ว...ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

สวัสดีค่ะคุณครูRinda

  • น่าสนใจมากค่ะ แตอยู่ไกลจัง เรียนทางไปรษณีย์ได้ไหมคะคุณครู?
  • คุณยายมีมะม่วงมาฝากด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ

มีช่องเขียนตารางในบล็อกหรือเปล่าพี่คิมก็ไม่ได้เรียนรู้ค่ะ

เคยทำตารางแต่ทำเป็น pdf ค่ะ

ขอเป็นกำลังใจนะคะ

  • มหา มาสมัครเป็นวิทยากรท้องถิ่นครับครูรินดา
  • แต่

สวัสดีค่ะ...

แวะมาเยี่ยมค่ะ...สบายดีนะค่ะ...

 

Ico48

 

Ico48

 

Ico48
หนุ่ม กร (ความเห็นล่าสุด)
23 กุมภาพันธ์ 2554 12:18

  

Ico48

 

Ico48

 

Ico48

 

Ico48

  ขอขอบพระคุณท่านพี่ๆๆที่มาเยี่ยมทักทาย ทำให้มีกำลังที่จะนำมาลงต่อไปนะคะ  ติชมให้มากๆนะคะ  จะนำไปทดลองนะคะ  การสร้างตารางในบันทึกค่ะ

สวัสดีวันหยุดค่ะ มาทักทาย ช่วงนี้เร่งรีบเตรียมสรุปงานเพื่อรอรับการประเมินภายนอก สมศ. รอบสาม ต้องขยันในการอัฟสาระมั่งแร่ะ  อิอิ ประมาณ มิ.ย. ตามกำหนด

                     

พี่งงตรงนี้นะจ้ะ....มันเป็น 100 ได้ไงนี่

รวมคะแนนระหว่างภาค

 

80

 

 คะแนนปลายภาค

 

10

 

 รวม

 

100

 

ดีจังเลยมีหลักสูตรท้องถิ่นมาร่วมบูรณาการกับหลักสูตรด้วย

สมควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านเอาไว้ให้มากๆด้วยแหละ

นานๆไปมันจะเลือนหาย....แล้วกลายเป็นของคนอื่นไปเสียนี่

ฝากมาให้แก้ร้อน....(ใจ) 

อ้าวๆๆ  พี่กีร์  มันมาหลายตลบ แบบว่า  หัดเอาขึ้นมาจากไฟล์word นะคะ เดี๋ยวแก้ไข  ขอบคุณเจ้า  รักกันจริง  ๆ

พี่กีร์ร้อนจริงๆ วันนี้ อยากกินเฉาก๊วยเย็นๆแร่ะนะ .... เพิ่งทานข้าวเสร็จจะออกไปเมืองนอก  ..อิอิ  นอกเมือง บายๆ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้สวยงาม ตามคนมอบเลยนะคะ  คุณยาย 

ทำตารางใน power point ก่อนก็ได้

แล้ว save เป็นภาพนามสกุล jpeg

จะได้เป็นภาพตารางที่สวยตามที่เราต้องการ

Ico48

ขอขอบพระคุณพี่เขี้ยวที่แนะนำค่ะ  จะลองทำดู  อิอิ  นานๆมาอัฟบล็อกคงนำสิ่งที่ทำไว้มาลงนะคะ  

สวัสดีค่ะ..ครูรินดา

ดีจังค่ะ..รู้สึกตอนนี้ ทุกๆ ที่ก็มีการสอนหลักสูตรท้องถิ่นกันเยอะเลย

เห็นที่โรงเรียนก็มี แต่ใช้บุคคลภายนอกมาทำการสอน

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอะไรประมาณนั้น..ทำพวงมะโหด

ให้เด้กได้ฝึกทำ ฝึกตัด และทำไปตกแต่งในงานบุญต่างๆ

เวลาที่วัดมีงานก็จะมาขอให้ทางโรงเรียนทำให้ด้วย

และแถวๆนี้..เป็นคนไทยเชื้อสายมอญอยู่พอสมควร

อะไรประมาณนั้นแหละค่ะ...

ไม่รู้จะเพิ่มเติมอะไรก็เอาเป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านล้านนาก็แล้วกัน

อาหารล้านนานอกจากจะเป็นเรื่องการอยู่รอดแล้วก็เป็นเรื่องของวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่แตกต่างกันไป หากลองสังเกตดูจะพบว่าอาหารล้านนา หรือพื้นถิ่นทางเหนือจะเป็นอาหารที่ง่าย ๆ แต่มีความพิถีพิถันอยู่ในตัว บางอย่างก็ง่ายแสนจะง่าย บางอย่างก็ซับซ้อน

นอกจากนี้ก็จะแฝงด้วยคติอื่น ๆ อยู่ในกระบวนการทำ เช่น ห้ามใช้สากครกล้างในหม้อแกง ซึ่งเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่หาคำตอบไม่ได้ตอนเป็นเด็ก พอถามยาย ยายก็บอกว่ามันไม่ดีก็คือไม่ดี

แต่เมื่อวิเคราะห์ตามเหตุและผลก็คือ สมัยโบราณใช้หม้อดินในการหุงหาอาหาร และสากครกก็ใช้หินเป็นแท่งหนัก ๆ เวลาโขกพริกถ้าติดที่สากครกแล้วบางคนก็ใช้ช้อนขูดลง บางคนมักง่ายก็จุ่มสากนั้นลงในหม้อดิน คนโบราณก็ห่วงว่าความร้อนที่มีจะทำให้สากหินหลุดมือและทำให้หม้อดินนั้นแตก และคงไม่ได้รับประทานกันไปเลยในมื้อนั้น

แต่ครั้นจะบอกว่ามันร้อน ก็มักจะมีคนดื้อที่เชื่อมั่นในตัวเอง หรือประมาทว่าสามารถทำได้ และทำได้จริง ๆ ก็มี ในที่สุดก็บอกว่ามันไม่ดี กลายเป็นความเชื่อไปซะ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จริง ๆ ยังมีข้อห้ามอีกมากมายและบางอย่างก็ลืมไปแล้ว

และหากมีการเปรียบเทียบอาหารกับภาคอื่น ๆ ด้วยก็จะยิ่งทำให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนภาคอื่นจะทำให้ไม่เกิดการดูหมิ่นกัน เช่น คนภาคใต้บางคนว่าอีสานกินปลาร้าของเน่าเหม็น แต่บางส่วนของภาคใต้ก็มีน้ำบูดูก็ทำจากปลาหมักเหมือนกัน หรือคนเหนือรุ่นเก่าบางคนไม่กินปลาร้าก็ว่าคนอีสาน หรือว่ากระปิเหม็น แต่คนภาคเหนือก็มีน้ำปู (น้ำปู๋) ซึ่งมีกลิ้นสร้างปัญหาได้พอสมควร คนอีสานบางคนว่าคนใต้กินสะตอได้ไง เหม็นก็เหม็น แต่ลืมไปว่าตนเองก็กินฝักกระถิน ซึ่งกลิ่นและรสคล้าย ๆ กัน แต่ทั้งหมดนี้ถ้าเปิดใจแล้วจะรู้ว่าทุกอย่างอร่อยหมด

ประมาณนี้ครับ สอดแทรกวัฒนธรรมด้วยนะครับ

Ico48

ครูเล็กการสอนหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นทุกท้องถิ่นนะคะเพราะไม่งั้นจะทำให้เด็กรุ่นใหม่ลืมและไม่รู้จักของที่รุ่นตายายได้ทำไว้ หายไปตามเวลานะคะ  การทำพวงมะโหดอยากเห็นนะคะ เป็นของใช้ไหมคะ น่าสนใจมากค่ะ 

Ico48

ขอบคุณ คุณโยธินินมากที่มาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เป็นกุศโลบายจริงๆที่ผู้ใหญ่ที่ใช้สอนลูกหลานค่ะ  สมัยนี้ต้องอาศัยเหตุผลและนำมาให้เห็นจริง แบบว่าต้องลงมือ และค้นคว้ามากๆ จะไม่ลืมสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณีค่ะ   มาเยี่ยมบ่อยๆนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูRinda

  ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมและให้กำลังใจค่ะ

  มาเรียนรู้ด้วยคน หลักสูตรนี้น่าสนใจ

  นำหลานๆมาเยี่ยมด้วยค่ะ

 

 

น่าสนใจและนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท